กก.นักนิติสากล ยินดีกับคําสั่งยุติดำเนินคดี 3 นักสิทธิฯ ปมแฉซ้อมทรมานชายแดนใต้

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล แถลงยินดีที่อัยการจังหวัดปัตตานีมีคําสั่งให้ยุติการดําเนินคดีอาญากับ 3 นักปกป้องสิทธิฯ กรณีรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติ ชายแดนใต้

แฟ้มภาพ

1 พ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (1 พ.ย.60) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) ได้ออกแถลงการณ์เพื่อแสดงความยินดีที่อัยการจังหวัดปัตตานีมีคําสั่งให้ยุติการดําเนินคดีอาญากับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงทั้งสามท่านซึ่งได้ร้องเรียนถึงกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย อันได้แก่ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ สมชาย หอมลออ และ อัญชนา หีมมิหน๊ะ

ความตอนหนึ่งของแถลงการณ์ ICJ ระบุว่า ในวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สํานักงานอัยการภาค 9 รักษาการในตําแหน่ง อัยการจังหวัดปัตตานีมีหนังสือถึงผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรเมืองปัตตานีเพื่อแจ้งคําสั่งยุติการดําเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสาม ในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ก่อนหน้านี้ไอซีเจได้แสดงความกังวลว่าการดําเนินคดีดังกล่าวไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่ถูกต้องนักและยังทําให้เกิดผลกระทบคุกคามต่อการทํางานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
 
“แม้เรามีความยินดีต่อการมีคําสั่งยุติการดําเนินคดีดังกล่าว แต่การดําเนินคดีที่ได้ผ่านมาแล้วนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อผู้ที่ร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การทรมานและการประติบัติที่โหดร้าย ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการแก้ไข” นายคิงสลี่ย์แอ๊บบอต (Kingsley Abbott) ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศอาวุโสภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “สิ่งสําคัญที่จําเป็นจะต้องกระทําคือการออกกฎหมายที่กําหนดให้กาทรมานและการประติบัติอย่างทารุณเป็นความผิดทางอาญา และให้ความคุ้มครองต่อผู้ที่ต้องการดําเนินการร้องเรียนการละเมิดดังกล่าวอย่างจริงจัง”

คดีดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า โดย พ.ท.เศรษฐสิทธิ์ แก้วคูณเมือง ร้องทุกข์ ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.ปัตตานีเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2559 ให้ดำเนินคดีกับสามนักสิทธิมนุษยชน ในข้อหาความผิดร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เนื่องจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้จัดพิมพ์และเผยแพร่รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557 – 2558 โดย ต่อมา กอ.รมน. ภาค 4  ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2560 ที่โรงแรมสุโกศล กรุงเทพ ว่าไม่ติดใจดำเนินคดีกับสามนักสิทธิฯไปในทุกข้อหา และจะดำเนินการถอนคำแจ้งความร้องทุกข์ดังกล่าวต่อไป แต่เมื่อทนายความได้พบกับพนักงานอัยการ กลับพบว่า ขณะนี้ กอ.รมน. ยังไม่ได้ถอนคำแจ้งความร้องทุกข์แต่อย่างใด ซึ่งการถอนคำแจ้งความร้องทุกข์ในคดีนี้ จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) หรือผู้บัญชาการทหารบกในฐานะ รอง ผอ.รมน. เป็นผู้ลงนาม และ กอ.รมน.ภาค 4 จะต้องส่งหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแก่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการประกอบการถอนแจ้งความร้องทุกข์คดีดังกล่าว

รายละเอียดแถลงการณ์ของ ICJ :

ประเทศไทย: ไอซีเจยินดีกับคําสั่งยุติการดําเนินคดีกับนักปกป้องปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสาม ซึ่งได้ร้องเรียนว่ามีกรณีต้องสงสัยว่ามีการกระทําการซ้อมทรมาน

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ไอซีเจ) ยินดีที่ อัยการจังหวัดปัตตานีมีคําสั่งให้ยุติการดําเนินคดีอาญากับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงทั้งสามท่านซึ่งได้ ร้องเรียนถึงกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย อันได้แก่ นางสาวพร เพ็ญ คงขจรเกียรตินายสมชาย หอมลออ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ

ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สํานักงานอัยการภาค 9 รักษาการใน ตําแหน่ง อัยการจังหวัดปัตตานีมีหนังสือถึงผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรเมืองปัตตานีเพื่อแจ้งคําสั่งยุติการ ดําเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสาม ในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาและความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ก่อนหน้านี้ไอซีเจได้แสดงความกังวลว่าการดําเนินคดีดังกล่าวไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่ถูกต้องนัก และยังทําให้เกิดผลกระทบคุกคามต่อการทํางานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

“แม้เรามีความยินดีต่อการมีคําสั่งยุติการดําเนินคดีดังกล่าว แต่การดําเนินคดีที่ได้ผ่านมาแล้วนั้นได้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อผู้ที่ร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การ ทรมานและการประติบัติที่โหดร้าย ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่ง จําเป็นต้องได้รับการแก้ไข” นายคิงสลี่ย์แอ๊บบอต (Kingsley Abbott) ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ อาวุโสภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “สิ่งสําคัญที่จําเป็นจะต้องกระทําคือการออกกฎหมายที่ กําหนดให้กาทรมานและการประติบัติอย่างทารุณเป็นความผิดทางอาญา และให้ความคุ้มครองต่อผู้ที่ต้องการ ดําเนินการร้องเรียนการละเมิดดังกล่าวอย่างจริงจัง”

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2560 สํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติออก แถลงการณ์ว่าได้รับแจ้งจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ว่าจะไม่มีการผ่านร่างกฎหมายที่จะกําหนดให้การทรมานและบังคับสูญหายเป็นความผิดทางอาญา หรือ ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการ บังคับบุคคลให้สูญหาย ในวันต่อมา เจ้าหน้าที่ของสนช.ได้เปิดเผยต่อบีบีซีไทยโดยยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว “จะถูกส่งกลับไปพิจารณา (โดยคณะรัฐมนตรี) เพื่อรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ...ทั้งจากมหาดไทย ตํารวจ ฝ่ายความมั่นคง ทหาร อัยการ” ปัจจุบันร่างพ.ร.บ.อยู่ในการพิจารณาของคณะรัฐมนตร

“กําหนดระยะเวลาที่ประเทศไทยให้คํามั่นสัญญาไว้หลายต่อหลายครั้งในเวทีระหว่างประเทศว่าจะทํา การออกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยในเรื่องสิทธิมนุษยชน ได้ ผ่านพ้นไปนานแล้ว” นายแอ็บบอตกล่าวเสริม

ความเป็นมา

วันที่ 10 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2559 องค์กรของประเทศไทยสามแห่ง ได้แก่ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่ม ด้วยใจ และเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปัตตานีได้ออกรายงานซึ่งรวบรวม 54 กรณีที่มีการกล่าวหาเรื่องการทรมาน และการประติบัติอย่างทารุณ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ พ.ศ. 2547

ต่อมา กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งก่อตั้งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ตอบโต้การออกรายงานฉบับดังกล่าวด้วยการเข้าร้องทุกข์ต่อ เจ้าพนักงานในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาต่อบรรณาธิการร่วม 3 ราย ได้แก่ นางสาวพรเพ็ญ คงขจร เกียรติ(ผู้อํานวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม) นายสมชาย หอมลออ (ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโสประจํามูลนิธิ ผสานวัฒนธรรมและกลุ่มด้วยใจ) และนางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ (ผู้ก่อตั้งเเละผู้อํานวยการกลุ่มด้วยใจ)

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ตั้งข้อหาทางอาญากับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สามราย ได้แก่ การหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามมาตรา 326 เเละ มาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงการนําข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560 กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงความประสงค์ที่จะถอนการเเจ้งความ การดําเนินคดีดังกล่าวในการแถลงข่าว ณ กรุงเทพมหานคร

อนึ่ง ประเทศไทยเป็นภาคีของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Convention on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทําอื่นๆ ที่ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี(Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ CAT) และได้ลงนาม แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท