เครือข่ายพีเพิลโก เรียกร้อง สนช. หยุดพิจารณากฎหมาย 280 คน-องค์กรลงนาม

เครือข่ายภาคประชาชน People Go Network ชี้ สนช. ควรตระหนักว่าตนเองไม่มีความชอบธรรมในการพิจารณากฎหมายตั้งแต่ต้น ยื่น 280 รายชื่อเรียกร้องให้ยุติพิจารณากฎหมายทันที รอให้สภาเลือกตั้งทำหน้าที่

สุภาภรณ์ มาลัยลอย

26 ก.พ. 2562 เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ตัวแทนเครือข่าย People Go Network นำโดย สุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสื่อเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยุติการพิจารณากฎหมายทุกฉบับ ซึ่งมีผู้บุคคลและองค์กรร่วมลงนามในหนังสือฉบับดังกล่าวทั้งสิ้น 280 ชื่อ

สุภาภรณ์ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้ายื่นหนังสือว่า ที่ผ่านหลังจากมีการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน แทนที่ สนช. จะยุติบทบาทการทำหน้าที่ในการพิจารณากฎหมาย เพื่อรอให้มีการพิจารณากฎหมายโดยผู้แทนของประชาชนซึ่งมีความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง กลับพบว่ามีการเร่งรัดฉบับพิจารณากฎหมายหลายฉบับ โดยเป็นกระบวนการที่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน แม้จะมีการอ้างว่ามีการเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์เท่านั้น อีกทั้งร่างกฎหมายหลายฉบับซึ่งภาคประชาชนออกมาแสดงจุดยืนคัดค้านอย่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น ก็ได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจาก สนช. ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากภาคประชาชน

สุภาภรณ์ ระบุด้วยว่า ร่างกฎหมายที่ยังค้างอยู่ในกระบวนการพิจารณาของ สนช. หลายฉบับเป็นร่างกฎหมายที่ภาคประชาชนไม่เห็นด้วย เช่น ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ,ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ และ ร่าง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ร่างกฎหมายที่ยังมีความเห็นขัดเเย้งเหล่านั้นควรเป็นหน้าที่การพิจารณาโดยตัวแทนที่มาจากประชาชน และมีการกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากประชาชน ขณะที่กฎหมายที่มีการประกาศใช้ไปแล้วหลายฉบับ ซึ่งเป็นการสร้างปัญหาให้กับประชาชน ก็จะต้องถูกทบทวน ยกเลิก หรือแก้ไขต่อไป

เนื้อความในหนังสือตอนหนึ่งระบุ ด้วยว่า สนช. ต้องตระหนักว่าตนเองไม่มีความชอบธรรมใดๆ ทั้งในแง่ที่มา กฎหมายที่เขียนขึ้น และการจะทำงานจนถึงวินาทีสุดท้าย เมื่อมีการประกาศชัดเจนแล้วว่าจะมีการเลือกตั้ง จึงขอเรียกร้องให้ สนช. ยุติการพิจารณาร่างกฎหมายทุกฉบับในขณะนี้

เมื่อ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา  24 ก.พ.ที่ผ่านมา คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ได้ร่วมกับองค์กรเครือข่ายและประชาชน จำนวน 162 องค์กร กับ 370 บุคคล เข้าชื่อร่วมกันทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ สนช. ยุติบทบาทการพิจารณากฎหมายทุกฉบับทันที และนัดหมายกันแต่งชุดดำขอเข้าพบประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ เวลา 9.00 น. ที่รัฐสภา

เวลาของเธอหมดแล้ว 162 องค์กรภาค ปชช. จี้ สนช. หยุดพิจารณา กม.ทุกฉบับทันที นัดแต่งดำที่สภา 27 ก.พ.นี้ 

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชน People Go Network

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

เรื่อง  ขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติยุติการพิจารณาร่างกฎหมายทุกฉบับ

เรียน  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกท่าน

เป็นเวลาเกือบ 5 ปีแล้วนับตั้งแต่การทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะองค์กรนิติบัญญัติ พิจารณาออกกฎหมายแทนสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และวุฒิสภา (ส.ว.) จากข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 องค์ประกอบสมาชิก สนช. ที่มาจาก “การแต่งตั้งของ คสช.” จำนวนสมาชิกทั้งหมด 250 คน เป็นทหารจำนวนมากถึง 58% (145 คน) รองลงมาเป็นข้าราชการ 26% (66 คน) ภาคธุรกิจ 8% (19 คน) ตำรวจ 5% (12 คน) และที่เหลือเพียง 3% (8 คน) เป็นนักวิชาการหรือภาคประชาสังคม หากรวมสมาชิกที่เคยเป็นข้าราชการ หรือทำงานในหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจทุกประเภทจะมีจำนวนถึง 89% (223 คน) ของสมาชิกทั้งหมด จนสามารถเรียกได้ว่าเป็น “สภาทหารและข้าราชการ”

