Skip to main content
sharethis

24 ม.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 ม.ค.) กลุ่มรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลหารไทยหยุดปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อปูทางสู่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่เสรีและเปิดกว้าง

โดยเหล่าสมาชิกรัฐสภาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า หลังจากมีการประกาศวันเลือกตั้ง ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ประกาศเมื่อวันที่ 23 ม.ค. ให้วันที่ 24 มี.ค. 2562 เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งนี่จะเป็นการลงคะแนนเสียงแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในประเทศไทยนับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจในเดือน พ.ค. 2557

“เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยประกาศวันเลือกตั้งเสียที เพราะมันเกินกำหนดมานานแล้ว ห้าปีภายใต้ การปกครองของทหารเป็นหายนะของสิทธิมนุษยชนไทย เพราะทหารทำการปิดปาก คุกคาม และจับกุมนักเคลื่อนไหว และผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่หยุดหย่อน” ชาร์ลส์ ซันติเอโก ประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเชียนเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าว

ชาร์ลส์ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ในประเทศไทยเวลานี้ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรม รัฐบาลทหารต้องเลิกการจำกัดเสรีภาพในการแสดงในทันที เพราะหากพรรคการเมืองไม่สามารถรณรงค์หาเสียงอย่างเสรีได้ ผู้ออกเสียงก็ไม่สามารถตัดสินใจเลือกผู้แทนได้อย่างมีข้อมูลรอบด้าน ไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การอนุญาตให้มีผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งทั้งจากใน และต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใสให้กับการเลือกตั้งครั้งนี้

ในแถลงการณ์ระบุด้วยว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2561 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ยกเลิกข้อจำกัดทางสิทธิเสรีภาพชางประการ เช่น การยกเลิกห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อย่างไรก็ตามรัฐบาลทหารยังมีอำนาจที่จะควบคุมตัว และดำเนินคดีกับใครก็ตามที่วิพากษ์วิจารณ์กองทัพ หรือสถาบันกษัตริย์ได้ อีกทั้ง มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ยังให้อำนาจแก่หัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างไม่จำกัด และไม่ถูกควบคุมตรวจสอบ ทำให้โอกาสในการจำกัด และสิทธิมนุษยชนยังคงมีอยู่ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ทหารยังคงใช้กฎหมายที่มีลักษณะกดขี่เสรีภาพหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 116 เพื่อเล่นงานผู้เห็นต่างที่แสดงออกอย่างสงบ

สมาชิกรัฐสภาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้แสดงความกังวลต่อข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐบาลทหารไทยยัง ได้เขียนกฎหมายให้ตัวเองมีบทบาททางการเมืองต่อไปอีกหลายปี ผ่านรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้ คสช. มีอำนาจ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน โดยหกคนในนั้นมาจากผู้นำเหล่าทัพ นอกจากนี้เ มื่อปีที่แล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งถูกแต่งตั้งโดย คสช. ได้ผ่านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งผูกมัดรัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้งในอนาคตให้ต้องทำตาม หากไม่ทำตามอาจถูกลงโทษโดยการถูก ถอดออกจากตำแหน่งหรือถถึงขั้นจำคุกได้

“แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น มันก็อาจใช้เวลาอีกหลายปีทีเดียวที่จะล้มล้างกฎหมายที่ไม่เป็น ประชาธิปไตยที่รัฐบาลทหารนี้สร้างขึ้นมา ชาวไทยต้องมีสิทธิในการออกแบบอนาคตของตนเองโดยปราศจาก การแทรกแซงทางทหาร” ชาร์ลส์ ซานติเอโก กล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net