Skip to main content
sharethis
กรุงเทพโพลล์ เผยประชาชน 38.1% คิดว่า ยิ่งลักษณ์ จะมีความผิดจากผลของคำตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าว ส่วน 50.0% มีความเห็นเพิ่มเติมว่า แม้ไม่ผิดในคดีทุจริตจำนำข้าว ก็ไม่อยากให้ ยิ่งลักษณ์ กลับมาเล่นการเมืองอีก แต่ 47.9% เชื่อว่าจะกลับมาเล่นการเมือง

 

24 ส.ค.2560 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ รายงานว่า กรุงเทพโพลล์ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,167 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 38.1  คิดว่า ยิ่งลักษณ์ จะมีความผิดจากผลของคำตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าว ขณะที่ร้อยละ 19.5 คิดว่า ยิ่งลักษณ์ จะไม่มีความผิด ส่วนร้อยละ 16.5 คิดว่า ยิ่งลักษณ์ จะไม่มาฟังคำตัดสิน ทั้งนี้มีถึงร้อยละ 25.9 ที่ไม่แน่ใจ

สำหรับเรื่องที่กังวลมากที่สุด หากศาลตัดสินว่า ยิ่งลักษณ์ มีความผิดคดีทุจริตจำนำข้าวพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 55.4 กังวลเรื่องการจราจรติดขัด รองลงมาคือ การชุมนุมประท้วง (ร้อยละ 37.9) การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมนุม (ร้อยละ 31.4) และการก่อเหตุไม่สงบ สร้างสถานการณ์ความรุนแรง  เผาสถานที่ต่างๆ (ร้อยละ 23.2)

เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ว่ารัฐบาลควรใช้ ม.44 เพื่อควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบ ในช่วงตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าว ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 35.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.4 ไม่แน่ใจ

ส่วนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ให้สงบ ในช่วงการตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าวพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.7 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 16.3 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามว่าท่านคิดว่า ยิ่งลักษณ์ จะกลับมาเล่นการเมืองอีกหรือไม่ หากศาลตัดสินว่าไม่มีความผิดในคดีทุจริตจำนำข้าว ประชาชนร้อยละ 47.9 คิดว่าจะกลับมาเล่นการเมืองอีก ขณะที่ร้อยละ 38.6 คิดว่าไม่น่าจะกลับมาเล่นการเมืองแล้ว ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.5 ไม่แน่ใจ 

ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าอยากให้ ยิ่งลักษณ์ กลับมาเล่นการเมืองอีกหรือไม่ในอนาคต หากศาลตัดสินว่า ไม่มีความผิดในคดีทุจริตจำนำข้าวพบว่า ประชาชนร้อยละ 50.0 ไม่อยากให้กลับมา ขณะที่ร้อยละ 33.7 อยากให้กลับมา และร้อยละ 16.3   ไม่แน่ใจ

รายละเอียดการสำรวจ : 

ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล        

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล     :  21 – 23 สิงหาคม 2560 

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ           :  24 สิงหาคม 2560

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

 

จำนวน

ร้อยละ

เพศ

 

 

            ชาย

601

51.5

            หญิง

566

48.5

รวม

1,167

100.0

อายุ

 

 

            18 ปี - 30 ปี

136

11.7

            31 ปี - 40 ปี

235

20.1

            41 ปี - 50 ปี

308

26.4

            51 ปี - 60 ปี

298

25.5

            61 ปี ขึ้นไป

190

16.3

รวม

1,167

100.0

การศึกษา

 

 

            ต่ำกว่าปริญญาตรี

724

62.1

            ปริญญาตรี

333

28.5

            สูงกว่าปริญญาตรี

110

9.4

                                 รวม

1,167

100.0

อาชีพ

 

 

            ลูกจ้างรัฐบาล

152

13.0

            ลูกจ้างเอกชน   

282

24.2

            ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร

481

41.1

            เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 

45

3.9

            ทำงานให้ครอบครัว

1

0.1

            พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ

165

14.2

            นักเรียน/ นักศึกษา 

24

2.1

            ว่างงาน/ รวมกลุ่ม

16

1.4

รวม

1,167

100.0

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net