Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ยุคสมัยการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่ คสช.ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จวบจนวันนี้ผ่านมารวมระยะเวลาได้เป็นจำนวน 4 ปี 4 เดือน หรือจะเอาข้อมูล แบบจำนวนวันชัดๆก็ 1,576 วัน นับถึงวันที่ คสช. ประกาศคลายล็อคการเมือง เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 จำนวน 1,576 วัน กับระยะเวลาที่ประเทศไทยไม่มีการเลือกตั้ง ยังไม่นับรวมก่อนวันที่ คสช.เข้ามายึดอำนาจ ก่อนการเลือกตั้งที่เป็นโมฆะ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ถือว่าเป็นเวลาที่นานพอสมควร

นอกจากระยะเวลาที่นาน สิ่งสำคัญที่สุดคือการโดนปิดกั้นการแสดงออกถึงเสรีภาพของคนรุ่นใหม่ ปิดกั้นความคิด ปิดกั้นสิทธิ การที่ต้องเติบโตมาในสภาวะการขาดเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การแสดงความคิดเห็นที่โดนเพ่งเล็ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ จนไปถึงเรื่องใหญ่ๆในสังคมที่ปราศจากการเลือกตั้ง จากสังคมรอบข้างในการแสดงทรรศนะที่เกี่ยวกับการเมือง การตั้งคำถามของสังคมกับการเข้าไปมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ และการเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ บรรยากาศทำให้เกิดการตั้งคำถามมากขึ้นกับสภาพสังคมที่เป็นอย่างทุกวันนี้

 

จากสถิติที่พบเกี่ยวกับจำนวนคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้ง 

จำนวนคนรุ่นใหม่ที่อายุครบ 18 ที่ยังไม่เคยได้เลือกตั้งระดับประเทศ ตั้งแต่ปี 2555 - 2560 พบว่ามีคนรุ่นใหม่ ที่ยังไม่เคยได้สัมผัสการเลือกตั้งระดับประเทศมีจำนวนมากถึง 5,616,261 คน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2560 เห็นได้ว่าถ้านับช่วงอายุจะเป็น คนรุ่นใหม่ อายุไม่เกิน 22 ปี ในปัจจุบัน ข้อมูลยังไม่รวม ปี พ.ศ.2561 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งถ้ายิ่งยื้อการเลือกตั้งออกไปนานเท่าไหร่จำนวนคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

จำนวนคนที่มีสิทธิอายุครบ 18 ปี แล้วแต่ไม่เคยได้เลือกตั้ง มีจำนวนมากถึง 5,616,261 คน

จากสถิติที่พบเกี่ยวกับจำนวนคนรุ่นใหม่ที่ยันไม่เคยได้สิทธิเลือกตั้งกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดข้อมูลในปี2560

จากข้อมูลพบว่า มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยสัมผัสการเลือกตั้งมากถึง 11 % ของทั้งหมด

จำนวน 11% ที่ไม่เคยสัมผัสบรรยากาศการเลือกตั้ง การหาเสียง การรณรงค์ การเข้าคูหา และ การนับคะแนน ซึ่งทั้งหมด คือบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ที่คนรุ่นใหม่ยังไม่เคยได้สัมผัสเข้าไปมีส่วนร่วม เป็นการเสียโอกาสในการเรียนรู้ประสบการณ์การเลือกตั้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย 

ความสำคัญของการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น 

สิทธิการเลือกตั้งคือปัจจัยขึ้นพื้นฐานของความเป็นพลเมืองที่ทุกคนพึงมี แต่การที่ไม่ได้โอกาสในการใช้สิทธินั้นตามระบอบประชาธิปไตย ของการเข้ามามีส่วนร่วม และ คนรุ่นใหม่ที่โดนปิดกั้นในการแสดงออกทางการเมืองขั้นพื้นฐาน จะเป็นปัจจัยให้การเลือกตั้ง ในปี 2562 ข้างหน้านี้นั้น เป็นแรงขับเคลื่อนพลังของคนรุ่นใหม่ต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และเป็นการรอเลือกตั้งครั้งแรกของ 5.6ล้านคน หรือ 5.6 ล้านเสียง ที่ยังไม่เคยเข้าคูหา กาบัตรเลือกตั้ง หย่อนบัตรเลือกตั้ง เลยสักครั้งเดียวในชีวิต เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่ได้รับการจับตามองอย่างมากไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศและนอกประเทศ
การก้าวต่อไปในอนาคตของคนรุ่นใหม่กับการเลือกตั้ง

อดีตกับระยะเวลา 4 ปี 4เดือน หรือ จำนวน 1,576 วัน กับ จำนวนคน 5,616,261คน ที่สูญเสียสิทธิที่ควรจะได้ เมื่อครบเกณฑ์ที่กำหนด นับเป็น 11 % ของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจากข้อมูล ปี2560 เลยก็ว่าได้ การที่จะได้เห็นสิ่งใหม่ๆจากพลังของคนรุ่นใหม่ๆ นับจากนี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ เพราะอนาคตข้างหน้า 11 % นี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทาง ของสังคมและประเทศต่อไป ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับ 11 % หรือ ที่เราเรียกว่าคนรุ่นใหม่นั่นเอง

 


อ้างอิงข้อมูล คนรุ่นใหม่ ที่ยังไม่เคยได้สัมผัสการเลือกตั้งระดับประเทศมีจำนวนมากถึง 5,616,261 คน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2560
รายงานสถิติจำนวนประชากรประจำปี 2560
http://user.khonthai.com/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php
ระบบสถิติทางการทะเบียน
Official Statstics Registration Sytstems.

ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน 
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง 
59 หมู่ 11 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา 
จังหวัดปทุมธานี 12150
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงข้อมูล จำนวนคนมีสิทธิเลือกตั้ง ปี 2560
สสช.สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2560

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net