เหยียบ 2.3 ล้านเสียงจากปี 54 ต้นทุนบุญเก่าที่พลังประชารัฐได้รับจากแรงดูด

สำรวจ 65 รายชื่ออดีต ส.ส. และผู้สมัครเลือกตั้งปี 2554 ซบพรรคพลังประชารัฐ พบเพื่อไทย 25 ประชาธิปัตย์ 14 ภูมิใจไทย 12 ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 6 พลังชล 5 ชาติไทยพัฒนา 3 รวมคะแนนแบ่งเขตบุญเก่า 2.29 ล้านเสียง ตั้งสมมติฐานคำนวณกับระบบเลือกตั้งแบบใหม่ หากฐานเสียงไม่เปลี่ยนพลังประชารัฐยืนพื้น 36 ที่นั่ง ด้านสมาชิกพรรคที่เหลืออีกอย่างน้อย 52 รายชื่อเป็น อดีต ส.ส. สมัยพรรคไทยรักไทย บ้างร่วมงานกับทักษิณ ชินวัตร บ้างเป็นนักการเมืองท้องถิ่น

ที่มาภาพพื้นหลังของภาพประกอบจาก: คมชัดลึกออนไลน์

โรดแมปสู่การเลือกตั้งครั้งหน้าถูกกำหนด และถูกทำให้เข้าใจร่วมกันโดยวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 หากไม่มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลง เรื่องที่น่าจับตาเป็นพิเศษสำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนี้คือ ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองเกิดใหม่อย่าง พรรคพลังประชารัฐ ที่มี 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. เข้าไปในเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งนั้นคือภาพสะท้อนของความพยายามยักย้าย ถ่ายโอนอำนาจการบริหารประเทศจากเดิมที่ได้มาโดยการทำรัฐประหาร ไปสู่การสืบทอดอำนาจต่อไปภายหลังการเลือกตั้ง โดยใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่เปิดช่องให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 250 คน ที่ได้มาจากการเลือกของ คสช. ทั้งหมดสามารถโหวตเลือกผู้บุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐนตรีได้ และใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ

เกมการเมืองในรัฐสภาถูกออกแบบมาเพื่อยึดแย่งอำนาจที่ได้มาโดยชอบธรรมจากประชาชนโดยเฉพาะ จากการที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ 250 ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเลยแม้แต่คนเดียวสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีให้กับคนทั้งประเทศไทย แต่เดิมการเลือกนายกรัฐมนตรีจะทำได้โดยการใช้เสียงที่มากกว่ากึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฏรหรืออย่างน้อย 251 เสียง แต่ครั้งนี้เมื่อนับรวม ส.ว. เข้าไปด้วยการเลือกนายกรัฐมนตรีจะต้องใช้คะแนนขั้นต่ำมากถึง 376 เสียง

พรรคการเมืองที่ชนะอันดับที่ 1 ไม่ว่าจะได้คะแนนเสียงเท่าไหร่ก็ตามจะต้องรวมเสียงสนับสนุนในสภาให้ได้มากถึง 376 เสียง ซึ่งถือเป็นเรื่องยาก แต่ในทางกลับหากเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป อาจจะต้องการคะแนนเสียงจาก ส.ส. อีกเพียงแค่ 126 เสียงเท่านั้น เพราะมี 250 ส.ว. ที่ได้เข้ามานั่งรอไว้อยู่แล้ว

คำถามสำคัญคือ ปรากฎการณ์การจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ 2 หลังการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดา เมื่อผลการเลือกตั้งยังไม่ออกมาก็ไม่ง่ายที่ฟันธงลงไปในเกมการเมืองที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนแล้วคือ ความพยายามในการกวาดคะแนนเสียงจากอดีต ส.ส. และผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยการชักชวนให้มาเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเวลานี้มียอดรวมที่ปรากฎอยู่ตามสื่อต่างๆ ทั้งสิ้น 94 คน โดย 41 คน เป็นอดีต ส.ส. ในระบบเขตจากการเลือกตั้งปี 2554 ทั้งหมด 5 คน เป็นอดีต ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ 19 คนเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่ได้รับชัยชนะ

และเมื่อนำคะแนนที่แต่ละคนได้รับในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 2,298,967 คะแนนเสียง ส่วนที่เหลืออีก 30 คนเป็นอดีต ส.ส. ก่อนการเลือกตั้งปี 2554 นักการเมืองท้องถิ่น หลายรายเคยสังกัดพรรคไทยรักไทย และร่วมงานกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร

และหากคิดแยกอดีต ส.ส. และผู้สมัครรับเลือกตั้งในปี 2554 ตามสังกัดพรรคการเมืองพบว่า เพื่อไทยย้ายไป 25 ประชาธิปัตย์ 14 ภูมิใจไทย 11 ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 6 พลังชล 5 ชาติไทยพัฒนา 3

สมการจากผลบุญเก่าจากแรงดูด ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะแผ่อานิสงส์อยู่หรือไม่

ทั้งนี้หากลองตั้งสมการสมมติขึ้น โดยหยิบเอาพฤติกรรมการเลือกตั้งในปี 2554 มาคำนวณด้วยระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้แปลว่า ผลที่ได้จากการลองคำนวณนี้จะเป็นจริง เพราะความนิยมในตัวผู้สมัครแต่ละคนย่อมมีความเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการย้ายพรรคการเมืองไปอยู่กับอีกขั้วการเมืองหนึ่ง แต่ผลของการคำนวณนี้อาจจะช่วยทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่า ปรากฎการณ์พลังดูดที่เกิดขึ้นในพรรคประชารัฐทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่ออะไร

คณิตศาสตร์ของระบบเลือกตั้งและข้อเท็จจริงในการเมืองไทย

ตามสถิติการเลือกตั้งในปี 2554 มีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งสิ้น(นับเฉพาะบัตรดี) 31,760,968 คน หารด้วยจำนวน ส.ส. ที่ทีทั้งหมดในสภาคือ 500 คน จำนวนที่ได้คือ 63,522 ซึ่งคือเสียงประมาณการคะแนนที่พรรคการเมืองหนึ่งจะมี ส.ส.ได้หนึ่งคน เมื่อนำจำนวนนี้ไปหารจำนวนคะแนนรวมของอดีต ส.ส. และผู้สมัครรับเลือกตั้งในปี 2554 ที่ย้ายมาอยู่พรรคพลังประชารัฐทั้งหมดซึ่งมีคะแนนคือ 2,298,967 เท่ากับว่า พรรคพลังประชารัฐจะมีจำนวน ส.ส. ที่พึงมีได้ทั้งหมด  36 คน หมายความว่าหากพฤติกรรมการเลือกตั้งจากปี 2554 ไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย 36 ที่นั่งคือขั้นต่ำที่พรรคพลังประชารัฐจะได้รับ

ย้ำว่านี่คือการทดลองคำนวณด้วยตัวแปรเก่า ที่ผ่านมาแล้ว 7-8 ปี

รายชื่ออดีต ส.ส. ผู้สมัครรับการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 และคนอื่นๆ ที่ร่วมกับพลังประชารัฐ

ลำดับ

ชื่อ

พรรค / ประเภท ส.ส.

ปีที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง

คะแนนที่ได้รับ

กลุ่ม อดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ปี 2554

1

วิรัช รัตนเศรษฐ

เพื่อไทย / บัญชีรายชื่อ

2554

-

2

สันติ พร้อมพัฒน์

เพื่อไทย / บัญชีรายชื่อ

2554

-

3

เวียง วรเชษฐ์

เพื่อไทย / บัญชีรายชื่อ

2554

-

4

ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ 

ประชาธิปัตย์ / บัญชีรายชื่อ

2554

-

5

สันต์ศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์

พลังชล / บัญชีรายชื่อ

2554

-

กลุ่ม อดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทย ปี 2554 ระบบแบ่งเขต

