Skip to main content
sharethis
 
 
ภาพแสดงการเพิ่มขึ้นของ งบฯกระทรวงกลาโหม 15 ปีที่ผ่านมา
 
จากกรณีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 วาระแรก ด้วยคะแนน 216 เสียง แบบไร้เสียงค้านนั้น  ในการตั้งงบประมาณดังกล่าว คืองบฯ ของกระทรวงกลาโหมซึ่งได้รับการจัดสรรไว้ถึง 2.22 แสนล้านบาท เป็นรองแค่กระทรวงศึกษาธิการ, งบกลาง, กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลังเท่านั้น
 
โดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงใน สนช. ตอนหนึ่งเกี่ยวกับงบที่เพิ่มขึ้นไว้ว่า กระทรวงกลาโหม ได้รับงบประมาณ 2.2 แสนล้านบาท เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างใหม่ และรองรับแผนงานด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์และบูรณาการ พร้อมยืนยันว่า จะใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าให้มีประสิทธิภาพ ส่วนการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพนั้น จะจัดหาตามความจำเป็นตามแผนพัฒนากองทัพที่กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมได้รับงบประมาณน้อย แต่ก็ได้รับเพิ่มขึ้นตามลำดับจนถึงปัจจุบัน เพื่อจัดหาอาวุธทดแทนในส่วนที่หมดอายุหรือล้าสมัยเพื่อให้กองทัพทัดเทียบกับประเทศอื่นๆ
 
การเพิ่มขึ้นของงบฯ กระทรวงกลาโหมนั้น ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ หากแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยมา หากย้อนกลับไป 15 ปีที่ผ่านมาก็จะพบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 47 ได้งบ 7.85 หมื่นล้าน  คิดเป็น 7.63% ของงบรวม 1.028 ล้านล้าน หรือ 1.21% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 1.9 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 4.51 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 48 ได้งบ 8.12 หมื่นล้าน คิดเป็น 6.76% ของงบรวม 1.2 ล้านล้าน หรือ 1.145% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 2.03 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 4.50 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม  ปี 49 ได้งบ 8.59 หมื่นล้าน คิดเป็น 6.316% ของงบรวม 1.36 ล้านล้าน หรือ 1.03% ของ GDP  ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 2.25 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 5.265 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 50 ได้งบ 1.15 แสนล้าน คิดเป็น 7.37% ของ งบรวม 1.56 ล้านล้าน หรือ 1.35% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 2.82  แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 6.228 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 51 ได้งบ 1.43 แสนล้าน คิดเป็น 8.61% ของงบรวมที่มี 1.66 ล้านล้าน หรือ 1.57% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 3.010 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 6.543 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 52 ได้งบ 1.701 แสนล้าน คิดเป็น 9.27% ของงบรวม 1.835 ล้านล้าน หรือ 1.88% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 3.322 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 7.090 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 53 ได้งบ 1.540 แสนล้าน คิดเป็น 9.06% ของงบรวม 1.7 ล้านล้าน หรือ 1.52% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 3.467 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 7.162 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 54 ได้งบ 1.685 แสนล้าน คิดเป็น 8.14% ของงบรวม 2.07 ล้านล้าน หรือ 1.59% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 3.911 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 8.690 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 55 ได้งบ 1.686 แสนล้าน คิดเป็น 7.08% ของงบรวม 2.38 ล้านล้าน หรือ 1.36% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 4.204 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 9.199 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 56 ได้งบ 1.804 แสนล้าน คิดเป็น 7.52% ของงบรวม 2.4 ล้านล้าน หรือ 1.30% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 4.604 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 9.978 หมื่นล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 57 ได้งบ 1.838 แสนล้าน คิดเป็น 7.28% ของ งบรวม 2.525 ล้านล้าน หรือ 1.39% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 4.827 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 1.06 แสนล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 58 ได้งบ 1.92 แสนล้าน คิดเป็น 7.45% ของงบรวม 2.575 ล้านล้านหรือ 1.40% ของ GDP  ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 5.01 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 1.09 แสนล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 59 ได้งบ 2.06 แสนล้าน คิดเป็น 7.57% ของงบรวม 2.720 ล้านล้าน หรือ 1.43% ของ GDP ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 5.17 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 1.23 แสนล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 60 ได้งบ 2.135 แสนล้าน  คิดเป็น 7.30% ของงบรวม 2.923 ล้านล้าน ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 5.139 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 1.311 แสนล้าน
 
- งบกระทรวงกลาโหม ปี 61 ที่เพิ่มผ่านวาระแรก ได้ 2.22 แสนล้าน คิดเป็น 7.65% งบรวม 2.9 ล้านล้าน ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ 5.109 แสนล้าน และกระทรวงสาธารณสุข 1.361 แสนล้าน
 

งบฯลดตั้งแต่ พ.ค.35 เพิ่มหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.49

หากย้อนหลับไปไกลกว่านั้นจากงานศึกษาของ แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ นักวิชาการสาขามานุษยวิทยาประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งเผยแพร่ในมติชนออนไลน์ วันที่ 04 ก.ย. 53 ยืนยันว่าตัวเลขงบประมาณกองทัพเทียบกับผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ดู ภาพ 2 )
ภาพ 2 จากงานศึกษาของ แอนดรูว์ วอล์คเกอร์  เผยแพร่ในมติชนออนไลน์ วันที่ 04 ก.ย. 53
 
กราฟที่แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ ทำแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์พฤษภา 35 งบประมาณทางด้านการทหารของไทยได้มีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยมากกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ก็ค่อยๆ ลดต่ำลงจนเหลือจำนวนน้อยกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในปี 49 แต่หลังจากรัฐประหาร 19 ก.ย.49 เป็นต้นมา งบประมาณทางด้านการทหารของไทยกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่ง โดยจากสถิติของธนาคารโลก งบประมาณของกองทัพไทยได้แตะถึงหลัก 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในปี 51 และมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 2 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net