Skip to main content
sharethis

คนดังในวงการสิทธิฯ แห่สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคึกคัก ปิดรับสมัครรวม 38 ราย ลุ้นใครจะผ่านด่านสเปคเทพบวก 25 คุณสมบัติต้องห้าม ขณะที่ 11 ผู้สมัครผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านด่านแค่ 3 

26 มิ.ย. 61 คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 11-25 มิถุนายนที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 38 คน ประกอบด้วย

1.นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2.นายสมศักดิ์ ศิริสุนทร ที่ปรึกษากฎหมายอิสระ
3.นายกมล กมลตระกูล อดีตผู้อำนวยการสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย
4.นายไพศาล สุวรรณรักษา อดีตผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง กรมราชทัณฑ์
5.นายประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันรัชต์ภาคย์
6.นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม อดีตเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และอดีตรองประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
7.น.ส.พิณลัพธพร นาคสมบูรณ์ ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจ.นนทบุรี และผู้ไกล่เกลี่ยศาลอุทธรณ์ภาค 7
8.นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
9.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธานี วรภัทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
10.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
11.นางชลิตา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน
12.นายพงศ์ธร จันทร์เลื่อน กรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
13.นายสามารถ ภู่ไพบูลย์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
14.น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
15.นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สื่อมวลชนอิสระ
16.นางวณี ปิ่นประทีป อดีตผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
17.นายสุรพงษ์ กองจันทึก อดีตประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติผู้ไร้สัญชาติแรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น
18.ศาสตราจารย์ เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
19.นางสมศรี หาญอนันทสุข กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และกรรมการมูลนิธิเพื่อนหญิง
20.นายขรรค์ชัย คงเสน่ห์ อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
21.พ.ต.ท.วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
22.รองศาสตราจารย์ เรณู พุกบุญมี ผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
23.นายปรีดา เวทยาวงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
24.นายบุญแทน ต้นสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา และอดีตอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
25.นางเมธินี รัตรสาร รองผู้อำนวยการกองเทคโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ
26.นายศิริพงษ์ เกี้ยวสกุล นายกสมาคมสมาพันธ์สภาองค์กรชุมชน
27.พล.ต.อ.วิทยา ประยงค์พันธุ์ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
28.นายธนารัชต์ สมคเณ ประธานมูลนิธิครูของแผ่นดิน
29.นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
30.นายเสกสรรณ ประเสริฐ ประธานมูลนิธิเบาะแส
31.น.ส.พรประไพ กาญจนรินทร์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ และอดีตอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ
32.นางภิรมย์ ศรีประเสริฐ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
33.น.ส.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
34.นายพศวีร์ จิตวรพันธ์ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจ.นครปฐม
35.นายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค
36.นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
37.นายขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันต์ อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงมหาดไทย และ
38.นายศาสนพงษ์ เกษะวงศ์ อาจารย์สอนเสริม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จสิ้นกระบวนการรับสมัคร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะส่งรายชื่อผู้สมัครไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและตรวจสอบลักษณะต้องห้าม จากนั้นคณะกรรมการสรรหาจะเชิญผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามมาสัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อสรรหาต่อไป

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2560 กำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คนจากผู้เป็นกลางทางการเมือง และมีความรู้และประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี มาสรรหามาจากด้านต่างๆ จำนวน 5 ด้าน อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน แต่จะเกินด้านละสองคนมิได้ ได้แก่

1) มีประสบการณ์ในการทํางานด้านสิทธิมนุษยชน
2) เชี่ยวชาญในการสอนหรือทํางานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในระดับอุดมศึกษา
3) เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
4) ด้านการบริหารงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
5) ด้านปรัชญา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของไทยเป็นที่ประจักษ์

โดยผู้เข้ารับการสรรหาจะต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม 25 ข้อ โดยให้มีคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วย

1) ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน 2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 3) ประธานศาลปกครองสูงสุด 4) ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 3 คน 5) ผู้แทนสภาทนายความหนึ่งคน ผู้แทนสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข เลือกกันเองให้เหลือ 1 คน และผู้แทนสภาวิชาชีพสื่อมวลชนเลือกกันเองให้เหลือ  1 คน 6) อาจารย์ประจําหรือผู้เคยเป็นอาจารย์ประจําในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งสอนหรือทํางานวิจัยหรือทํางานด้านสิทธิมนุษยชนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี

ผู้ที่จะได้รับการสรรหา คณะกรรมการสรรหาจะต้องมีมติเลือกด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3  โดยวิธีลงคะแนนโดยเปิดเผยและกรรมการสรรหาแต่ละคนจะต้องบันทึกเหตุผลในการเลือกไว้ด้วย

จากนั้น ผู้ได้รับการสรรหาเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการ ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีและดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

11 ผู้สมัคร ผู้ตรวจฯ ผ่านด่านแค่ 3 คน
วันเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีนายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน เพื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครผู้ตรวจการแผ่นดินของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาจำนวน 11 คน ผลปรากฏว่า มีผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม 3 คน ประกอบด้วย

1. นายสมศักดิ์ สุวรรณจิต อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด
2. น.ส.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)
3. น.ส.จิตรา พรหมชุติมา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดปราจีนบุรี

ขั้นตอนต่อจากนี้ คณะกรรมการสรรหาฯ จะเชิญผู้สมัครทั้ง 3 คนมาเข้ารับการสัมภาษณ์และแสดงความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในวันพุธที่ 27 มิถุนายน ที่อาคารรัฐสภา

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net