Skip to main content
sharethis

คุยกับ “HEADACHE STENCIL” ศิลปิน Street Art ที่เคยเป็นกระแสในโลกออนไลน์ จากงานศิลปะเสียดสีการเมืองเรื่อง 'นาฬิกา' ณ ทางขึ้นสะพานลอยแห่งหนึ่ง ให้คนได้ขบคิด พร้อมทั้งเผยถึงแรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะที่สะท้อนสังคม และยังคาดหวังว่าผู้คนจะกล้าลุกขึ้นมาพูดในสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นในสังคม

Headache Stencil เริ่มทำงาน Political Arts เพราะต้องการตั้งคำถามกับความไม่ปกติของสังคม จึงใช้ความสามารถที่เขาถนัดนั่นก็คืองานศิลป์เพื่อที่จะเอามาตีแผ่สังคม,การเมืองของไทย และเมื่อไม่นานมานี้มีงานนิทรรศการแสดงศิลปะที่ชื่อว่า ‘Welcome to the Dark Side’ เขาวงกตที่ชวนให้ขบคิดเรื่องของสังคมการเมือง จัดขึ้นที่ Voice Space เป็นนิทรรศการแสดงศิลปะเดี่ยวครั้งแรกของเขาและเป็นงานที่พูดแทนในสิ่งที่คนอยากพูดแต่พูดไม่ได้

จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจ?

HEADACHE STENCIL : แรงบันดาลใจที่ทำให้อยากที่งานจริงๆ ก็คือ พอเราออกไปพ่นงานที่ต่างจังหวัด และได้ไปรับผลตอบรับ (feedback) ของคนต่างจังหวัดหรือคนที่เขาอยากจะบอกปัญหาของท้องถิ่นเค้า แต่เขาไม่รู้ว่าจะบอกอย่างไร พอเขารู้ว่าเราเป็นคนที่คอยทำรูปพวกนี้เรื่องเกี่ยวกับสังคม พวกเขาก็มาบอกฝากบอกนั่นบอกนี่ซึ่งมันทำให้เราเห็นว่ามันมีคนอีกเยอะมากที่อยากพูดอะไรแต่พูดไม่ได้

ศิลปินที่เป็นแรงบันดาลใจ?

จริงๆ แล้วถ้าเมืองนอกเลยคือผมชอบ Space Invader ซึ่งเป็นฝรั่งเศส เขาจะไม่ได้ทำอะไรเป็นเรื่องราวสังคมมาก แต่ผมชอบในการใช้ไอเดียและก็ ความมีซิกเนเจอร์ของงานเขา ที่จะเป็น คิวบิกอาร์ต ก็คือจะทำเป็นเหลี่ยมๆ เอากระเบื้องมาต่อๆ  ซึ่งในประเทศไทยเขาก็มีมาทำไว้บ้างเหมือนกัน

เสน่ห์ของงานนิทรรศการครั้งนี้?

ผมว่าเสน่ห์ของมันคือการแสดงศิลปะในรูปแบบใหม่ๆ บ้าง แทนที่เราจะต้องเดินเข้าไปดูรูปอยู่ตามเฟรมตามในกรอบรูป ตามแกลรอรี่ คือจริงๆมันเหมือนกับว่าก่อนหน้านี้เวลาที่มี Street artist แสดงงาน หลังๆเราจะได้เห็น Street artist หลายคน หลายท่านที่เอางานมาอยู่ในแคนวาสอยู่ในกรอบรูปแล้วขาย พอดีผมว่าแบบนี้น่าจะถนัดผมมากกว่าคือก็ยังคงความเป็นกำแพงให้พ่นอยู่

งานชิ้นที่ใช้เวลานานที่สุด?

“รถถัง” ที่เป็นรูปรถถังอันนั้นใช้เวลานานสุดเพราะมันใหญ่และหลายสีหลายเลเยอร์ แต่ละชิ้นมันยากง่ายไม่เหมือนกันอยู่แล้วขึ้นอยู่กับจำนวนสีหรือจำนวนบล็อกที่เราใช้

ผลตอบรับที่ได้?

คือมันก็เป็นปกติครับ มีคนชอบมีคนเกลียดเป็นเรื่องธรรมดารับฟังได้ครับ ไม่ใช่นายก

เราดังมาเพราะไปพ่นรูปในกำแพงจะเรียกว่าเป็นการทำงานศิลป์หรือทำลายทรัพย์สิน?

ผมว่ามันคือศิลปะอยู่ดี มันไม่ต่างกันหรอก แค่มันขึ้นอยู่กับสถานที่ที่เราไปทำงานศิลปะ และมันอยู่ตรงไหนมากกว่า ส่วนเรื่องทำลายทรัพย์สินสาธารณะนั้น ใช่ครับ บางครั้งกำแพงที่ผมพ่นมันก็คือกำแพงสาธารณะ แต่ว่าในกรณีผมมันต่าง คือเราก็เห็นคนพ่นกำแพงสาธารณะกันเยอะแยะแต่ไม่เห็นจะต้องมีใครมาถูกตาม ไม่เคยเห็นใครจะต้องมานั่งดูกล้องวงจรปิดเพื่อเช็คว่าใครเป็นคนพ่นอะไรขนาดนั้น

งานชิ้นไหนที่กระแสแรงที่สุดและช่วยเล่าช่วงที่โดนคุกคามให้ฟังหน่อย?

ที่ทำงานมาเสือดำครับ ตอนที่โดนคุกคามคือตอนนั้นพ่นรูปนาฬิกา จากกนั้นก็มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 13 คน มาที่ที่พักเลยโดยไม่มีหมาย ซึ่งเราอาจจะผิดในเรื่องทำลายทรัพย์สินสาธารณะ แต่ว่า ผมว่าวิธีการที่จะจับคนที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะต้องไม่ใช่วิธีนี้

    ตั้งแต่จัดนิทรรศการมาเราโดนคุกคามบ้างไหม?

    ไม่มีนะ ก็มีช่วงเตรียมงานที่รู้สึกว่ามีคนมาเช็ค เพราะว่าเราก็พอจะรู้บ้างว่าใครในท้องที่เป็นใคร คือแพลนไว้ตั้งแต่ตั้งแล้วเพราะว่าปัญหามันคือ ด้วยเงื่อนไขในการก่อสร้างมันทำให้ เรามีเวลาจำกัดในการทำทั้งหมดภายใน 4 วัน คราวนี้ที่ต้องปิดเป็นความลับจริงๆ เพราะสมมติว่าเขารู้ว่าเราจะแสดงงานที่ไหน แล้วเขามาระหว่างที่เราผลิตงานอยู่นั้นมันจะล่ม แต่พอเปิดงานมาแล้วก็ไม่อะไรนะครับ feedback  ซึ่งจริงๆ แล้วงานทุกชิ้นที่ทำไปนั้นก่อนจะทำก็ได้มีการ คุยกับทนายทุกชิ้นก่อนอยู่แล้ว ว่าสิ่งที่เราทำมันไม่ผิดกฎหมาย

    คิดยังไงกับคำว่าศิลปะที่ถูกจำกัดโดยรัฐ?

    ศิลปะไม่น่าจะถูกจำกัดโดยรัฐ แต่ผมว่ารัฐจำกัดทุกอย่างที่ไม่ถูกใจรัฐมากกว่า

    หลังจากจัดงานนี้เรามีความคาดหวังอย่างไรกับคนที่มาชมงานหรือกับสังคมไทย?

    สิ่งที่คาดหวังจากสังคมจริงๆแล้วคือ  คุณควรจะกล้าพูดอะไรมากขึ้นเราไม่ได้ทำอะไรผิด เรามีสิทธิ์ที่จะพูดในอะไรที่มันไม่ดีในสังคมหรืออะไรที่เราสงสัยว่ามันแปลกๆ ผมว่าเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะพูดเพื่อนำเสนอให้ทางรัฐแก้ไขให้กับสังคม เอาจริงๆรัฐรับภาษีจากเรานะ เรามีสิทธิ์พูดไหมล่ะว่าเราไม่ชอบรัฐนี้เราไม่จ่ายภาษี ซึ่งเราไม่มีสิทธิ์ แต่ในเมื่อคุณรับภาษีจากเราคุณต้องฟังเราคือเราเห็นปัญหา เราบอกคุณว่าปัญหามันเป็นแบบนี้ ถ้าคุณจะบอกมันไม่ใช่ปัญหาคุณต้องอธิบายว่ามันไม่ใช่ปัญหาอย่างไรไม่ใช่ผลักเราไปเป็นปัญหา

    ภาพอื่นๆ ในนิทรรศการ : 

     

    สำหรับ ทัศมา ประทุมวัน และอัจฉริยา บุญไชย ผู้สัมภาษณ์และรายงานบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ เป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 1/2561 จากคณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

     

    ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

    ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net