หมายเหตุประเพทไทย #199 ประวัติศาสตร์การเรียนภาษาอังกฤษตามอัตภาพ

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ คำ ผกา และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับอาวุธ ธีระเอก ผู้เขียน "ภาษาเจ้า ภาษานาย" ซึ่งปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตในปี 2557 หัวข้อ “การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษของรัฐสยาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

พร้อมชวนพินิจประวัติศาสตร์การศึกษาไทยในอดีตช่วงการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 ที่แบ่งการจัดการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนบนสุด มุ่งผลิตคนเข้าสู่ระบบราชการสมัยใหม่ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษจึงขาดไม่ได้ เพราะต้องการนำวิทยาการตะวันตกเข้ามาปฏิรูปประเทศ และการศึกษาส่วนล่างที่จัดการศึกษาให้กับสามัญชน เพื่อมุ่งสร้างพลเมืองที่ดีของรัฐ ทั้งนี้ที่ต้องแบ่งการจัดการศึกษาเป็น 2 ส่วน ก็เพราะในเวลานั้นรัฐไม่ได้ทุ่มงบประมาณการศึกษาเพื่อจัดการศึกษาที่ดีให้กับเยาวชนทุกคนได้

อย่างไรก็ตามยังพอมีการศึกษาที่จัดโดยเอกชนที่ส่งเสริมการเรียนภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทั้งจากคณะมิชชานารีเพรสไบทีเรียนจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และโรงเรียนในหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียลที่เป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนในเครืออัสสัมชัญ ซึ่งโรงเรียนเอกชนเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นโรงเรียนชั้นนำ และบางแห่งก็เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าเล่าเรียนในอัตราที่สูงในเวลาต่อมา

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค 
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท