Skip to main content
sharethis

27 ก.ค.2559 เมื่อเวลา 13.29 น. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันได้ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Somsak Jeamteerasakul' ในลักษณะสาธารณะ อธิบายถึงไม่ไป "ลงประชามติ" รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค.นี้  ว่า ไม่ใช่การไม่ใช้สิทธิ์ ไม่ใช่การไม่ทำอะไร ไม่ใช่การ "นอนหลับทับสิทธิ์" แต่ถือเป็นการใ้สิทธิ์อย่างหนึ่ง

โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะไม่ไปเข้าคูหา-กาบัตร สิ่งที่่เรียกว่า "ประชามติ" ในวันที่ 7 สิงหานี้

การไม่ไป "ลงประชามติ" ‪#‎ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ‬ (ตั้งแต่ต้องการอยู่บ้านเล่นกับแมว ไปถึงมีเซ็กส์กับแฟน ไปถึงเพราะต้องการปฏิเสธจะเข้าร่วมสิ่งที่ คสช จัดขึ้น) ‪#‎เป็นการใช้สิทธิ์อย่างหนึ่ง‬ ไม่ใช่การไม่ใช้สิทธิ์ ไม่ใช่การไม่ทำอะไร ไม่ใช่การ "ทับสิทธิ์"

เป็นเรื่องน่าเศร้ามากๆ ที่จนถึงวินาทีนี้ คนที่คิดว่าตัวเองกำลังต่อสูเพื่อประชาธิปไตยจำนวนมากๆๆๆ ก็ยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่าสิทธิ์ และเอาแต่พูดซ้ำๆๆๆ เรื่องว่า ถ้าคนไม่ไป "ลงประชามติ" วันที่ 7 นี้ จะเป็นการ "ทับสิทธิ์" เป็นการ "ไม่ไปใช้สิทธิ์" (* คำว่า "จนถึงวินาทีนี้" ไม่ได้พูดเว่อร์ เพิ่งไปดีเบตกับ "มิตรสหาย" ท่านหนึ่งใน "ฝ่ายประชาธิปไตย" มา เพราะเขาบอกว่า "ไม่ไปลงคะแนน คือ นอนหลับทับสิทธิ์")

"สิทธิ" คืออะไรครับ?

"สิทธิ์ คือ อำนาจที่จะทำอย่างอื่น" (the power to do otherwise)

ถ้าเราขับรถไปถึงสี่แยก แล้วไฟแดง อย่างนี้เราไม่มี "อำนาจที่จะทำอย่างอื่น" คือต้องหยุดอย่างเดียว ฝ่่าไปไม่ได้ (ฝ่าไปถูกลงโทษ) อย่างนี้คือไม่มีสิทธิ์ ไม่ใช่สิทธิ์ (ขืน "ทำอย่างอื่น" คือขับฝ่าไป ไม่ใช่การใช้สิทธิ์ เพราะไม่มีให้ใช้ในกรณีนี้ ไม่มี"อำนาจที่จะทำอย่างอื่น"ได้ในกรณีนี้)

แต่การไปลงหรือไม่ไปลงคะแนน คือสิทธิ์ทั้งคู่ครับ ‪#‎ไม่ต่างกันเลยในแง่ของความเป็นสิทธิ์‬

เราทุกคนมีอำนาจที่จะ"ทำอย่างอื่น"ในกรณีนี้ครับ จะไปลงก็ได้ หรือไม่ไปลงก็ได้

ไม่ไปลงคือการใช้อำนาจนั้น คือการใช้สิทธิ์อย่างหนึ่ง

อันที่จริง ถ้าพูดอย่างเข้มงวดตามหลักการที่เพิ่งอธิบายไป การไปกาบัตร‪#‎ไม่ใช่‬ "การใช้สิทธิ์" ในตัวเองด้วยซ้ำ ‪#‎แต่เป็นเพียงด้านหนึ่งในสองด้านของสิทธิ์เดียว‬ ‪#‎คือสิทธิ์ที่จะไปลงหรือไม่ไปลงก็ได้‬ - นี่คือ power to do otherwise คือคุณมีอำนาจที่จะทำอย่างหนึ่ง (ไปลง) หรือทำอย่างอื่น (ไม่ไปลง อยู่บ้านเล่นกับแมว มีเซ็กซ์ หรือบอยคอตไม่ไป)

...................

หนึ่งในเหตุผลที่ผม(แทบ)เป็นคนเดียวในหมู่แอ๊คติวิสต์-ปัญญาชน ที่ไม่เห็นด้วยกับ รธน 2540 คือเรื่่องนี้ (จริงๆมี ใจ อึ๊งภากรณ์ อีกคนแต่เขามีเหตุผลคนละอย่าง - คือมีสองคนนี้จริงๆเท่าที่ผมรู้ตอนนั้น) คือการทำให้ "สิทธิ์" เรื่องการไปลงคะแนน หมดความเป็นสิทธิ์ไป คือกลายเป็น "หน้าที่" ที่ถูกบังคับโดยกฎหมาย (เหมือนเรื่องสัญญาณไฟแดงข้างต้น) .. ผมตระหนักดีว่า มีประเทศตะวันตกบางประเทศทำแบบนี้เหมือนกัน (ออสเตรเลียที่ผมอยู่เกือบสิบปี เป็นต้น) แต่นั่นเป็นอะไรที่ไม่ถูกต้อง และผลทางวัฒนธรรมการเมืองอย่างหนึ่งคือ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจเพิ่มมากขึ้นไปอีกของคอนเซ็พท์เรื่องสิทธิ์ และไปส่งเสริมวัฒนธรรมที่เน้นเรื่อง "หน้าที่" ทีคน "ต้องทำ" (ทำอย่างอื่น หรือ do otherwise ไม่ได้)

น่าเสียดาย - เช่นเดียวกับอีกสารพัดเรื่อง - ปัญญาชนแอ๊คติวิสต์ไทย ที่คิดว่าตัวเองกำลังเรียกร้องเรื่องประชาธิปไตย ตั้งแต่ตอนนั้น มาจนวินาทีนี้ ไม่เคย "ตระหนักรู้" จริงๆ ถึงไอเดียต่างๆ ที่ตัวเองพูด ไอเดียพวกนี้มันมาจากฝรั่ง มันไม่ใช่อะไรที่เข้าใจง่ายๆ ชาวบ้านทั่วไป ไม่เข้าใจ ไม่มีเวลา เป็นเรื่องปกติ เข้าใจได้ ผมไม่มีปัญหา ยิ่งในสังคมไทย ที่เน้นเรื่องพันธะ หรือ "หน้าที่" ของปัจเจกชนต่อรัฐ แบบสังคมไทย .. แต่การที่ระดับแอ๊คติวิสต์-ปัญญาชน ไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองพูด หรือคิดว่า กำลังต่อสู้ให้ได้มา เป็นอะไรที่ชวนเศร้า

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net