ที่ผ่านมามีร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ทั้งสิ้น 509 ฉบับ โดยผ่านความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้วทั้งสิ้น 412 ฉบับ เฉลี่ยแล้วการพิจารณากฎหมายของ สนช. ตกปีละเกือบร้อยฉบับ เฉพาะในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2561 (วันที่ 25-28 ธันวาคม 2561) มีการผลักดันวาระการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายมากถึง 67 ฉบับ โดย สนช. มีการพิจารณาลงมติร่างกฎหมายอย่างน้อย 47 ฉบับ และในช่วงหนึ่งเดือนระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 18 กุมภาพันธ์ 2562 สนช. ลงมติเห็นชอบผ่านกฎหมายเพื่อประกาศใช้บังคับจำนวนทั้งสิ้น 66 ฉบับ การพิจารณากฎหมายที่รวดเร็วและเร่งรีบเช่นนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อเทียบกับกระบวนการนิติบัญญัติในสภาวะปกติ 

ทั้งที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 77 กำหนดว่าก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน แต่ปรากฏว่าหน่วยงานรัฐ และ สนช. กลับเร่งดำเนินการนำร่างกฎหมายเปิดรับฟังความคิดเห็นเพียงเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยไม่สนใจว่าจะเป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงหรือไม่ ไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นก่อนการยกร่างกฎหมาย รัฐเป็นผู้ร่างกฎหมายอยู่ฝ่ายเดียวและนำมารับฟังความคิดเห็นเมื่อร่างกฎหมายทั้งฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้วด้วยระยะเวลารับฟังความคิดเห็นที่สั้น ช่องทางการแสดงความคิดเห็นที่จำกัดและเข้าถึงได้ยาก ตลอดจนไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็นในด้านต่างๆ เช่น สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาของกฎหมายต่างๆ หลักการอันเป็นสาระสำคัญของกฎหมายที่จะตราขึ้น ความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่อแก้ปัญหานั้น ประเด็นที่จะรับฟังความคิดเห็นหรือร่างพระราชบัญญัติที่จะรับฟังความคิดเห็น ทำให้ประชาชนไม่อาจมีส่วนร่วมรับรู้ ทำความเข้าใจ และแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ทั้งที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้กับทุกคนและมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นกระบวนการร่างกฎหมายและการพิจารณากฎหมายของ สนช. จึงสะท้อนถึงความไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย และไม่เป็นไปตามหลักการเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 77

และแม้จะเหลือเวลาอีกเพียงหนึ่งเดือนก่อนถึงวันเลือกตั้ง แต่ สนช.กลับยังคงเดินหน้าพิจารณาออกกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยประกาศว่าจะหยุดปฏิบัติหน้าที่ต่อเมื่อเข้าช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งตลอดระยะเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า “เรากำลังอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ แต่ถูกทำให้ปกติ” การพิจารณากฎหมายขององค์กรนิติบัญญัติอย่าง สนช. ที่เต็มไปด้วยตัวแทนกองทัพและระบบราชการ จึงเป็นไปเพื่อขยายอำนาจรัฐ มีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อกับธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ลดทอนอำนาจและจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน เช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะฯ พ.ร.บ. โรงงานฯ ร่าง พ.ร.บ. ข้าว ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ และ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การพิจารณากฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างกว้างขวางภายใต้สภาวะการปกครองที่ไม่ปกติและประชาชนถูกปิดกั้นการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นจึงเป็นกระบวนการนิติบัญญัติที่ไร้ซึ่งความชอบธรรม โดยเฉพาะในห้วงเวลานี้ที่สังคมไทยกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง

เครือข่ายภาคประชาชนในนาม People Go Network ประชาชน นักวิชาการ ดังมีรายชื่อแนบท้าย เห็นว่า สนช. ต้องตระหนักว่าตนเองไม่มีความชอบธรรมใดๆ ทั้งในแง่ที่มา กฎหมายที่เขียนขึ้น
และการจะทำงานจนถึงวินาทีสุดท้าย เมื่อมีการประกาศชัดเจนแล้วว่าจะมีการเลือกตั้ง จึงขอเรียกร้องให้ สนช. ยุติการพิจารณาร่างกฎหมายทุกฉบับในขณะนี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

เครือข่ายประชาชน People Go Network

ติดต่อประสานงาน: สุภาภรณ์ มาลัยลอย โทร.094-9695995

องค์กร กลุ่ม นักวิชาการและประชาชน ผู้ร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้อง

1. กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. กลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต

3. กลุ่มโกงกาง

4. กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา

5. กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

6. กลุ่มนิเวศน์วัฒนธรรมศึกษา

7. กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก

8. กลุ่มรักษ์เชียงของ

9. กลุ่มรักษ์น้ำอูน

10. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

11. ขบวนการอีสานใหม่ New Esaan Movement

12. คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.)

13. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

14. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดฉะเชิงเทรา

15. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้

16. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

17. เครือข่ายชาวสวนมะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

18. เครือข่ายติดตามผลกระทบโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน (คตฟ.)

19. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้

20. เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก

21. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย

22. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ

23. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย

24. เครือข่ายองค์กรชุมชนรักษ์เขาบรรทัด

25. เครือข่าย We Fair

26. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่

27. โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธิคนจน

28. โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนสังคม มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

29. โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

30. มูลนิธิเข้าถึงเอดส์

31. มูลนิธิชีววิถี

32. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ

33. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

34. มูลนิธิบูรณะนิเวศ

35. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

36. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

37. มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

38. มูลนิธิโลกสีเขียว

39. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

40. มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)

41. ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน

42. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสาคร

43. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง

44. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดกาฬสินธุ์ (ขบวนเครือข่ายผู้หญิงไทย)

45. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น

46. ศูนย์เพื่อผู้บริโภคจังหวัดสุพรรณบุรี

47. สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

48. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย

49. สมัชชาคนจน

50. สมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคตะวันออก

51. สมาคมชีวิตดี

52. สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก

53. สมาคมผู้บริโภคสุราษฎร์ธานี

54. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

55. สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม

56. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

57. สมาคมวิถีชนบท

58. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม

59. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

60. ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

61. รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์   คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

62. ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ       คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

63. อ.เคท ครั้งพิบูลย์           มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

64. อ.ชนะชัย บุญเพิ่ม         สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

65. ดร.ชยันต์  วรรธนะภูติ       คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

66. ดร.ชลัท ศานติวรางคณา     มหาวิทยาลัยมหิดล

67. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ     มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

68. ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

69. อ.เดชรัต สุขกำเนิด           คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

70. อ.ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี           มหาวิทยาลัยนครพนม

71. ผศ.ดร.ธนพล  เพ็ญรัตน์      คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

72. อ.ธนศักดิ์ โพธิ์ศรีคุณ         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

73. ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

74. อ.ธวัช มณีผ่อง                คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

75. อ.ธีระพงษ์ ทศวัฒน์           คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

76. อ.ธีระพล อันมัย               คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

77. อ.ธีรวัฒน์  ขวัญใจ            คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

78. รศ.ดร. นงเยาว์ เนาวรัตน์    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

79. อ.นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ     คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

80. อ.นิจนิรันดร์  อวะภาค        คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

81. ดร.นัทมน  คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

82. อ.นาตยา อยู่คง               มหาวิทยาลัยศิลปากร

83. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร     มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

84. ผศ.ดร.บัณฑิต จันทรโรจนกิจ   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

85. ดร.ปวลักขิ์ สุรัสวดี              มหาวิทยาลัยมหิดล

86. รศ.ดร.ประภาส  ปิ่นตบแต่ง    คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

87. อ.ปิยะนุช สิงแก้ว               คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

88. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

89. ผศ.ดร.พฤกษ์ เถาถวิล       คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

90. อ.พัน พงษ์ผล                 คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

91. ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

92. ดร.วรรณภา ลีระศิริ           มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

93. ดร. วัชรฤทัย บุญธินันท์      สถาบันสิทธิและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

94. ผศ.ดร.วิบูลย์. วัฒนนามกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

95. อ.วีรบูรณ์  วิสารทสกุล       วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

96. อ.สงกรานต์  ป้องบุญจันทร์  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

97. อ.สุทธิชัย  งามชื่นสุวรรณ    คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

98. นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล  ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

99. อ.สมชาย  ปรีชาศิลปะกุล    ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

100. อ.สรพจน์ เสวนคุณากร     คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

101. ดร.สมนึก  จงมีวศิน         วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร

102. ผศ.ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์    คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

103. ผศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

104. อ.เสาวณีย์  แก้วจุลกาญจน์   คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

105. ผศ.ดร.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์     คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

106. อ.เสนาะ เจริญพร           คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

107. ดร.สุรสม กฤษณะจูฑะ      คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

108. อ.อชิชญา อ๊อตวงษ์                    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

109. รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

110. อ.อริศรา  เหล็กคำ          สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

111. อ.ดร.อันธิฌา แสงชัย        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

112. ดร.อาภา หวังเกียรติ        มหาวิทยาลัยรังสิต

113. ฉวีวรรณ  มีเคลือบ          นิติกร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

