Skip to main content
sharethis

'เอื้อมพร' แนะหากเราอยากได้สวัสดิการมากๆ ต้องทำให้สวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนก่อให้เกิดผลผลิตกลับสู่ ระบบเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดรายได้ภาษีกลับสู่ภาครัฐ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่การให้สวัสดิการของรัฐ 'ธร' ชี้นโยบายสวัสดิการที่หันมาเน้นการอุดหนุนที่คนจน ไม่ได้มีศักยภาพในการลดความเหลื่อมลํ้าได้มาก

คลิปวงเสวนา ซึ่งจะมีส่วนที่ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) รวมอภิปรายด้วย นาทีที่ 57.15 เป็นต้นไป

5 ต.ค.2561 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา ทางคณะได้จัดงานสัมมนาพิเศษก้าวเข้าสู่ 70 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ: "เมื่อถึงทางแยก ความท้าทายและอนาคตสวัสดิการไทย"ที่ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

โดย คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. สรุปประเด็นอภิปรายของวิทยากร 2 คน คือ ศ.ดร.เอื้อมพร พิชัยสนิธ และ ดร.ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.

ศ.ดร.เอื่อมพร ยกคำกล่าวของอดีตประธานธิบดีเนลสัน แมนเดลา แห่งแอฟริกาใต้ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.2536 ที่ว่า “การปฏิเสธสิทธิมนุษยชนของประชาชนคือการท้าทายความเป็นมนุษย์ของพวกเขา” ดังนั้นความคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิของคนทุกคน ในขณะเดียวกัน แต่ละประเทศก็ต้องเผชิญกับ ข้อจํากัด ด้านทรัพยากร บางประเทศที่มีทรัพยากรมาก ข้อจํากัดดังกล่าวก็จะน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบ แล้วประเทศไทยของเราควรจะไปทางไหน? เรามักจะถามว่า ทําไมเราไม่ได้สวัสดิการเยอะๆ ดังเช่นประเทศ อื่นๆ  ก่อนอื่น เราคงต้องพิจารณาว่าประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการเขามีโครงสร้างอย่างไร ขอยกตัวอย่างเช่น ประเทศสวีเดน เป็นที่ทราบกันดีว่า สวีเดนมีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยมตลอดชีพสําหรับประชาชนทุกๆคน ภายใต้ปราชญาของ “ความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน” หรือ Solidarity ทั้งนี้ การดําเนินรัฐสวัสดิการดังเช่นสวีเดนก็ย่อมมีต้นทุนสูงที่ทุกคน ต้องแบกรับด้วยเช่นกัน ประชาชนชาวสวีเดนโดยรวมยินดีจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่สูงกว่าประชาชน ประเทศอื่น 

ทั้งนี้ เมื่อกาลเวลาผ่านไป เนื่องด้วยหลายๆ ปัจจัย อาทิ ภาวะประชากรสูงอายุ และความผันผวนของระบบ เศรษฐกิจโลก ทําให้แต่ละประเทศ รวมถึงประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการเอง ต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นในการ บริหารจัดการระบบสวัสดิการเช่นกัน 

สำหรับประเทศไทย ศ.ดร.เอื่อมพร กล่าวว่า หากเราอยากได้สวัสดิการมากๆ สมการฝั่งรายได้ของภาครัฐที่ตรงไปตรงมาคือ การเก็บภาษีคนรวยเพิ่มขึ้น การเพิ่มฐานภาษี และการเพิ่มรายได้จากการทํางานให้แก่แรงงาน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การผลักดันนโยบายต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถบรรลุผลได้ในเร็ววัน  ประเทศของเราไม่ได้มีเงินมาก ดังนั้น เราจําเป็นต้อง หาทางออกที่เหมาะสม แบบ “ไทยๆ” เพื่อสามารถทําให้สวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนก่อให้เกิดผลผลิตกลับสู่ ระบบเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดรายได้ภาษีกลับสู่ภาครัฐ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่การให้สวัสดิการของรัฐเปรียบเสมือนวัฏ จักรของการเกิดฝน   

ขณะที่ ดร.ธร กล่าวว่า ระบบสวัสดิการไทยก้าวผ่านช่วงเวลาขยายตัวมาสู่ช่วงปัจจุบันที่โจทย์อยู่ที่การปรับคุณภาพและอุดช่องว่าง ความท้าทายของระบบสวัสดิการไทยในปัจจุบันก็คือการลดความทับซ้อนของสวัสดิการแบบต่างๆ การลดความเหลื่อมล้ำในสวัสดิการพื้นฐานทั้งด้านสาธารณสุขและการศึกษา และการขยายสวัสดิการในกรณีของสวัสดิการสําหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และแรงงานนอกระบบ 

สำหรับการจะตอบความท้าทายดังกล่าวได้นั้น ดร.ธร กล่าวว่า จําเป็นจะต้องอาศัยกระบวนการทางนโยบายที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะใน การแปรความต้องการทางสวัสดิการจากประชาชนออกมาเป็นนโยบาย อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวอาจเกิดขึ้น ไม่ได้ง่ายนักในอนาคตอันใกล้ ในด้านของการสร้างอุปสงค์ทางนโยบาย สังคมไทยยังขาดแนวคิดด้านสวัสดิการที่ ชัดเจน และคนในชนชั้นที่แตกต่างกันก็มักจะไม่ได้มองความจําเป็นของระบบสวัสดิการไปในทางเดียวกัน ในขณะที่ ด้านอุปทานของนโยบายสวัสดิการ ศักยภาพของระบบการเมืองในการแปรเปลี่ยนความต้องการทางสวัสดิการไปสู่ นโยบายถูกจํากัดด้วยการเมืองแบบท่ีถูกควบคุมกํากับด้วยอํานาจนอกประชาธิปไตย ด้วยสภาพเหล่านี้โอกาสในการ ปรับปรุงนโยบายสวัสดิการให้ตอบความท้าทายข้างต้นได้อย่างชัดเจนจึงยังมีความเปน็ ไปได้ที่จํากัด  

ดร.ธร กล่าวต่อว่า ทิศทางในปัจจุบันของนโยบายสวัสดิการที่หันมาเน้นการอุดหนุนที่คนจน ถูกผลักดันมาอย่างเป็นสําคัญด้วย แนวคิดเรื่องข้อจํากัดด้านการคลังและการสร้างประสิทธิภาพให้กับการใช้จ่ายของรัฐ แต่การหันมาใช้แนวทางดังกล่าว ยังต้องทําอย่างระมัดระวัง ต้องมีการตรวจสอบการตกหล่นของผู้ที่ควรได้รับสวัสดิการและพยายามแก้ปัญหาอย่าง จริงจัง และที่สําคัญ ต้องคํานึงว่าแนวทางดังกล่าวไม่ได้มีศักยภาพในการลดความเหลื่อมลํ้าได้มาก หากต้องการให้ ระบบสวัสดกิารเน้นเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำก็ยังควรนํามาใช้อย่างจํากัดขอบเขต ควบคู่ไปกับการเน้นลดความ เหลื่อมล้ำในระบบสวัสดิการและการอุดช่องว่างที่ยังทีอยู่  

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net