Skip to main content
sharethis

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเนปาลเผยอัตราฆ่าตัวตายคนเนปาลสูงขึ้น 12 เท่าในรอบไม่กี่ปี และแรงงานข้ามชาติหญิงจากเนปาลโดยเฉพาะที่ทำงานแม่บ้านมีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

 

แรงงานข้ามชาติหญิงจากเนปาลโดยเฉพาะที่ทำงานแม่บ้านมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น ที่มาภาพประกอบ: The Kathmandu Post

เว็บไซต์ Himalayan Times รายงานว่าจากรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเนปาล พบว่าจำนวนคดีการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นมากกว่า 12 เท่า ระหว่างปีงบประมาณ 2008/9 ถึง 2015/16 ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกับที่จำนวนแรงงานเนปาลออกไปทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3

ชาวเนปาลจำนวนมากต้องออกไปหางานยังต่างประเทศเนื่องจากตำแหน่งงานในประเทศมีค่าจ้างไม่มากพอ ปรากฏการณ์นี้นำมาซึ่งความท้าทายหลายประการในการปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติจากเนปาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการปกป้องการแสวงประโยชน์และการกดขี่แรงงานอย่างกลุ่มแรงงานหญิง

ทั้งนี้แรงงานหญิงชาวเนปาลที่มีมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของจำนวนแรงงานที่ออกไปทำงานต่างประเทศทั้งหมดของเนปาลที่ 3.6 ล้านคน ช่วงระยะเวลาระหว่างปีงบประมาณ 2008/9 ถึง 2015/16 ที่ส่วนใหญ่ไปทำอาชีพ 'แม่บ้าน' ซึ่งประเทศปลายทางที่สำคัญคือ มาเลเซีย (มีแรงงานหญิงจากเนปาลไปทำงานแม่บ้านร้อยละ 31) กาตาร์ (ร้อยละ 27) ซาอุดิอาระเบีย (ร้อยละ 21) และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ร้อยละ 12.5)

แรงงานแม่บ้านชาวเนปาลนิยมไปทำงานในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย ส่วนใหญ่ผ่านทางอินเดียบังคลาเทศและศรีลังกา ประมาณการกันว่าปัจจุบันมีผู้หญิงชาวเนปาลกว่า 200,000 คน ทำงานบ้านอยู่ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย โดยรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเนปาล ยังชี้ให้เห็นว่าแรงงานทำงานหญิงจำนวนมากในภูมิภาคภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย อยู่ในภาวะถูกบังคับ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากระบบ Kafala ที่นายจ้างมีอำนาจควบคุมคนงานอย่างเบ็ดเสร็จ และพวกเธอมักจะถูกทารุณและล่วงละเมิดทางเพศโดยนายจ้างเสมอ

อนึ่งก่อนหน้านี้มีคราวข่าวครึกโครมเกี่ยวกับชะตากรรมอันเลวร้ายที่แม่บ้านชาวเนปาลต้องเผชิญในต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง อย่างเช่น ในปี 2014 ทางการซาอุดิอาระเบียได้ตัดสินประหารชีวิตแม่บ้านชาวเนปาลรายหนึ่ง ด้วยการตัดศีรษะ จากความผิดฐานฆาตรกรรมเด็กชายวัย 2 ขวบ แต่เจ้าหน้าที่ไม่เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต จำเลยยื่นอุทธรณ์คำตัดสินจนถึงชั้นศาลฎีกา แต่ทั้งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ต่างมีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระมหากษัตริย์อันเป็นขั้นตอนสุดท้าย ไม่ประสบความสำเร็จแม่บ้านคนนี้นับเป็นนักโทษประหารรายที่ 17 ของซาอุดิอาราเบียตั้งแต่ต้นปี 2014 โดยรายงานขององค์กรนิรโทษกรรมสากล (AI) ระบุว่า นักโทษในซาอุดิอาราเบียถูกประหารชีวิตปี 2011 จำนวน 82 ราย และปี 2013 มีทั้งสิ้น 78 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากปี 2010 ที่มีเพียง 27 รายทั้งนี้ ความผิดที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิต ตามกฎหมายของซาอุดิอาราเบีย ซึ่งนำหลักคำสอนทางศาสนามาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ประกอบด้วยการข่มขืน ฆาตรกรรม ละทิ้งศาสนา ปล้นทรัพย์ และค้ายาเสพติด

ในปี 2015 ทูตซาอุดิอาระเบียถูกกล่าวหาข่มขืนสองแม่บ้านชาวเนปาลวัย 30 ปี และ 50 ปี ที่บ้านของตนเองในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เหยื่อทั้งสองรายอ้างว่าพวกเธอถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวและยังถูกล่วงละเมิดทางเพศจากทางครอบครัวนักการทูตรายนี้และชาวซาอุดิอาระเบียอีกหลายคน ด้านสถานทูตซาอุดิอาระเบียได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวและทางเจ้าหน้าที่อินเดียกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทูตรายนี้ได้รับประโยชน์จากความคุ้มกันทางการทูต และยังพักอยู่ในสถานทูตซาอุดิอาระเบียประจำอินเดีย ซึ่งตำรวจอินเดียได้ดำเนินคดีต่อนักการทูตรายนี้โดยไม่มีการเปิดเผยชื่อด้วยความผิดฐานข่มขืน, มีเพศสัมพันธ์ผิดธรรมชาติ และการกักขังหน่วงเหนี่ยว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net