Skip to main content
sharethis

11 ต.ค. 2559 คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป

นอกจากนี้ ครม. ยังรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. .... และรายงานผลการพิจารณาตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
 
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ....  เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าโดยวิธีการสรรหา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่มีความอิสระ และให้รัฐวิสาหกิจทุกประเภท ต้องอยู่ภายใต้การบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นในการดำเนินการตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค นอกจากนี้ยังเป็นการกำหนดกติกาที่จะช่วยกำกับดูแลกลไกการแข่งขันทางการค้าในตลาดสินค้าและบริการเพื่อให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเสมอภาคเท่าเทียมกัน สอดคล้องกับนโยบายการเป็นชาติการค้า (Trading Nation) ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลและป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ กลไกตลาด และการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรี ด้าน 11 "การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม" ปรับปรุงกฎหมายให้มีมาตรฐานตามหลักสากล
 
ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบหลักการ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว สืบเนื่องจาก พ.รบ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ที่ใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการเอาผิดกับผู้ใดได้อย่างจริงจัง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้แล้ว ยังช่วยในเรื่องการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย 
 
ณัฐพร กล่าวว่า หลักการที่สำคัญอีกประการของกฎหมายฉบับที่แก้ไขใหม่นี้ คือ ความมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ จากเดิมที่จะมีเพียงโทษทางอาญาเท่านั้น ซึ่งการดำเนินคดีทางอาญามักใช้เวลานาน แต่ฉบับใหม่จะเพิ่มโทษทางปกครองเข้ามาด้วย นอกจากนี้ยังกำหนดว่าเมื่อมีการควบรวมธุรกิจ จะต้องมีการแจ้งภายใน 7 วัน อย่างไรก็ดี หากจะมีการออกกฎหมายลูกจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการด้วย เพื่อให้กฎหมายมีความทันสมัยและจะมีการทบทวนกฎเกณฑ์ต่างๆ ทุก 3 ปี นอก

 

เรียบเรียงจาก เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net