ข้อเสนอปฏิรูปกองทัพ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไทยเกิดการรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จ 13 ครั้ง และไม่ประสบความสำเร็จ 11 ครั้ง สิ่งนี้สร้างผลกระทบต่อพัฒนาการของประชาธิปไตยของไทยอย่างยิ่ง

นอกจากนี้หากนับรวมร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา ไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ แต่ประชาธิปไตยไทยยังคงไม่ไปไหน

การรัฐประหารทุกครั้งล้วนมีกองทัพเป็นผู้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพลเรีอน หรือรัฐบาลทหารด้วยกันก็ไม่มีละเว้น

หากมองย้อนประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาจะเห็นได้ว่า ผู้ใดกุมอำนาจไพล่พลมากกว่าย่อมมีโอกาสยึดอำนาจมากกว่า

กองทัพเป็นผู้รักษาอำนาจให้กับกลุ่มอำนาจแอบแฝงในสังคมมาตั้งแต่ในอดีต หากการปฏิรูปประชาธิปไตยครั้งใดมีผลกระทบต่อกลุ่มอำนาจแอบแฝงเหล่านี้ กองทัพจะไม่รอช้าที่จะก่อรัฐประหาร

กองทัพไทยแบ่งออกเป็น 3 เหล่าทัพคือ กองทัพบก, กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ รวมทั้งกองบัญชาการกองทัพไทยที่คอยกำกับ 3 เหล่าทัพนี้

แม้กองทัพไทยจะเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม แต่กองทัพไทยกลับมีอำนาจมากกว่ากระทรวงกลาโหมเสียอีก

ด้วยเหตุนี้กองทัพจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของความมั่นคงของประชาธิปไตย ดังนั้นการปฏิรูปประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องปฏิรูปกองทัพควบคู่กัน เพื่อป้องกันการรัฐประหารในอนาคตดังนี้

1. ยกเลิก พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และ พรบ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 เนื่องจาก พ.ร.บ. เหล่านี้ให้อำนาจแก่กองทัพในการเกณฑ์-ฝึกทหาร ซึ่งนอกจากจะสิ้นเปลืองงบประมาณแล้ว กองทัพใช้ทหารเหล่านี้เป็นกองกำลังในการก่อรัฐประหาร

ปัจจุบันประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางการทหารของโลกมีเพียงรัสเซียเท่านั้นที่ยังมีการเกณฑ์ทหาร ขณะที่อเมริกา, จีน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และอินเดียใช้วิธีรับสมัครทหาร ไทยไม่อยู่ในสภาวะสงครามจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.บ. เหล่านี้ แต่ควรใช้วิธีการรับสมัครทหารแทน

2. ยุบกองบัญชาการกองทัพไทย และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เนื่องจากหน่วยงานและตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่เฉพาะในยามสงครามเท่านั้น

ดังนั้นรัฐบาลควรกำหนดให้ รมว.กลาโหม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในยามปกติ และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในยามสงคราม

3. ปรับเปลี่ยนพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคใหม่ โดยกำหนดให้กองทัพภาคที่ 1 รับผิดชอบภาคตะวันตก และตั้งกองทัพภาคที่ 5 รับผิดชอบภาคตะวันออก

ส่วนกองทัพภาคที่ 2-4 รับผิดชอบพื้นที่เหมือนเดิม ขณะที่ภาคกลางให้อยู่ในความรับผิดชอบ รมว.กลาโหม โดยไม่มีกองกำลังทหาร เพื่อป้องกันการเคลื่อนทหารเข้ายึดอำนาจใจกรุงเทพ

นอกจากนี้รัฐบาลต้องย้ายกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และหน่วยงานทหารอื่นในกรุงเทพ-ปริมณฑลออกไปอยู่ที่อื่น เพื่อป้องกันการใช้สถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ซ่องสุมกำลังทหารก่อการรัฐประหาร

4. กำหนดอำนาจของผู้บัญชาการทหารบก-เรือ-อากาศให้มีอำนาจเฉพาะธุรการเท่านั้น ส่วนอำนาจการบังคับบัญชากองทัพให้ขึ้นกับ รมว.กลาโหม หรือคณะกรรมการกลาโหมในยามปกติ และให้ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีในยามสงคราม

5. ปรับลดกำลังทหารจากปัจจุบันที่มีกว่า 400,000 คนให้เหลือไม่เกิน 200,000 คน เพื่อประหยัดงบประมาณ และป้องกันการที่ทหารชั้นผู้น้อยต้องทำงานส่วนตัวให้กับทหารชั้นผู้ใหญ่

6. ยุบศาลทหาร, อัยการทหาร และเรือนจำทหาร โดยโอนคดีไปยังศาลอาญาพลเรือนพิจารณาแทน เนื่องจากใช้บทกฎหมายเดียวกัน และป้องกันการใช้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือน

นอกจากนี้รัฐบาลควรจัดตั้ง "ตุลาการทหาร" เพื่อพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับระเบียบทหาร โดยใช้อัยการพลเรือน และเรือนจำพลเรือนแทน

การปฏิรูปนี้จะทำให้อำนาจในการควบคุมกองทัพไม่ได้อยู่ในมือของผู้บัญชาการกองทัพเหล่านี้ รวมทั้งไม่มีกองกำลังทหารอยู่ในกรุงเทพ-ปริมณฑล วิธีนี้จึงเป็นการป้องกันการรัฐประหารของกองทัพได้ดีกว่า

0000

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน เฟซบุ๊ก เอกชัย หงส์กังวาน

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท