Skip to main content
sharethis

แพทย์ทหารแถลงอาการพลทหารคชา สมองบวม ยังหายใจเองไม่ได้ เบื้องต้นไม่พบร่องรอยฟกช้ำภายนอก พ่อเชื่อเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดผู้บัญชาการกองพัน แต่เป็นความผิดของรุ่นพี่ 3 นาย แม่ภูมิใจที่ผู้ใหญ่ในกองทัพไม่ทอดทิ้ง ขณะที่ ผบ.กรมฯ เดินทางมากินข้าวกับครอบครัว

เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 256 มติชนออนไลน์ รายงานว่า โรงพยาบาลอนันทมหิดล จังหวัดลพบุรี สังกัดกรมการแพทย์ทหารบก  ได้แถลงถึงกรณีข่าวพลทหารคชา พะชะ อายุ 22 ปี ทหารเกณฑ์สังกัดกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน 3 รอ.) จ.ลพบุรี ถูกทหารเกณฑ์รุ่นพี่ทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค. จนเข้ารักษาพยาบาล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทหารเกณฑ์ถูกซ่อมหัวใจหยุดเต้น แพทย์เผยโอกาสรอดน้อย ทหารบอกญาติอย่าให้เป็นข่าว

หมวดเจี๊ยบเสนอให้มีองค์กรตรวจสอบกองทัพ หลัง ผบ.ทบ. ระบุไม่มีการซ่อมในค่ายทหาร

โดยพล.ต.ชัชวาล บูรณรัช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล เปิดเผยว่า พลทหารคชา มาถึงโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 21 ส.ค. เวลา 23.00 น. ด้วยอาการหมดสติ ไม่รู้ สึกตัว ตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยไม่มีชีพจร ไม่หายใจและได้ทําการเริ่ม CPR 2 ครั้งใช้เวลาทั้งหมดรวม ประมาณ 45 นาที คนไข้เริ่มกลับมามีชีพจร แต่ยังไม่รู้สึกตัวจึงใส่ท่อช่วยหายใจ และส่งเข้ารับการรักษา ที่หอผู้ป่วยวิกฤตของโรงพยาบาล

พล.ต.ชัชวาล ระบุด้วยว่า ผลตรวจภาพรังสีทางสมองไม่พบภาวะเลือดออกในสมอง แพทย์วินิจฉัย ภาวะหัวใจหยุดเต้นไม่ทราบสาเหตุ จึงให้การรักษาด้วยการประคับประคองอวัยวะโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ รักษาระดับความดันเลือด ให้สารน้ํา ให้การฟอกเลือด

อาการล่าสุด เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 24 ส.ค. สัญญาณชีพจรระดับความดันโลหิตหลังจากให้ยาแล้วอยู่ในเกณฑ์ปกติ การหายใจใช้เครื่องช่วย หายใจ อาการทางระบบประสาท ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว จากสาเหตุภาวะสมองบวม ซึ่งเกิดจากการขาดออกซิเจน เป็นเวลานาน การรักษาที่ให้ ณ ขณะนี้สภาวะการทํางานของปอดอยู่ในเกณฑ์ดี ภาวะไตวายหลังจากฟอกไต อยู่ในเกณฑ์คงที่และเริ่มมีปัสสาวะออก ปัญหาในตอนนี้ คือภาวะสมองบวม ทําให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและหายใจ เองไม่ได้

พล.ต.ชัชวาล บูรณรัซ์ เผยด้วยว่า ในช่วงที่มีผู้นําส่งโรงพยาบาลนั้นพบว่า พลทหารคชา สิ้นลมหายใจแล้ว ทางแพทย์ได้ดําเนินการช่วยหายใจหลายครั้ง จนกลับมาหายใจได้และได้ต่อเครื่องช่วยหายใจให้ด้วย สําหรับอาการในช่วงนี้พบว่าอาการยังคงทรงตัวและพบว่าสมองบวมทําให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ พอ ทางคณะแพทย์ได้เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดมีการติดตามดูอาการวันละหลายครั้ง ซึ่งตั้งแต่วันแรกที่นําตัวมา ส่งนั้นได้มีการตรวจตามร่างกายก็ไม่พบว่ามีรอย ร่องรอยการถูกทําร้าย

สําหรับสาเหตุที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นทางโรงพยาบาลไม่สามารถบอกได้ต้องไปหาข้อเท็จจริงก่อนที่จะนําส่ง ขณะที่ทางบิดา มารดา ของพลทหารคชา ก็ได้เข้าไปดูตามร่างกายก็พบว่าไม่มีรอยฟกช้ําตามที่ได้มีการ แถลงข่าว พร้อมกับได้ชื่นชมทางหน่วยเรื่องในการดูแลครอบครัวของตนที่มาเฝ้า พลทหารคขา นั้นได้ดูแล เป็นอย่างดี ส่วนในเรื่องการที่ไปแจ้งความกับรุ่นพี่ที่ก่อเหตุ 3 คนนั้นทางเจ้าหน้าที่ตํารวจยังไม่ได้แจ้งข้อ กล่าวหา โดยจะได้ทําหนังสือขอผลการตรวจสอบร่างกายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากทางโรงพยาบาลก่อน ซึ่งรุ่นพี่ ทั้ง 3 คนนั้นก็อยู่ในการควบคุมของทางหน่วยอย่างใกล้ชิด

พ่อพลหทารคชา เชื่อไม่ใช่ความเป็นของกองทัพ แต่เป็นความผิดของคนแค่ 3 คน

ด้านสปริงนิวส์ รายงานว่า คมฉัน พะชะ บิดาของพลทหารคชา มั่นใจว่ากรณีที่บุตรชายถูกทำร้ายไม่ได้กี่ยวข้องกับเรื่องของการธำรงวินัย แต่เป็นเรื่องของการทำร้ายในลักษณะของการเรียกไปรุมทำร้ายร่างกาย ทั้งยังกล่าวด้วยว่า ความผิดทั้งหมดเป็นของพลทหารรุ่นพี่ทหาร 3 คน หากจะเปรียบเทียบกับผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเปรียบเทียบได้ เพราะผู้บังคับบัญชาไม่ได้ติดตามดูแลทุกฝีก้าว อาจมีลูกน้องที่แตกแถวบ้าง แต่พลทหารทั้ง 3 คนนั้นตั้งใจจะทำร้ายลูกชายของตนเองจึงอาศัยช่วงเวลาที่สิบเวรไม่อยู่ พร้อมทั้งของขอบคุณพันโทมลชัย ยิ้มอยู่ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ และผู้บังคับบัญชาคนอื่นๆ ที่กล้าบอกความจริงกับตนว่าลูกชายโดนรุมทำร้าย

ทหารพร้อมส่งตัวพลทหารรุ่นพี่ 3 นาย ให้ตำรวจดำเนินคดีอาญา แม่พลทหารคชา ภูมิใจที่ผู้ใหญ่ไม่ทอดทิ้ง

ในเรื่องทางคดีความ ไทยรัฐทีวี รายงานว่า ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ได้แจ้งดำเนินคดีกับพลทหารรุ่นพี่ทั้งสามนาย เนื่องจากครอบครัวต้องรอใบรับรองแพทย์จาก โรงพยาบาทอานันทมหิดล เพื่อสรุปความรุนแรงของอาการว่าจะดำเนินคดีได้ถึงขึ้นไหน ส่วนพลทหารรุ่นพี่ทั้ง 3 นายที่เป็นผู้ก่อเหตุได้สารภาพกับต้นสังกัดว่า มีปัญหาส่วนตัวกับพลทหารคชา เพราะไม่ชอบหน้า จึงอาศัยจังหวะที่พลทหารคนอื่นนอนหลับหมดแล้วไปเรียกพลทหารคชามาซ่อม แต่ระหว่างที่ซ้อมยอมรับว่าทำเกินกว่าเหตุ และไม่คิดว่าพลทหารคชาจะบาดเจ็บสาหัส ขณะนี้ทางต้นสังกัดได้คุมขังทั้งสามคนอยู่ในที่คุมขังภายในกรมทหารเพื่อรอลงโทษทางวินัย แต่หากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการนำตัวทั้ง 3 นาย ไปดำเนินคดีอาญาก็พร้อมส่งตัวให้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีในศาลทหาร ขณะที่พันเอกธวัชชัย ตั้งพิทักษ์กุล ผู้บังคับบัญชากรมทหารราบที่ 31 ได้เดินทางไปเยียมครอบครัวเพื่อให้กำลังใจ และรวมรับทานอาหารกลางวันรับกับครอบครัว

ขณะที่ รุงฤดี สิหะวงศ์ มารดาของพลทหาร ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อว่า ตอนแรกติดใจกับเรื่องดังกล่าวเพราะเห็นว่า บุตรชายเป็นคนแข็งแรงดี ไม่เคยเจ็บไม่เคยป่วย ไม่มีโรคประจำตัว และที่ผ่านมาหลังจากเกิดเรื่องบุตรชายและครอบครัวได้รับการดูแลจากทางผู้ใหญ่ ก็ทำให้ภูมิใจที่เขาไม่ทิ้งเรา

ผสานวัฒนธรรมขอให้มีคณะกรรมการที่เป็นอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีนี้อย่างเร่งด่วนและโปร่งใส

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์พัฒนาเอกชน ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าวนี้ว่า เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ใช่กรณีแรกและพบว่าในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ซ้อมทรมานพลทหารจนเสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัสเช่นนี้หลายครั้ง รวมทั้ง เมื่อปี 2554 กรณีพลทหารวิเชียร เผือกสม ถูกครูฝึกหน่วยฝึกทหารใหม่ลงโทษด้วยวิธีการซ้อมทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ปี 2559 กรณีสิบโทกิตติกร สุธีรพันธ์ ผู้ต้องขังเรื่อนจำมณฑลทหารบกที่ 25 ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จ.สุรินทร์ ถูกผู้คุมเรือนจำทหารกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย

ในขณะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ที่มีข้อห้ามการทรมานโดยเด็ดขาด นับแต่ปีพ.ศ. 2540  และได้เข้าเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานหรือการปฎิบัติอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ตั้งแต่ปีพ.ศ.2550  แต่พบว่าประเทศไทยยังขาดหลักประกันทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่จะยุติการซ่อมทหารจนเป็นเหตุให้ถึงแก่บาดเจ็บและเสียชีวิต  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม พันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาต่อต้านฯ ดังกล่าว

แม้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ  ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 131/2560 ลงวันที่ 23 พค. 2560 หรือการจัดทำร่างพรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและบังคับให้สูญหายปีพ.ศ….แต่ก็ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่อย่างใด จึงยังถือว่าประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดให้การทรมานเป็นความผิดทางอาญา ตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาการต่อต้านการทรมานแต่อย่างใด  

การขาดซึ่งมาตรการทางกฎหมายดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในข้อหาความผิดฐานกระทำทรมาน   ไม่มีการกำหนดมาตรการในการป้องกันการทรมานอย่างจริงจัง และไม่มีการสืบสวนสอบสวนคดีทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ  เหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานผู้อื่นจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งและหลายกรณี ทำให้ไม่สามารถนำเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดมาลงโทษได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในค่ายทหาร

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอสนับสนุนท่าทีของผู้บังคับกองพันฯ และผู้บัญชาการทหารบกต่อกรณีของ พลทหารคชา พะชะ ที่ออกมาเปิดเผยและยอมรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการทางวินัยและคดีอาญาต่อทหารที่กระทำผิด และผู้บังคับบัญชาที่อาจเกี่ยวข้องหรือละเลยจนทำให้เกิดการกระทำผิด แต่เนื่องจากการสืบสวนสอบสวนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพลทหารคชาฯ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ระหว่างการควบคุมกำกับดูแลของผู้บังคับบัญชาต้องการเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนที่เป็นอิสระ จึงขอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีอำนาจให้สอบข้อเท็จจริงกรณีนี้อย่างเร่งด่วนและโปร่งใส และหากพบว่ามีผู้กระทำความผิดต้องนำตัวผู้กระทำผิดมารับโทษทั้งทางวินัยและทางอาญา  ทั้งจะต้องชดใช้เยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงในกรณีนี้ต่อผู้เสียหายอย่างเพียงพอด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net