Skip to main content
sharethis
TCIJ ตรวจสอบ ‘กองทุนหมุนเวียน’ ต่าง ๆ ของไทย เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค, กยศ., กองทุนหมู่บ้าน, กองทุนการออมแห่งชาติ ฯลฯ ในรอบ 12 ปี พบว่าตั้งแต่ 2548-59 รัฐอัดเงินไปกว่า 1.59 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6.65% ของงบประมาณรวมทั้งประเทศ มาดูกันว่ากองทุนไหนใช้เงินไปทำอะไร ใครสอบตกสอบผ่าน และกองทุนไหนมีแนวโน้มถูกยุบอีก
 
 
‘ทุนหมุนเวียน’ เป็นส่วนหนึ่งของ 'เงินนอกงบประมาณ' ซึ่งหมายถึงเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการซึ่งได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เก็บไว้ใช้จ่ายได้ โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยการใช้เงินนอกงบประมาณเป็นอำนาจของรัฐมนตรีไม่ผ่านกระบวนการทางรัฐสภา ซึ่งข้อมูลจากสำนักงบประมาณของรัฐสภา ในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้ แทนราษฎร ระบุว่าในช่วงระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2548-2559  รัฐบาลได้มีการจัดสรรงบประมาณให้สำหรับทุนหมุนเวียนทั้งในลักษณะจัดสรรให้ครั้งเดียวเป็นทุนประเดิมตั้งแต่จัดตั้ง และในลักษณะจัดสรรอย่างต่อเนื่อง รวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,594,275.37 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 132,856.28 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วเป็นสัดส่วนทุนหมุนเวียนต่องบประมาณรวมทั้งประเทศร้อยละ 6.65  โดยข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 30 กันยายน 2558  มีทุนหมุนเวียนจำนวนทั้งสิ้น 114 ทุน ทำให้มีมูลค่าสินทรัพย์สูงถึงประมาณ 3,125,884.12 ล้านบาท รวมทั้งยอดเงินฝากธนาคารสูงถึง 348,592.46 ล้านบาท
 
 
โดยประเภทของกองทุนหมุนเวียนในปัจจุบัน 63 กองทุน ประกอบไปด้วย 1.ทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม 2.ทุนหมุนเวียนเพื่อการจำหน่ายและการผลิต 3.ทุนหมุนเวียนเพื่อการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม และ 4.ทุนหมุนเวียนเพื่อการสนับสนุนส่งเสริม โดยแบ่งประเภทของแต่ละกองทุนได้ดังนี้
 
กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม (12 กองทุน) ได้แก่ 1.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  2.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต  3.กองทุนตั้งตัวได้  4.กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  5.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  6.กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน  7.กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ  8.กองทุนพัฒนาสหกรณ์  9.กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  10.กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร  11.เงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้  12.กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
ทุนหมุนเวียนเพื่อการจำหน่ายและการผลิต (3 กองทุน) ได้แก่  1.เงินทุนหมุนเวียนโรงงานเภสัชกรรมทหาร  2.เงินทุนหมุนเวียนโรงงานแบตเตอรี่ทหาร  3.เงินทุนหมุนเวียนโรงงานฟอกหนัง
 
กองทุนหมุนเวียนเพื่อการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม (14 กองทุน) ได้แก่  1.กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา 2.กองทุนการออมแห่งชาติ  3.กองทุนสงเคราะห์  4.กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง  5.กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  6.กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  7.กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม  8.กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน 9.กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน 10.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  11.กองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว  12.กองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  13.กองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน  14.กองทุนเงินให้เปล่า
 
ทุนหมุนเวียนเพื่อการสนับสนุนส่งเสริม (34 กองทุน) ได้แก่ 1.กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  2.กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา  3.กองทุนกีฬามวย  4.กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ  5.กองทุนจัดรูปที่ดิน  6.กองทุนสิ่งแวดล้อม  7.กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร  8.กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง  9.กองทุนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย  10.กองทุนสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์  11.กองทุนยุติธรรม 12.กองทุนส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา  13.กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย 14.กองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา  15.กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ  16.กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย  17.กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  18.กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  19.กองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพ  20.กองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ  21.กองทุนส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ  22.กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  23.กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ  24.กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  25.กองทุนคุ้มครองเด็ก  26.กองทุนผู้สูงอายุ  27.กองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์  28.กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัด  29.กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง  30.กองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์  31.กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ  32.กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ  33.กองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการในหมู่บ้านและชุมชน  34.กองทุนการท่าอากาศยานอู่ตะเภา
 
ภาพรวมงบประมาณกองทุนหมุนเวียนต่าง ๆ 
 
ในช่วง 12 ปี พ.ศ.2548 – 2559 นั้น มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับทุนหมุนเวียน (จำนวน 63 ทุน) รวมงบประมาณ 1,594,275.37 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 132,856.28 ล้านบาท เป็นสัดส่วนร้อยละ 6.65 ของงบประมาณรวมทั้งประเทศ โดยเมื่อวิเคราะห์งบประมาณในประเด็นสำคัญ ...
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net