6

พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์

เพื่อไทย / กาญจนบุรี เขต 1

2554 / ชนะ

33,501 เสียง

7

ไผ่ ลิกค์ 

เพื่อไทย / กำแพงเพชร เขต 1

2554 / ชนะ

44,268 เสียง

8

อนันต์ ผลอำนวย

เพื่อไทย / กำแพงเพชร เขต 3

2554 / ชนะ

35,512 เสียง

9

ปริญญา ฤกษ์หร่าย

เพื่อไทย / กำแพงเพชร เขต 4

2554 / ชนะ

46,236 เสียง

10

ทัศนียา รัตนเศรษฐ

เพื่อไทย / นครราชสีมา เขต 4

2554 / ชนะ

45,018 เสียง

11

อธิรัฐ รัตนเศรษฐ

เพื่อไทย / นครราชสีมา เขต 7

2554 / ชนะ

44,296 เสียง

12

ชูกัน กุลวงษา

เพื่อไทย / นครพนม เขต 4

2554 ชนะ

50,609 เสียง

13

ฉลอง เรี่ยวแรง

เพื่อไทย / นนทบุรี เขต 6

2554 / ชนะ

50,966 เสียง

14

จักรัตน์ พั้วช่วย

เพื่อไทย / เพชรบูรณ์ เขต 2

2554 / ชนะ

40,677 เสียง

15

วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ 

เพื่อไทย / เพชรบูรณ์ เขต 4

2554 / ชนะ

48,416 เสียง

16

สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์

เพื่อไทย / เพชรบูรณ์ เขต 5

2554 / ชนะ

46,896 เสียง

17

เอี่ยม ทองใจสด

เพื่อไทย / เพชรบูรณ์ เขต 6

2554 / ชนะ

48,129 เสียง

18

อำนวย คลังผา

เพื่อไทย / ลพบุรี เขต 3

2554 / ชนะ

62,091 เสียง

19

ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข

เพื่อไทย / เลย เขต 1

2554 / ชนะ

38,049 เสียง

20

เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข

เพื่อไทย / เลย เขต 3

2554 / ชนะ

34,835 เสียง

21

วันชัย บุษบา

เพื่อไทย / เลย เขต 4

2554 / ชนะ

48,961 เสียง

22

ฐานิสร์ เทียนทอง

เพื่อไทย / สระแก้ว เขต 1

2554 / ชนะ

64,089 เสียง

23

ตรีนุช เทียนทอง

เพื่อไทย / สระแก้ว เขต 2

2554 / ชนะ

64,161 เสียง

24

สุพล ฟองงาม

เพื่อไทย / อุบลฯ เขต 4

2554 / ชนะ

66,901 เสียง

25

สุทธิชัย จรูญเนตร

เพื่อไทย / อุบล เขต 5

2554 / ชนะ

37,573 เสียง

กลุ่ม อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ปี 2554 ระบบแบ่งเขต

26

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ  

ประชาธิปัตย์ / กทม. เขต 26

2554 / ชนะ

46,910 เสียง

27

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

ประชาธิปัตย์ / กทม. เขต 7

2554 / ชนะ

38,470 เสียง

28

ธวัชชัย อนามพงศ์

ประชาธิปัตย์ / จันทบุรี เขต 1

2554 / ชนะ

47,770 เสียง

29

ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา

ประชาธิปัตย์ / จันทบุรี เขต 2

2554 / ชนะ

53,709 เสียง

30

บุญเลิศ ไพรินทร์

ประชาธิปัตย์ /ฉะเชิงเทรา เขต 1

2554 / ชนะ

43,510 เสียง

31

พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ 

ประชาธิปัตย์ /ฉะเชิงเทรา เขต 4

2554 / ชนะ

59,036 เสียง

32

สรวุฒิ เนื่องจำนงค์

ประชาธิปัตย์ / ชลบุรี เขต 4

2554 / ชนะ

50,068 เสียง

33

วิชัย ล้ำสุทธิ 

ประชาธิปัตย์ / ระยอง เขต 4

2554 / ชนะ

41,184 เสียง

34

กัลยา รุ่งวิวิตรชัย

ประชาธิปัตย์ / สระบุรี เขต 1

2554 / ชนะ

25,878 เสียง

กลุ่มอดีต ส.ส. พรรคอื่นๆ ปี 2554 ระบบแบ่งเขต

35

สุชาติ ชมกลิ่น

พลังชล / ชลบุรี เขต 1

2554 / ชนะ

33,687 เสียง

36

รณเทพ อนุวัฒน์

พลังชล / ชลบุรี เขต 3

2554 / ชนะ

34,415 เสียง

37

พันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา

พลังชล / ชลบุรี เขต 5

2554 / ชนะ

36,550 เสียง

38

ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์

พลังชล / ชลบุรี เขต 7

2554 / ชนะ

36,463 เสียง

39

นันทนา สงฆ์ประชา

ภูมิใจไทย / ชัยนาท เขต 2

2554 / ชนะ

53,900 เสียง

40

บุญจง วงศ์ไตรรัตน์

ภูมิใจไทย /นครราชสีมา เขต 10

2554 / ชนะ

45,331 เสียง

41

ประนอม โพธิ์คำ

ภูมิใจไทย /นครราชสีมา เขต 12

2554 / ชนะ

43,394 เสียง

42

มานิต นพอมรบดี

ภูมิใจไทย / ราชบุรี เขต 1

2554 / ชนะ

34,150 เสียง

43

บุญยิ่ง นิติกาญจนา

ภูมิใจไทย / ราชบุรี เขต 2

2554 / ชนะ

35,288 เสียง

44

ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร

ภูมิใจไทย / ราชบุรี เขต 4

2554 / ชนะ

35,511 เสียง

45

จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล

ภูมิใจไทย / สุโขทัย เขต 3

2554 / ชนะ

27,671 เสียง

46

ปารีณา ไกรคุปต์

ชาติไทยฯ / ราชบุรี เขต 3

2554 / ชนะ

32,702 เสียง

กลุ่มผู้ลงสมัคร ส.ส. ปี 2554 ระบบแบ่งเขต

47

สกลธี ภัททิยกุล

ประชาธิปัตย์ / กทม. เขต 11

2554 / แพ้

25,704 เสียง

48

อัฏฐพล โพธิพิพิธ

ประชาธิปัตย์ /กาญจนบุรี เขต 1

2554 / แพ้

33,332 เสียง

49

ทศพล เพ็งส้ม

ประขาธิปัตย์ / นนทบุรี เขต 5

2554 / แพ้

44,699 เสียง

50

กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่

ประชาธิปัตย์ / เชียงใหม่ เขต 3 (เลือกตั้งซ่อมปี 2556)

2556 / แพ้

21,372 เสียง

51

ปัญญา จีนาคำ

เพื่อไทย / แม่ฮองสอน เขต 1

2554 / แพ้

31,953 เสียง

52

สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ 

เพื่อไทย / กำแพงเพชร เขต 2

2554 / แพ้

34,843 เสียง

53

สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ 

ชาติพัฒนาฯ/นครราชสีมา เขต6

2554 / แพ้

22,613 เสียง

54

ภิญโญ นิโรจน์

ชาติพัฒนาฯ/นครสวรรค์ เขต 1

2554 / แพ้

24,956 เสียง

55

นพ.ภูมินทร์ ลีธีนะประเสริฐ

ชาติพัฒนาฯ / ศรีสะเกษ เขต 3

2554 / แพ้

30,315 สียง

56

สุชาติ ตันติวณิชชานนท์

ชาติพัฒนาฯ / อุบลฯ เขต 9

2554 / แพ้

22,261 เสียง

57

อลงกต มณีกาศ

ชาติพัฒนาฯ / นครพนม เขต 4

2554 / แพ้

21,939 เสียง

58

ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา

ชาติพัฒนาฯ / สุรินทร์ เขต 6

2554 / แพ้

20,482 เสียง

59

ภิรมย์ พลวิเศษ

ภูมิใจไทย / นครราชสีมา เขต 5

2554 / แพ้

16,880 เสียง

60

รณฤทธิชัย คานเขต

ภูมิใจไทย / ยโสธร เขต 2

2554 / แพ้

18,741 เสียง

61

พิกิฏ ศรีชนะ

ภูมิใจไทย / ยโสธร เขต 3

2554 / แพ้

33,653 เสียง

62

กรุงศรีวิไล สุทินเผือก

ภูมิใจไทย / สมุทรปราการ เขต5

2554 / แพ้

28,534 เสียง

63

สรชาติ สุวรรณพรหม

ภูมิใจไทย / หนองบัวลำภู เขต 1

2554 / แพ้

10,349 เสียง

64

กรรณิการ์ เจริญพันธ์

ชาติไทยฯ / สุรินทร์ เขต 4

2554 / แพ้

22,919 เสียง

65

วัชระ ยาวอหะซัน

ชาติไทยฯ / นราธิวาส เขต 4

2554 / แพ้

26,651 เสียง

กลุ่มอดีต ส.ส. ก่อนปี 2554 และอื่นๆ

66

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

อดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ 2 ปรากฎตัวอย่างเป็นทางการอีกครั้งในนามแกนกลุ่มสามมิตร

