Skip to main content
sharethis

กลุ่มอนุรักษ์ตำบลปาฝา กว่า 200 คน ยื่นหนังสื่อให้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ค้านโรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาด 9.9 เมกะวัตต์ ขอให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นใหม่ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ตั้งโครงการไม่ได้มีโอกาวเข้าร่วมแสงความเห็นตั้งแต่ต้น

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2560 กลุ่มอนุรักษ์ตำบลปาฝา กว่า 250 คน ได้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะนาด 9.9 เมกะวัตต์ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอจังหาร ซึ่งมีทั้งกลุ่มสนับสนุน และกลุ่มคัดค้านเข้าร่วมเวที โดยเวลาประมาณ 09.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดกล่าวเปิดงาน หลังจากกล่าวเปิดงานทางผู้ศึกษาได้นำเสนอข้อมูลของการจัดทำโรงไฟฟ้าขยะ ซึ่งเมื่อผู้ศึกษานำเสนอเสร็จได้มี สวาสดิ์ ราชภักดี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลปาฝาได้แสดงความคิดเห็น ไม่เห็นด้วยจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ตำบลปาฝา เนื่องจากทางกลุ่มอนุรักษ์ตำบลปาฝามีข้อกังวลต่อการดำเนินโครงการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัดร้อยเอ็ด ขนาด 600 ตัน/วันจาก 12 อำเภอ ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินโครงการตั้งอยู่ที่ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยเหตุผลดังนี้

1.ปัญหากลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง จากการนำขยะ 600 ตัน/วัน จาก 12 อำเภอ มาเผาในศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ในพื้นที่บริเวณเขตตำบลปาฝา ซึ่งทางกลุ่มมีข้อกังวลว่าจากกระบวนการนำขยะมาเผา จะส่งกลิ่นเหม็น และฝุ่นละออง ต่อชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบ ทางด้านมลภาวะที่เป็นพิษ มลภาวะเสียง อากาศ ฝุ่นละออง และกลิ่นเหม็น

2.ทำเลที่ตั้งของโครงการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีกำลังการผลิตขนาด 600 ตัน/วัน นั้นตั้งอยู่ไม่ห่างชุมชน โรงเรียน วัด และโรงพยาบาล อีกทั้งยังตั้งอยู่ใกล้ลำห้วยเลิงอีเฒ่า ซึ่งการที่โรงงานกำจัดขยะมูลฝอยตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานที่สำคัญย่อมอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่ใช้ชีวิตประจำวัน ประกอบกับอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของลำห้วยที่มีการเชื่อมต่อกับลำห้วยอื่นๆ เมื่อมีน้ำเสียไหลลงแหล่งน้ำ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนโดยรอบโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3.ปัญหาการไม่มีกระบวนการประชาคมในชุมชน ทั้งนี้สถานที่ก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีกำลังการผลิตขนาด 600 ตัน/วัน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลปาฝา ซึ่งเป็นตำบลที่จะได้รับผลกระจากการดำเนินโครงการ และยังมีอีกตำบลคือตำบลจังหาร ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ แต่ทางบริษัทไม่เคยที่จะมาทำการประชาคมเพื่อฟังเสียงชาวบ้านในพื้นที่

4.ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับกลุ่มคนที่ลงมาเก็บข้อมูลในระดับพื้นที่ ดังนั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าข้อมูลตามเอกสารชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมการให้ข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เพราะการจัดทำการศึกษาจะต้องให้ครอบคลุ่มพื้นที่ของกลุ่มคนที่มีส่วนได้เสียอย่างจริงๆ

5.ปัญหาน้ำเสีย เนื่องจากว่ากระบวนการของโรงงานที่ผ่านมาหลายโรงงานยังไม่สามารถจัดการน้ำเสียของโรงงาน จึงทำให้ทางกลุ่มยังไม่เชื่อว่ากระบวนการจัดการน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพ และอาจไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอาจก่อให้เกิดผละกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำทั้งบนดิน และใต้ดิน ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์

6.การไม่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการดำเนินก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีกำลังการผลิตขนาด 600 ตัน/วัน ทางเทศบาลและบริษัท ควรชี้แจงให้ประชาชนในระดับพื้นที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับรู้ข้อมูลเบื้องต้นก่อนเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้มีข้อมูลนำไปประกอบการตัดสินใจ ไม่ใช่มีกระบวนการเซ็นสัญญาข้อตกลง แล้วค่อยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น นั้นย่อมหมายถึงการมัดมือชาวบ้านชก จึงทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง

ด้าน สัญญา ฉันวิจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ตำบลปาฝา กล่าวว่า วันนี้หลังจากที่ตัวแทน และชาวบ้านได้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น ผู้ศึกษาพูดถึงแต่ข้อดีไม่เห็นพูดถึงข้อเสียของโรงงานขยะ ซึ่งหลังจากที่แกนนำซักถามในเวทีครบทุกคนแล้วพวกเราไม่หวังที่อยากจะฟังข้อชี้แจงจากทางผู้ศึกษา เพราะอย่างไรชาวบ้านก็จะไม่ยอมรับโรงงานขยะอยู่ดี

จากนั้น ชาวบ้านกว่า 200 คนได้ เดินออกจากเวที ไปยื่นหนังสือกับผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้รับทราบว่ากลุ่มอนุรักษ์ตำบลปาฝาไม่ต้องให้มีโรงงานขยะเกิดขึ้นในพื้นที่ของตำบลปาฝา โดยมีรองผู้ว่าชการจังหวัดร้อยเอ็ดมารับหนังสือ ซึ่งมีข้อเสนอดังนี้คือ

1.เมื่อนายกเทศบาล ตำบลจังหารเซ็น MOU แล้วก็ควรที่จะให้โรงงานไปตั้งในทำเลที่เหมาะสมในพื้นที่ตำบลจังหาร ส่วนตำบลปาฝาไม่เห็นด้วยที่จะมาตั้งในเขตพื้นที่เนื่องจากมีข้อกังวลจากปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในพื้นที่

2.ให้มีการจัดประชุมประชาคมทั้งตำบลปาฝา เพื่อให้ชาวบ้านผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีโครงการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีกำลังการผลิตขนาด 600 ตัน/วัน ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่

3.ให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นใหม่ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ตำบลปาฝาซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งโครงการ เนื่องจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้มีการกำหนดผู้เข้าร่วม ซึ่งที่จริงควรจะเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียได้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม

จังหวัดร้อยเอ็ดได้ดำเนินการแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบและบรูณาการโดยการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการบริหารจัดการขยะและผลิตพลังงานทดแทนซึ่งเป็นผลที่ได้การกระบวนการกำจัดขยะร่วมกับท้องถิ่น ด้วยวิธีการคัดเลือกโดยคณะกรรมการจัดการบริหารขยะมูลฝอยจังหวัดร้อยเอ็ด ได้คัดเลือกเอกชนรายที่มีความเหมาะสม คือ บริษัท สยาม พาวเวอร์ ร้อยเอ็ด จำกัด เข้ามาร่วมดำเนินการซึ่งกำหนดให้มีศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีศักยภาพการกำจัดขยะ จังหวัดร้อยเอ็ดในโซนเหนือได้สูงสุด 600 ตัน/วัน มีพื้นที่โครงการตั้งอยู่ที่ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด นั้น และเทศบาลตำบลจังหาร ในฐานนะเจ้าของโครงการได้ดำเนินการลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท สยาม พาวเวอร์ ร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาความเหมาะสมโครงการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัดร้อยเอ็ด แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net