Skip to main content
sharethis

คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ออกจดหมายเปิดผนึกสนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตคนอยู่กับโบราณสถานได้

 10 ก.ย. 2559 คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ออกจดหมายเปิดผนึก “สนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตคนอยู่กับโบราณสถานได้” โดยระบุว่าตามที่กรุงเทพมหานครมีแนวทางการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เพื่อเป็นสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยว จนมีความขัดแย้งกับชุมชนป้อมมหากาฬ มายาวนานกว่า 20 ปีและมีการวิพากษ์วิจารณ์จากเครือข่ายชุมชน นักประวัติศาสตร์นักโบราณคดี เครือข่ายนักวิชาการ/ภาคประชาสังคมจำนวนมากรวมทั้งองค์กรอิสระเช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาอย่างต่อเนื่องที่มุ่งหวังให้กรุงเทพมหานครคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์และคณะรัฐมนตรีปรับกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนามาสู่หลักการที่บริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนให้ชุมชนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้และคัดค้านแนวทางการรื้อชุมชนประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งเดียวที่เหลืออยู่ของกรุงเทพในขณะที่มีงานวิจัยที่นำเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจนและยั่งยืนต่อ กทม.ตั้งแต่ปี 2549 แต่ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน

การเข้ารื้อบ้านในชุมชนป้อมมหากาฬของกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 และ 4 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา แม้จะเริ่มด้วยบรรยากาศที่ตึงเครียดแต่ในที่สุดก็มีแนวทางที่ดีร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโดยกรุงเทพมหานครได้ยอมรับเข้าร่วมเจรจากับหลายฝ่าย ต่อหน้าประจักษ์พยานทั้งสื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสังคมต่าง ๆ จำนวนมาก โดยตกลงรื้อเฉพาะ 12 หลังที่สมัครใจเท่านั้น และจะมีการตั้งคณะกรรมการพหุภาคีเพื่อออกแบบวางแผนการพัฒนาชุมชนที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานได้โดยพิจารณาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และกรอบแนวคิดการพัฒนาที่กลมกลืนกับการอนุรักษ์โบราณสถานที่มี “คน” “ประวัติศาสตร์ชุมชน”เป็นตัวตั้งและดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอจากการเจรจาครั้งล่าสุด ประกอบกับงานวิจัย และการเสนอความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา ยังไม่มีผลนำไปสู่ทางออกที่เป็นจริง ยังคงมีข่าวคราวการเตรียมไล่รื้อต่อไป ทำให้สถานการณ์ไม่เป็นผลดีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน

คณะผู้บริหารและคณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ติดตามเรื่องราวของปัญหาและความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ในฐานะนักวิชาการที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม และยึดถือการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนจึงขอมีส่วนร่วมในการเสนอทางออกของการแก้ไขปัญหาดังนี้

1) เป็นที่ประจักษ์ในข้อเท็จจริงร่วมกันว่า พื้นที่ป้อมมหากาฬเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความหมายในเชิงประวัติศาสตร์ และขณะเดียวกันก็มีชุมชนป้อมมหากาฬเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีบ้านไม้โบราณ มีต้นไม้ใหญ่กลางกรุง และมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมอยู่คู่กันมายาวนาน จึงไม่ควรไล่รื้อชุมชนออกไป

2) กรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาในยุคปัจจุบันมีทิศทางที่ก้าวหน้าต่างจากเดิมมากแล้ว รวมทั้งมีบทเรียนที่ดีงามในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตในต่างประเทศ ในสังคมไทยก็ได้เรียนรู้พัฒนาคุณค่าและความหมายของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงแผนแม่บทการพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ให้มีการยอมรับหลักการที่คนและชุมชนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจิตวิญญาณของประวัติศาสตร์ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคารพในหลักการการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมบนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

3) ทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้ คือ การยุติการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ และขอสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหลายฝ่ายมากำหนดกรอบแนวคิดแนวทางการพัฒนาในการสร้างพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตทำให้ชุมชนป้อมมหากาฬ และกำแพงเมือง เป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์โบราณสถาน ที่มี “ชุมชน” อยู่ร่วม และมีกติการ่วมกันในการรับผิดชอบดูแลโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุด

คณะผู้บริหารและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตามรายชื่อแนบท้ายนี้ ขอเสนอความเห็นเพื่อมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคมร่วมกับทุกฝ่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร จะร่วมกับภาคประชาสังคม และชุมชนป้อมมหากาฬ ดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ลุล่วง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่มีชีวิตและงดงามคู่กับสังคมไทย                             

รายชื่อผู้บริหารและนักวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิตที่ร่วมสนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต

1.      รศ.วิสูตร จิระดำเกิง                          รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

2.      นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์        รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3.      ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร                    รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

4.      ดร.พงศ์ภัทร อนุมัติราชกิจ                 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

5.      ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ                    รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

6.      นายอานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์            รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม

7.      ผศ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ                 ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร

8.      นายธนภัทร เอกกุล                          ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการตลาด

9.      รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

10.     รศ.วิทยากร เชียงกูล                        คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

11.     ผศ.ดร.นฤพนธ์ไชยยศ                      คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

12.     รศ.พิศประไพ สาระศาลิน                  คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ

13.     นายอำนวยวุฒิ สาระศาลิน                 คณบดีคณะดิจิตัลอาร์ต

14.     นายอนุสรณ์ ศรีแก้ว                         คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

15.     ผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ                    คณบดีวิทยาลัยดนตรี

16.     ผศ.ดร.วราพร ลักษณลม้าย                คณบดีคณะเทคโนโลยีอาหาร

17.     ผศ.ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์                คณบดีคณะกายภาพบำบัด

18.     ผศ.ดร.อำภาพร นามวงศ์พรหม           คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

19.     ผศ.ดร.ธนภัทร ทรงศักดิ์                    คณบดีคณะเภสัชศาสตร์

20.     รศ..นันทชัย ทองแป้น                       คณบดีคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์

21.     ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ รุจิระยรรยง             คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์

22.     ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์         รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์

23.     นายปราโมทย์ พิพัฒนาศัย                 รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์

24.     นายบุญส่ง ชเลธร                            รองคณบดีสถาบันรัฐประศาสนศาสตร

25.     ดร.อาภา หวังเกียรติ                         ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์

26.     นายวสันต์ ยอดอิ่ม                           ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

27.     ดร.ฉัตรวรัญ องคสิงห์                       รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

28.     ดร.ดวงพร อาภาศิลป์                        รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

29.     ผศ.ดร.ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน            รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

30.     นายสุริยะใส กตะศิลา                       รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

31.     ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน                        อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

32.     นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์               อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

33.     ผศ.ดร.รัตพงศ์ สอนสุภาพ                  ผอ.หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

34.     นางสาวชนัฐนันท์ ม่วงวิเชียร               หัวหน้าหลักสูตรผู้นำฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

35.     ดร.ศรัณย์ ธิติลักษณ์                        ผอ.หลักสูตรผู้นำฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

36.     ดร.สมิทธิ์ ตุงคะสมิต                         อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

37.     พลเรือตรี ผศ.ดร.วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

38.     ดร.ชุลีรัตน์ เจริญพร                         ผอ.ศูนย์วิจัยฯ และอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

39.     นายอาทิตย์ ทองอินทร์                     หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

40.     นายฟ้าลั่น กระสังข์                          อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

41.     นางสุนี ไชยรส                                ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรมวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม/อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net