Skip to main content
sharethis

เทียบจำนวนเขตเลือกตั้ง 62 VS 54 พบตัดกำลังเพื่อไทย 8 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 3 ชาติไทยพัฒนา 1 ส่วนที่เหลืออีก 13 ที่นั่งเป็นพื้นที่จังหวัดที่มี ส.ส. จากหลายพรรค ที่นั่งที่จะหายไปยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนจะกระทบกับพรรคใด ต้องรอการประกาศเขตเลือกตั้งใหม่ก่อน อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการนำกฎใหม่มาวางทาบในพฤติกรรมการเลือกตั้งแบบเก่า แปลว่ามีหลายอย่างเปลี่ยนแปลง แน่ละเมื่อการเลือกตั้งหายไปจากสังคมไทยนานถึง 7 ปี

ความแตกต่างอย่างหนึ่งของการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 นี้คือ การออกแบบโครงสร้างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่(ส.ส) จากเดิมที่กำหนดให้ที่มา ส.ส ว่ามาจากระบบแบ่งเขต 375 คน และมาจากระบบบัญชีรายชื่ออีก 125 คน แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 กำหนดให้มี ส.ส. ได้มาจากการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต 350 คน และมาจากระบบบัญชีรายชื่อ 150 คน

ไม่เพียงเท่านั้นยังได้มีเปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่ทั้งหมดด้วย จากเดิมที่เคยได้บัตรเลือกตั้งมา 2 ใบ เพื่อกาให้คนที่รัก แล้วก็กาให้พรรคที่ชอบ หลังจากเลือกตั้งเสร็จ กกต. จะนับคะแนนบัตรสองประเภทนี้แยกกัน คนที่ได้คะแนนกว่าในระบบแบ่งเขตก็ถือว่าเป็นผู้ชนะไป ส่วนคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อจะนำมารวมกันทั้งประเทศและคิดเป็นสัดส่วนออกว่ามาแต่ละพรรคการเมืองจะได้ที่นั่งเพิ่มอีกเท่าไหร่ แต่มารอบนี้บัตรเลือกตั้งจะเหลือเพียงบัตรเดียว และกาได้ช่องเดียวเท่านั้น คือเลือกทั้งคนทั้งพรรคไปพร้อมๆ กัน และมีวิธีนับคะแนนที่แตกต่างออกไป

สำหรับการแบ่งเขตการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของแต่ละจังหวัด โดยการคำนวนเขตเลือกตั้ง ตั้งต้นจากการหาค่าเฉลี่ยจำนวนประชากร ต่อ ส.ส. 1 คน โดยใช้จำนวนประชากร ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2560 มีนำนวนประชากรทั้งสิ้น 66,188,503 คน เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ส.ส. แบ่งเขตได้ 350 คน นั่นเท่ากับว่า ส.ส. 1 คนจะเป็นตัวแทนของประชากรเฉลี่ย 189,110 คน (ขณะที่ในปี 2554 ส.ส. 1 คน จะเป็นตัวแทนของประชาการเฉลี่ย 170,000 คน)

จากนั้นจึงได้มีการคำนวนจำนวน ส.ส. ที่แต่ละจังหวัดพึงมี จากจำนวนประชากรที่มีอยู่ในทะเบียนราษฎร์ของจังหวัดนั้นๆ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับจำนวนเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส. ในปี 2554 จะต้องพบอยู่แล้วว่าจะมี ส.ส. หายไป 25 คน มี 23 จังหวัดที่จำนวน ส.ส. ลดลง โดยกรุงลงมาสุดถึง 3 ที่นั่ง หาคิดเป็นรายภาคพบว่า ภาคอีสานมีจำนวนลดลงมากที่สุดคือ 10 ที่นั่ง รองลงมาคือภาคกลาง(นับรวม กทม.) คือ 9 ที่นั่ง ภาคใต้และภาคเหนือพื้นที่ละ 3 ที่นั่ง ส่วนภาคตะวันตกและภาคตะวันออกมีที่นั่งคงเดิม

เมื่อลองค้นข้อมูลดูว่าในจำนวน 23 จังหวัดที่จะต้องเสียที่นั่ง ส.ส. ไปมีจังหวัดใดบ้างที่มีผู้แทนฯ จากพรรคการเมืองพรรคเดียวชนะยกจังหวัด พบว่า นักการเมืองพรรคเพื่อไทยชนะยก 8 จังหวัดคือ เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร และอุดรธานี พรรคประชาธิปัตย์ชนะยก 3 จังหวัดคือ กระบี่ ตรัง และนครศรีธรรมราช ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนาชนะยก 1 จังหวัดคืออ่างทอง ซึ่งนั่นเท่ากับว่าจำนวน ส.ส. ในจังหวัดที่ชนะยกจังหวัดซึ่งเคยการันตีว่าจะได้ที่นั่งแน่นอนจะหายไป จังหวัดละ 1 ที่นั่ง รวม 12 ที่นั่ง ส่วนอีก 13 ที่นั่งที่เหลือยังต้องรอดูว่าจะมีการยุบเขตรวมเขตเลือกตั้งอย่างไรและจะกระทบต่อพื้นที่ของพรรคการเมืองใดบ้าง

