รัฐไทย ไร้เสรี กฎหมายคุ้มครองใครกัน?

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 มาตรา 34

บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน

เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น [1]

จากข้อความดังกล่าวควรจะแก้ไขเพิ่มเติมว่า “บุคคลต้องมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์สังคม โดยได้รับการคุ้มครอง” ดีหรือไม่? ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นเยาวชน ซึ่งมีความเห็นว่าผู้ใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้ต้องให้ความสำคัญในการวิพากษ์วิจารณ์สังคม ว่าสังคมเป็นเช่นไร มีข้อบกพร่องที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างไร ฟังเสียงประชาชนบ้างว่าสิ่งที่ประชาชนอยากให้ รัฏฐาธิปัตย์ พึงกระทำในฐานะผู้ที่เป็นใหญ่ในรัฐ ควรกระทำต่อผู้ที่มอบอำนาจให้ ซึ่งนั่นก็คือประชาชนอย่างไร?

การวิพากษ์วิจารณ์ เป็นสิ่งที่สังคมสมควรมีเป็นอย่างยิ่ง เสียงเหล่านี้จะนำมาซึ่งการพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จะได้กล้าที่จะประกาศตัวว่าเป็น ประเทศกำลังพัฒนา ( developing country ) อย่างแท้จริง เพราะเห็นใช้คำนี้มานามนมซึ่งก็เข้าใจว่าหลอกลวงคนทั้งประเทศหรือทั้งโลกเท่านั้นเอง ที่จริงแล้วอาจเรียกว่าโลกที่ 3 ก็น่าจะได้ คนในสังคมได้ควรมีสิทธิ์ในการแสดงบทบาทของตน ได้ใช้สิทธิ เสรีภาพอันพึงมีในฐานะพลเมืองของประเทศที่อุปโลกน์ตัวเองว่าเป็น ระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆที่มีการรัฐประหารมากถึง 13 ครั้ง แต่ผู้เขียนมีข้อสงสัยว่าขณะรัฐบาลที่ทำการรัฐประหารมาเขาเรียกตัวเองว่าระบอบอะไรกัน?

เพื่อให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าทุกวันนี้ มิใช้เพียงแต่ผู้มีอำนาจพากันครอบครองมีอิทธิพลไปทุกสิ่งอย่าง โดยคนในสังคมหมดสิทธิ์ ในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเช่นทุกวันนี้ ถ้าเป็นเช่นนั้นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็ไร้ซึ่งความหมาย ใช้แต่ ม.44 ประเทศก็คงอยู่ได้ใช่หรือไม่ หรือกฎหมายพิเศษต่างๆ ทำไมถึงอยู่เหนือกว่าประชาชน ได้รับการคุ้มครองมากกว่า แม้ว่าประชาชนจะเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่มอบให้ผู้ปกครองเพื่อไปทำหน้าที่ รัฏฐาธิปัตย์ แต่ทำไมประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองขณะเดียวกันกลับถูกผู้มีอำนาจในประเทศนี้ใช้กฎหมายกับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมือง ทางสังคม ผู้ที่ยากจนแสนเข็ญ ไม่รู้กฎหมาย (กรณีอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่ได้รับสิทธิในการศึกษา ห่างไกลความเจริญ) หรือแพะรับบาปต่างๆ ก็ถูกผู้มีอำนาจ รังแก เอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในทางกลับกันชนชั้นสูง ผู้ที่มีชื่อเสียง หรือผู้มีอำนาจ ผู้ตอบสนองประโยน์แก่ผู้มีอำนาจ ในประเทศนี้ไม่ถูกลงโทษทางกฎหมายเป็นข่าวไม่นานก็เงียบหายไป หากลวิธีต่างๆมา ปิดกระแสข่าวเก่า เช่น กรณีนาฬิกาเพื่อน น่าคิด น่าตั้งคำถามว่ามาปกปิดกระแสข่าวน้องเมยหรือไม่ และกรณี แค็บรถกระบะ ออกมากลบเกลื่อนกระแสข่าวเรือดำน้ำ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นนักศึกษารัฐศาสตร์ มีความประสงค์อยากวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นต่างๆในสังคม ให้คนในสังคมรับรู้ กระทำการเรียกร้อง รณรงค์ เคลื่อนไหวต่างๆ อย่างชัดเจน อาทิ การเลือกตั้ง แต่ถ้าหากกระทำก็เกรงว่าจะต้องเกิดอันตรายกับตนเองเพราะไม่มีทางสู้อำนาจเหล่านั้นได้อย่างแน่นอน ทำไมการแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์ ในสังคมไม่มีกฎหมายคุ้มครอง

จากการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น ชนกนันท์ ร่วมทรัพย์ นส.นูรฮายาตี มะเสาะ และโดยเฉพาะ รังสิมันต์ โรม ,สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ,ณัฎฐา มหัทธนา , อานนท์ นำภา, เอกชัย หงส์กังวาน , สุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ และ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ที่มีความผิด ข้อหา ”ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ที่ทางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวระหว่างวันที่ 25 ม.ค. เวลา 21.00 น. และวันที่ 27 ม.ค.เวลา 19.00 น. ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน ถามว่า คสช" กล้าปฏิเสธหรือไม่ว่ากำลังจะสืบทอดอำนาจ

ถ้ากล้าก็ไม่น่าจะแปลกเพราะประกาศตัวแล้วว่าเป็นนักการเมือง c9jถ้าอยากเล่นการเมืองก็ควรตั้งพรรคการเมือง ลงสมัครรับเลือกตั้งตามกติกา ถ้าประชาชนชื่นชอบก็คงออกมากากบาทให้อย่างแน่นอน แต่การเลือกตั้งมาถึง ผู้เขียนก็มีความวิตกกังวลว่าเลือกไปแล้วนายกคนกลาง เกรงว่าจะเป็นคนเดิม ซึ่งน่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง กลัวว่าประเทศจะถอยหลังไปมากกว่านี้

แต่ทุกวันนี้ก็ได้ยินเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนในสังคมเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน แต่ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนถ้าหาก ชัดเจนก็คงจะโดนข้อหาอย่างเช่นแกนนำ ทั้ง 7 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นควรชุมนุม กันประมาณ 3-4 คนสัก 100,000 พื้นที่ โดยไม่มีอาวุธ ในประเทศนี้ ไม่แน่ใจว่าจะได้รับการคุ้มครองหรือกฎหมายจะมีบทลงโทษในการแสดงความเห็น เคลื่อนไหว ทางสังคม

ทุกวันนี้ปวงชนชาวไทยอาศัยอยู่ในประเทศ ที่มีระบอบ “ประชาธิปไตยที่ถูกพราก กับ กฎหมายที่ไม่รู้ว่าจะคุ้มครองใครกันแน่ แต่ท้ายที่สุดการกล้าวิพากษ์วิจารณ์สังคมก็ควรจะมีควรกระทำ แม้จะไม่สามารถแสดงออกอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่มีเสรีภาพอย่างแท้จริง ไม่ได้รับการคุ้มครองจากตัวหนังสือที่ถูกปรากฏลงในสิ่งที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญ (Constitution) ก็ตามที

เกี่ยวกับผู้เขียน: อนินท์ญา ขันขาว เป็น นศ.ชั้นปีที่ 1
คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท