Skip to main content
sharethis

26 ก.ย. 2561 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่าวันนี้ (26 ก.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย นำโดยนายภิญโญ เรือนเพ็ชร รองประธาน สร.รฟท. และคณะได้เข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามความคืบหน้า และเร่งรัด เรื่องกรณีการขอยกเว้นมาตรการด้านบุคลากร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 เพื่อขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581) ซึ่งผลการเข้าพบมีรายละเอียดดังนี้

เรื่องกรณีการขอยกเว้นมาตรการด้านบุคลากร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 เพื่อขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581) หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือที่ คค.0206/กบท.1676 ลงวันที่ 21 มิ.ย. 2561 เรื่อง ขอให้เพิ่มเติมข้อมูล เรื่องขอยกเว้นมาตรการด้านบุคลากรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 เพื่อขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581) ซึ่งมีข้อสังเกต 5 ข้อ เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลตามข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม ซึ่งการรถไฟได้มีหนังสือที่ รฟ.1/1423/2561 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2561 ตอบชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมไปยังปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งทางรัฐมนตรีแจ้งว่ารายละเอียดข้อมูลที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยตอบมาเพิ่มเติมนั้น มีรายละเอียดครบถ้วนเพียงพอแล้ว ขั้นตอนต่อไปก่อนที่จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณา ครม. ทางกระทรวงจะนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรอง หลังจากนั้นจะรีบนำเสนอให้ ครม.โดยเร็วที่สุด

สหภาพแรงงานรถไฟฯ ขอรัฐเร่งเพิ่มอัตราพนักงาน รฟท.
รฟท. จ่ายค่า ‘ทำงานวันหยุด-โอที’ กว่าพันล้าน เหตุขาดกำลังคน

นอกจากนี้ทาง สร.รฟท.ได้สอบถามความเรื่องของ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... และการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ทางรัฐมนตรีชี้แจงว่าในส่วนของร่าง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ....ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ในกระบวนการนี้จะดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ให้แล้วเสร็จในเดือน ต.ค. 2561 เพื่อให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการขนส่งทางราง และในส่วนของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 4 ทำการตรวจ แก้ไขร่าง ซึ่งยังมีรายละเอียดหลายย่างที่ยังมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

ซึ่งในเรื่องนี้ทาง สร.รฟท.มีความเห็นว่าในเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของอำนาจขอบเขตของการทำหน้าที่กำกับดูแล (Regulator) ไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล เช่น การเข้าไปบริหารทรัพย์สินที่เป็นของการรถไฟฯ การออกใบอนุญาตต่างๆ และเรื่องของการให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ซึ่งทาง สร.รฟท.ยังไม่เห็นด้วยในเนื้อหาของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับข้อเสนอของทาง สร.รฟท.เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 4 ต่อไป
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net