Skip to main content
sharethis

ชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับรวิวรรณ รักถิ่นกําเนิด นักศึกษาปริญญาโทด้านมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้นในประเด็นที่เธอกำลังศึกษาถึงบทบาทของแมวและผู้ต้องขังในเรือนจำ ผ่านมุมมองแบบชาติพันธุ์นิพนธ์หลากหลายสายพันธุ์ หรือ multi-species ethnography ที่เริ่มเป็นแนวทางการศึกษาสำคัญในทางมานุษยวิทยาโดยเฉพาะมานุษยวิทยานิเวศน์ ที่ทำให้เห็นว่าอารยธรรมของมนุษย์สร้างขึ้นมาได้โดยไม่ปราศจากสิ่งมีชีวิตอื่น เช่นเดียวกับที่รั้วเรือนจำไม่สามารถกั้นแมวออกจากผู้ต้องขังได้

ทั้งนี้มุมมองแบบชาติพันธุ์นิพนธ์หลากหลายสายพันธุ์ ยังช่วยทำให้เห็นการทำงานของรัฐ เครือข่ายทางสังคม ผ่านมุมมองของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่การเก็บเห็ดมัตสึทาเกะกับการทำงานของระบบทุนนิยมโลก นโยบายกำจัดยุง และบทบาทภาครัฐที่นิคารากัว จนถึงชีวอำนาจ (Biopower) ผ่านแคมเปญป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในภาคอีสาน ฯลฯ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net