Skip to main content
sharethis

ส่งท้ายปี 2018 กับ 13 คำให้การจาก 3 แร็ปเปอร์กลุ่ม Rap Against Dictatorship ผู้ซึ่งประชาไทภูมิใจนำเสนอเป็นบุคคลแห่งปี 2018 สำหรับเราพวกเขาเป็นทั้ง คนธรรมดา ศิลปิน ผู้บันทึกเรื่องราว และ”นักต่อสู้ด้านการเมืองวัฒนธรรม” อย่าเพิ่งตกใจว่ายกยอปอปั้นกันเกินไป หากเพลงประเทศกูมีไม่ได้แสดงถึงการช่วงชิงความหมายและนิยามของคำว่า “เจ้าของอำนาจ” ให้กลับคืนสู่ประชาชน และไม่ได้พลิกเปลี่ยนวัฒนธรรมของการก้มหน้าสยบยอม ไปสู่การเงยหน้าท้าทายกับอำนาจแล้วกล้าที่จะส่งเสียงว่า ประเทศนี้มีอะไรที่ไม่ควรจะมี เราคงไม่กล้าใช้คำว่า ”นักต่อสู้ด้านการเมืองวัฒนธรรม”

แม้หลายคนรวมทั้งพวกเขาเองจะบอกว่า เรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาแต่ละไรม์ จะเป็นเรื่องทั่วไปที่เห็นได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทั้งกระดาษ และออนไลน์ แต่การสื่อสารเพื่อดึงคนกลุ่มอื่นที่ไม่สนใจ ไม่ได้รู้สึกว่าชีวิตมีพันธะกับการเมือง ให้รู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้มันใกล้ตัวเหลือเกิน พวกเขาทำได้ดีกว่าใครๆ  

แน่นอนว่าเมื่อกล้าท้าทายกับอำนาจ ความยุ่งยากในชีวิตบางช่วงบางขณะเป็นสิ่งที่รับประกันได้อยู่แล้วว่าจะต้องเกิดขึ้นในประเทศที่ยังเป็นเผด็จการ การถูกกล่าวหาว่ารับงาน รับเงินจากขั้วการเมือง ไม่รักชาติ เป็นข้อครหาแรกที่พวกเขาได้รับ จนท้ายที่สุดเขาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ลัทธิชังชาติ” ฟังดูน่ากลัวแต่ดูท่าทีแล้วพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มากเท่าไหร่ อาจเพราะสิ่งที่เขาสนใจมีหลักอยู่ที่เรื่องเดียวคือ Against Dictatorship

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net