แต่สามารถระบุได้ว่า 13 ที่นั่งที่จะหายไปนั้นมาหายไปจาก 12 จังหวัดคือ ชัยภูมิเดิมมี ส.ส. จากเพื่อไทย 6 ที่นั่ง ภูมิใจไทย 1 ที่นั่ง นครราชสีมาเดิมมี ส.ส. จากเพื่อไทย 8 ที่นั่ง ชาติพัฒนา 4 ที่นั่ง ภูมิใจไทย 4 ที่นั่ง บุรีรัมย์เดิมมี ส.ส. จากภูมิใจไทย 7 ที่นั่ง เพื่อไทย 2 ที่นั่ง สุรินทร์เดิมมี ส.ส. จากเพื่อไทย 7 ที่นั่ง ภูมิใจไทย 1 ที่นั่ง อุบลราชธานีเดิมมี ส.ส. จากเพื่อไทย 7 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 3 ที่นั่ง ชาติไทยพัฒนา 1 ที่นั่ง

เพชรบุรีเดิมมี ส.ส. จาก เพื่อไทย 5 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 1 ที่นั่ง สระบุรีเดิมมี ส.ส. จากเพื่อไทย 2 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 2 ที่นั่ง  สุโขทัยเดิมมี ส.ส. จากภูมิใจไทย 4 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 2 ที่นั่ง สุพรรณบุรีเดิมมี ส.ส. จากชาติไทยพัฒนา 4 ที่นั่ง เพื่อไทย 1 ที่นั่ง ซึ่งในทุกจังหวัดนี้จะถูกตัด ส.ส. ออกไปหนึ่งที่นั่ง แต่ยังไม่ทราบว่าจะมีการแบ่งเขตใหม่อย่างไร และพื้นที่ฐานเสียงของพรรคใดจะถูกควบรวมบ้าง

ส่วนกรุงเทพมหานครจากเดิมมี ส.ส. ประชาธิปัตย์ 23 ที่นั่ง เพื่อไทย 10 ที่นั่ง ก็จะถูกลดจำนวน ส.ส. ลด 3 ที่นั่ง และยังไม่ทราบว่าจะมีการลากเสียงแบ่งใหม่อย่างไร

โดยขั้นตอนแล้วหากนับตั้งแต่วันที่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีฯ ผู้อำนวยการการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่อย่างน้อย 3 รูปแบบ ภายในเวลา 14 วัน (วันสุดท้ายคือวันที่ 3 ต.ค.) หลังจากนั้นก็จะปิดประกาศรูปแบบการแบ่งเขตอย่างน้อย 3 รูปแบบที่สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมือง และประชาชนในจังหวัดเป็นเวลา 10 วันนับแต่ปิดประกาศ หลังจากนั้นผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดส่งต่อไปยัง กกต. ให้พิจารณาภายใน 20 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อประกาศการแบ่งเขตในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการแบ่งเขตและกำหนดจำนวน ส.ส. ภายใน 60 วัน เพื่อให้พรรคการเมืองดำเนินการจัดหาผู้สมัครลงเลือกตั้งต่อไป 

ทั้งนี้วิธีนับคะแนนการเลือกตั้งจากบัตรเลือกตั้งใบเดียวจะนับในสองระดับคือ 1.นับว่าในระบบแบ่งเขตใครได้คะแนนเสียงมากสุดถือเป็นผู้ชนะ และจะมีการนับรวมคะแนนในระดับประเทศโดยจะนำคะแนนมาคิดเป็นสัดส่วนรวมทั้งหมดว่า แต่ละพรรคการเมืองจะได้ ส.ส. พรรคละกี่ที่นั่ง จากนั้นให้นำจำนวนที่นั่งที่แต่ละพรรคควรจะได้ มาลบบวกกับจำนวน ส.ส.เขตที่ได้รับการเลือกตั้งแล้ว ซึ่งโมเดลการเลือกตั้งในลักษณะนี้ออกแบบมาเพื่อทำให้พรรคที่ได้ที่นั่งจำนวนมากในระบบการเลือกแบบเดิมได้รับที่นั่งลดลง ขนาดที่พรรคขนาดกลางจะได้จำนวนที่นั่งเพิ่มมากขึ้น

ภาค/จังหวัด

จำนวนเขตเลือกตั้ง/ส.ส. 54

จำนวนเขตเลือกตั้ง/ส.ส. 62

สัดส่วนพรรคการเมืองในแต่ละพื้นที่ (เลือกตั้ง 54)

ภาคเหนือ

36 เขต/คน

33 เขต/คน

พท 35 ปชป 1

เชียงราย

7

7

พท

เชียงใหม่

10

9*

พท

แพร่

3

2*

พท

น่าน

3

3

พท

พะเยา

3

3

พท

แม่ฮองสอน

1

1

ปชป

ลำปาง

4

4

พท

ลำพูน

2

2

พท

อุตรดิตถ์

3

2*

พท

ภาคอีสาน

126 เขต/คน

116 เขต/คน

พท 104  ภท 14 ชพ 4 ปชป 4 ชทพ 1

กาฬสินธุ์

6

5*

พท

ขอนแก่น

10

10

พท

ชัยภูมิ

7

6*

พท 6 / ภท 1

นครพนม

4

4

พท

นครราชสีมา

15

14*

พท 8 /  ชพ 4 / ภท 4

บึงกาฬ

2

2

พท

บุรีรัมย์

9

8*

ภท 7 / พท 2

มหาสารคาม

5

5

พท

มุกดาหาร

2

2

พท

ยโสธร

3

3

พท

ร้อยเอ็ด

8

7*

พท

เลย

4

3*

พท

ศรีสะเกษ

8

8

พท 7 / ภท 1

สกลนคร

7

6*

พท

สุรินทร์

8

7*

พท 7 / ภท 1

หนองคาย

3

3

พท

หนองบัวลำภู

3

3

พท

อำนาจเจริญ

2

2

พท / ปชป

อุดรธานี

7

8*

พท

อุบลราชธานี

9

10*

พท 7 / ปชป 3 / ชทพ 1

ภาคกลาง

115 เขต/คน

106 เขต/คน

พท 65 / ปชป 36 / ภท 9  ชพท 9 / ชพ 1

กรุงเทพฯ

33

30*

ปชป 23 / พท 10

กำแพงเพชร

4

4

พท 3 / 1

ชัยนาท

2

2

ภท 2

นครนายก

1

1

ภท 1

นครสวรรค์

6

6

พท 4 / ปชป 1 / ชพ 1

นนทบุรี

6

6

พท

นครปฐม

5

5

พท 5 / ชทพ 1

ปทุมธานี

6

6

พท 6 / ปชป 1

พระนครศรีอยุธยา

5

4*

พท 4 / ชพท 1

พิจิตร

3

3

ชพท 2 / ปชป 1

พิษณุโลก

5

5

ปชป 3 / พท 1

เพชรบูรณ์

6

5*

พท 5 / ปชป 1

ลพบุรี

4

4

พท 3 / ปชป 1

สมุทรปราการ

7

7

พท 6 / ภท 1

สมุทรสงคราม

1

1

ปชป

สมุทรสาคร

3

3

ปชป 2 / พท 1

สระบุรี

4

3*

ปชป 2 / พท 2

สุโขทัย

4

3*

ปชป 2 / ภท 4

สิงห์บุรี

1

1

 พท

สุพรรณบุรี

5

4*

ชทพ 4 / พท 1

อ่างทอง

2

1*

ชทพ 2

อุทัยธานี

2

2

ปชป 1 / ชทพ 1

ภาคตะวันตก

19 เขต/คน

19 เขต/คน

ปชป 16 / พท 2 / ชทพ 1

ตาก

3

3

ปชป 3

กาญจนบุรี

5

5

ปชป 3 / พท 2

ราชบุรี

5

5

ปชป 4 / ชทพ 1

เพชรบุรี

3

3

ปชป 3

ประจวบคีรีขันธ์

3

3

ปชป 3

ภาคตะวันออก

26 เขต/คน

26 เขต/คน

ปชป 11 / พช 6 / พท 6 /ชทพ 1

ตราด

1

1

ปชป 1

จันทบุรี

3

3

ปชป 3

ชลบุรี

8

8

พช 6 / พท 1 / ปชป 1

ระยอง

4

4

ปชป 4

ฉะเชิงเทรา

4

4

ปชป 2 / พท 2

ปราจีนบุรี

3

3

ภท 2 / ชพท 1

สระแก้ว

3

3

พท 3

ภาคใต้

53 เขต/คน

50 เขต/คน

ปชป 50 อื่นๆ 3

กระบี่

3

2*

ปชป 3

ชุมพร

3

3

ปชป 3

ตรัง

4

3*

ปชป 4

นครศรีธรรมราช

9

8*

ปชป 9

นราธิวาส

4

4

ปชป 4

ปัตตานี

4

4

ปชป 2 / มาตุภมิ 1 / ภท 1

พังงา

1

1

ปชป 1

พัทลุง

3

3

ปชป 3

ภูเก็ต

2

2

ปชป 2

ยะลา

3

3

ปชป 3

ระนอง

1

1

ปชป 1

สงขลา

8

8

ปชป 8

สตูล

2

2

ปชป 1 / ชทพ 1

สุราษฎร์ธานี

6

6

ปชป 6

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net