67

สมศักดิ์ เทพสุทิน

อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ 1 เป็นแกนนำกลุ่มวงน้ำยม ซึ่งเป็นแกนหลังในการจัดตั้งรัฐบาลไทยรักไทย เพราะมี ส.ส.ในสังกัดมากถึง 120 คน หลังรัฐประหารปี 49 ลาออกจากไทยรักไทย สร้างกลุ่มมัชฌิมา จากนั้นร่วมงานกับเนวิน ชิดชอบ และล่าสุดเป็นแกนนำกลุ่มสามมิตร

68

สุชาติ ตันเจริญ

อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และอดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เคยเป็น ส.ส. ในพื้นที่ฉะเชิงเทรา 8 สมัย ในการเลือกตั้งปี 2554 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีใช้นามสกุลตันเจริญเลือกแข่งขันทั้งหมด 3 คน ได้แก่

 

ณัชพล ตันเจริญ มีศักดิ์เป็นหลานของสุชาติ ลงสมัคร ส.ส. ฉะเชิงเทราเขต 2 ในนามพรรคภูมิใจไทย แพ้การเลือกตั้ง แต่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 คือ 29,361 เสียง

 

เฉลิมชัย ตันเจริญ มีศักดิ์เป็นน้องชายของสุชาติ ลงสมัคร ส.ส. ฉะเชิงเทราเขต 2 ในนาทพรรคกิจสังคม แพ้การเลือกตั้ง ได้รับคะแนนเสียงเพียง 676 เสียง

 

พิเชษฐ์ ตันเจริญ มีศักดิ์เป็นพี่ชายของสุชาติ เป็นพ่อของ ณัชพล ลงสมัคร ส.ส. ฉะเชิงเทรา เขต 3 ในนามพรรคภูมิใจไทย  แพ่การเลือกตั้ง แต่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 คือ 29,873 เสียง

69

อิทธิพล คุณปลื้ม

 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐบาล คสช. อดีตนายกเมืองพัทยา ลูกชายของสมชาย คุณปลื้มหรือกำนันเปาะ เป็นน้องชายของสนธยา คุณปลื้ม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ให้ดำรงตำแหน่งนายกเมืองพัทยา 4 วันก่อนการประชุมจดจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ

70

อนุชา นาคาศัย

อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีต ส.ส. จังหวัดชัยนาท

71

มณเฑียร สงฆ์ประชา

อดีต ส.ส. และรองเลขธิการพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งปี 2550 กกต. ได้พิจารณาให้ใบแดงและให้ถอนสิทธิเลือกตั้ง และวันที่ 2 ธ.ค. 2551 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคชาติไทย

72

รัตนา จงสุทธานามณี

อดีต ส.ส. จังหวัดเชียงราย และอดีตนายก อบจ. เชียงราย

73

มงคล จงสุทธานามณี

อดีต ส.ส. จังหวัดเชียงราย 7 สมัย สังกัดพรรคชาติพัฒนา แพ้การเลือกตั้งเมื่อปี 2544

74

จำลอง ครุฑขุนทด

อดีตรองหัวรองหัวพรรคไทยรักไทย อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลทักษิณ เคยขึ้นเวที นปช. ที่แยกผ่านฟ้า ปี 2553

75

สุภรณ์ อัตถาวงศ์

รู้จักกันในนาม แรมโบ้ อีสาน อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย เคยเป็นแกนนำ นปช. หลังการรัฐประหารปี 2557 เคยสาบานต่ออนุสาวรีย์ยาโมว่าจะเลือกเล่นการเมือง ต่อมาในวันที่ 4 ส.ค. 2561 ได้ไปถอนคำสาบานพร้อมเล่นการเมืองอีกครั้ง โดยจะหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ

76

พรศักดิ์ เปี่ยมคล้า

อดีต ส.ส. จังหวัดนครปฐม เคยลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ไปสังกัดพรรคไทยรักไทย

77

วีระกร คำประกอบ

อดีต ส.ส. จังหวัดนครสวรรค์ พรรคไทยรักไทย มีน้องชายคือ ดิสทัส คำประกอบ ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี 2554 ในนามพรรคเพื่อไทย ด้วยคะแนนเสียง 25,513 เสียง

78

วิวัฒน์ นิติกาญจนา

อดีต ส.ส. จังหวัดราชบุรี พรรคไทยรักไทย

79

ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ 

อดีต ส.ส. จังหวัดศรีสะเกษ พรรคไทยรักไทย

80

ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ 

อดีต ส.ส. จังหวัดศรีสะเกษ พรรคไทยรักไทย

81

วิจิตรา วัชราภรณ์

อดีตรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นภรรยาของ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์

82

นพ.วิชัย ชัยจิตวณิชกุล

อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีต ส.ส. จังหวัดอุดรธานี

83

กล่ำคาน ปาทาน

อดีต ส.ส. จังหวัดศรีสะเกษ พรรคไทยรักไทย ในปี 2552 เขาพร้อมกลุ่มคนสื้อแดงศรีสะเกษประมาณ 500 คน ร่วมประกอบพิธีทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีและถวายสังฆทานแด่พระคณะสงฆ์ จำนวน 61 เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 61 ปี ของทักษิณ ชินวัตร

84

ทวี สุระบาล

อดีต ส.ส.จังหวัดตรัง 7 สมัย 6 สมัยในนามพรรคประชาธิปปัตย์ ก่อนที่จะย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งปี 2548 และชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 7 ในนามพรรคไทยรักไทย (ระบบบัญชีรายชื่อ)

85

พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์  

อดีต ส.ส. จังหวัดกำแพงเพชร พรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส.เพชรบูรณ์พรรคพลังประชาชน ถูดตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี หลังมีกรณียุบพรรคพลังประชาชน เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้เขายังเคยเป็นแกนนำ นปช. ที่ถูกออกหมายจับฐานร่วมกันก่อการร้อย และสนับสนุนการก่อการร้าย จากกรณีล้มการประชุมอาเซียนซัมมิทที่พัทยาเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2552

 

โดยวันที่ 21 มี.ค. 2560 ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุกเขาพร้อมพวก 13 คน ประกอบด้วย อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง,นายนิสิต สินธุไพร,พายัพ ปั้นเกตุ ,วรชัย เหมะ, ธนกฤต หรือวันชนะ ชะเอมน้อย หรือเกิดดี ,พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง ,ศักดา นพสิทธิ์,พันตำรวจโทไวพจน์ อาภรณ์รัตน์,นพพร นามเชียงใต้ ,สำเริง ประจำเรือ ,สมยศ พรมมา ,วัลลภ ยังตรง และสิงห์ทอง บัวชุม คนละ 4 ปี ต่อมาในช่วงเดือน ส.ค. 2560 เขาได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว หลังได้ประกันตัวเขายังคงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของรัฐบาล คสช. แต่สุดท้ายก็ตัดสินเขาร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ

86

ศุภสิทธิ์ เตชะตานนท์

อดีต ส.ส. ขอนแก่น 6 สมัย (การเลือกตั้งปี 2526 – 2539) เป็นพ่อของ รุจ เดอะสตาร์

87

ศุภณัจ เตชะตานนท์

ลูกชายของศุภสิทธิ์ เป็นพี่ชายของ รุจ เดอะสตาร์

88

ทวี ไกรคุปต์

อดีต ส.ส. จังหวัดราชบุรี 7 สมัย (การเลือกตั้งปี 2522- 2539) เป็นพ่อของ ปารีณา ไกรคุปต์ ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี 2554 เป็น ส.ส.ราชบุรีเขต 3 ในนามพรรคชาติไทยฯ ซึ่งได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐแล้วเช่นกัน

89

ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์

ลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการเลือกตั้งปี 2557 ในนามพรรค ชาติไทยฯ ก่อนหน้านั้นเขาเป็น สมาชิก อบจ. เมืองฉะเชิงเทรา และเป็นบุตรชายของ กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายก อบจ. ฉะเชิงเทรา คนปัจจุบัน

90

แสนคม อนามพงษ์

อดีต ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งปี 2554 อยู่ดำลับที่ 85 ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. เป็นพี่น้องกับ ธวัชชัย อนามพงษ์ อดีต ส.ส. จันทบุรี เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์

91

สมศักดิ์ คุณเงิน

อดีต ส.ส. จังหวัดขอนแก่น 5 สมัย (การเลือกตั้งในปี 2531, 2535, 2538, 2544 และ2548)

92

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

อดีต ส.ส. จังหวัดสิงห์บุรี พรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งปี 2544 และพรรคชาติไทยในการเลือกตั้งปี 2550 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จากกรณียุบพรรคชาติไทย ในปี 2557 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว. แต่กลับมีการรัฐประหารก่อน และต่อมาได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ

93

สุชน อินทเสม

นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เคยเป็น ส.ว. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

94

นิพนธ์ คนขยัน

นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ เป็นนายก อบจ. ตั้งแต่บึงกาฬได้ถูกยกสถานะเป็นจังหวัดเมื่อปี 2554-ปัจจุบัน

95

พรรณสิริ กุลนาถศิริ

ปัจจุบันเป็นนายก อบจ. จังหวัดสุโขทัย เคยเป็น รมช.กระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ และเป็นน้องสาวแท้ๆ ของสมศักดิ์ เทพสุทิน

96

สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์

อดีต ส.ส. จังหวัดชลบุรี 4 สมัย สังกัดสุดท้ายคือ พรรคไทยรักไทย ในปี 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. แต่ถูก กกต. ตัดสิทธิเพราะขาดคุณสมบัติ เนื่องจากยังไม่พ้นวาระ 5 ปีที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งรองนายก อบจ. ชลบุรี

97

กุลวดี นพอมรบดี

ลูกสาวของ มานิต นพอมรบดี  

98

ผกามาศ เจริญพันธ์

ลูกสาวของ กรรณิการ์ เจริญพันธ์

99

พิชัย บุณยเกียรติ

อดีตนายก อบจ. นครศรีธรรมราช เคยร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.

100

วันชัย จงสุทธามณี

นายกเทศมนตรีนครเชียงราย สามีของ รัตนา จงสุทธานามณี

101

ผจญ ใจกล้า

อดีตสาธารณสุข อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

102

เสงี่ยม แสนพิชญ์

อดีตรองนายก อบจ. จังหวัดเชียงราย

103

นริสา ทองประสิทธิ์

นักการเมืองท้องถิ่น

104

บุญถิ่น นวลใหม่ 

อดีต ส.จ. จังหวัดเชียงราย

105

เดชนัฐวิทย์ เตริยาภิรมย์

ลูกชายของ บุญทรง เตริยาภิรมย์ ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุกในคดีทุจริตการระบายข้าวแบบจีทูจี โดยเดชนัฐวิทย์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในวันที่เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเมื่อวันที่ 22 พ.ย. ว่า การตัดสินครั้งนี้เป็นการตัดสินด้วยตัวเองคนเดียว พร้อมระบุว่าอาการของบุญทรงในเวลานี้มี อาการป่วยด้วยโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน จำเป็นที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ล่าสุด 28 พ.ย. กรมราชฑัณฑ์ได้ส่งตัวบุญทรงไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ

106

นวลพรรณ ล่ำซำ

รู้จักกันในนาม มาดามแป้ง ผู้จัดการฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เป็นภรรยาของ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์

107

อัครวัฒน์ อัศวเหม

อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

108

ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม 

ประธานหอการค้าสมุทรปราการ เคยถูกศาลตัดสินจำคุกคดี ทุจริตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลสมุทรปราการ ปี 2542 โดยใช้เวลาสู้คดีในศาลนานถึง 16 ปี ก่อนที่ศาลฎีกาจะตัดสินจำคุก1 ปี 6 เดือน เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2558 ได้รับการปล่อยตัวก่อนครบกำหนดโทษ เนื่องจากเป็นนักโทษชั้นดี เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2559 รวมระยะเวลาจำคุก 1 ปี 33 วัน

109

วรพร อัศวเหม

ประธานสภาเทศบาล ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ

110

ต่อศักดิ์ อัศวเหม

อดีตรองนายกเทศมนตรี นครสมุทรปราการ 

111

ยงยุทธ สุวรรณบุตร 

นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา

112

สัมพันธ์ เตชะเจริญกุล

นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสมุทรปราการ

113

ภริม พูลเจริญ

สมาชิกสภา อบจ. จังหวัดสมุทรปราการ

114

ทวีศักดิ์ ตั้งเด่นไชย

นายกสมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย

115

ฐาปกรณ์ กุลเจริญ 

ทีมงานตระกูลอัศวเหม

116

จาตุรนต์ นกขมิ้น

ทีมงานตระกูลอัศวเหม

117

วทันยา วงษ์โอภาสี

หรือมาดามเดียร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท สปริงส์นิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นภรรยาของ ฉาย บุนนาค

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท