Skip to main content
sharethis

เมื่อภาพยนตร์ไทยแนว LGBT จะต้องลงคำบรรยายหรือซับไตเติลภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับผู้ชมวงกว้าง อย่างไรก็ตามเมื่อภาษาต้นทางและภาษาปลายทาง มีคำศัพท์ที่ใช้ รวมทั้งไวยากรณ์ไม่เท่ากัน แล้วจะส่ง "คำสร้อย" ไปให้ถึงภาษาปลายทางได้อย่างไร ขณะเดียวกันภาษาเฉพาะกลุ่มของชุมชน LGBT ไทย เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วหากใช้คำศัพท์เฉพาะกลุ่มของ LGBT ในโลกตะวันตกอย่างภาษาลาเวนเดอร์แปลไปเลย จะมีปัญหาสื่อสารกับผู้ชมภาพยนตร์ที่เข้าใจเฉพาะภาษาอังกฤษมาตรฐานหรือไม่

นอกจากนี้ชวนทำความรู้จักภาษาที่ต้องเข้ารหัส/ถอดรหัสอย่าง "ภาษาลู" "ภาษาลาเวนเดอร์" รวมทั้งภาษา "Polari" ที่เคยใช้โดยชุมชนเกย์ในอังกฤษและเวลส์อย่างน้อยในช่วงศตวรรษที่ 19 ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย พบกับ ชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับ ภาวิน มาลัยวงศ์

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค 
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net