114. ทิชา ณ นคร                 ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก กรมพินิจฯ กระทรวงยุติธรรม

115. ปราณรลินทร์  รัตนะ        นักวิชาการพัสดุ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

116. รศ.ฉันท์หทัย อาจอ่ำ        ข้าราชการบำนาญ/Adjunct professor  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

117. รศ.ดร.เรณู  เวชรัชพิมล    ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

118. ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล    เลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะ

119. สมพร  เพ็งค่ำ                นักวิชาการอิสระด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

120. สฤณี  อาชวานันทกุล       นักวิชาการอิสระ

121. ธรธรร  การมั่งมี             นักกฎหมาย

122. พรเพ็ญ  คงขจรเกียรติ     นักกฎหมาย

123. ภัทรานิษฐ์  เยาดำ          นักกฎหมาย

124. มนทนา  ดวงประภา        นักกฎหมาย

125. ศุภมาศ  กัญญาภัคโภคิน   นักกฎหมาย

126. อัมรินทร์  สายจันทร์        นักกฎหมาย

127. กฤษดา  ขุนณรงค์           ทนายความ

128. คอรีเยาะ  มานุแช           ทนายความ

129. คุ้มเกล้า  ส่งสมบูรณ์        ทนายความ

130. จันทร์จิรา  จันทร์แผ้ว       ทนายความ

131. ชำนัญ  ศิริรักษ์              ทนายความ

132. ทิตศาสตร์  สุดแสน         ทนายความ

133. ธีรพันธุ์  พันธุ์คีรี             ทนายความ

134. นฤมล  กองแก้ว             ทนายความ

135. บรรลูน  รื่นรมย์              ทนายความ

136. ผรัณดา  ปานแก้ว           ทนายความ

137. พนม  บุตะเขียว              ทนายความ

138. พูนสุข  พูนสุขเจริญ          ทนายความ

139. เลาฟั้ง  บัณฑิตเทิดสกุล     ทนายความ

140. สุมิตรชัย  หัตถสาร           ทนายความ

141. ส.รัตนมณี  พลกล้า          ทนายความ

142. วีรวัฒน์  อบโอ                ทนายความ

143. ศศินันท์  ธรรมนิฐินันท์       ทนายความ

144. อติวัณณ์  จันทร์ช่วย         ทนายความ

145. อธิวัฒน์  เส้งคุ่ย              ทนายความ

146. อัลดุลเลาะห์ หะยีอาบู       ทนายความ

147. กชกร ความเจริญ

148. กรรณิกา  ควรขจร

149. กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า

150. กิตติกาญจน์ หาญกุล

151. กฤติกา  เลิศสวัสดิ์

152. กฤษกร  ศิลารักษ์

153. กุศล พยัคฆ์สัก 

154. รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล

155. เกรียงศักดิ์  ธีระโกวิทขจร

156. คณิน ฉินเฉิดฉาย           

157. งามศุกร์ รัตนเสถียร

158. จตุพล จางบัว

159. จักรินทร์ ศิริมงคล

160. จารุณี  ศิริพันธ์

161. จิตติมา ภาณุเตชะ

162. ฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์

163. เฉลิมชัย ทองสุข

164. เฉ่ะชะ ขยันกิจมงคล

165. ชนาง  อำภารักษ์

166. ชัชวาล พุทธวงษ์

167. รศ.ชาญวิทย์ สายหยุดทอง

168. ชาติชาย กุศลมณีเลิศ

169. เชน ชูน้อย

170. ฐิตินบ โกมลนิมิ

171. ญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล

172. ณัฏฐ์ ขยัน

173. ณัฐนิชา จันทิพย์

174. ณัฐวุฒิ กรมภักดี

175. ดาริกา บำรุงโชค

176. เดชอุดม ขุนนะสิทธิ์

177. เดชา  คำเบ้าเมือง

178. ทวีวัฒน์  สมประเสริฐศรี

179. ทิวา  แตงอ่อน

180. ธนธรณ์ เรืองทัน

181. ธนาวัฒน์ รายะนาคร

182. ธรรมนิจ ศุภกิจเจริญ

183. ธรรมวิทย์ ศิริรัชนีกร

184. ธารินี โอฬารธนกิจ

185. ธิติ มีแต้ม

186. ธีรดลย์  ศรีชาติ

187. ธีระชัย  ศาลเจริญกิจถาวร

188. ธีระพงษ์ สีทาโส

189. นนทรี เสวลาภี

190. นพรัตน์ ละมุล

191. นที มูลแก้ว        

192. นราธิป ใจเด็จ

193. นลธวัช มะชัย

194. นิติรัตน์  ทรัพย์สมบูรณ์

195. นิพิฐพนธ์  คำยศ

196. นิมิตร์  เทียนอุดม

197. นริศรา พิพิธธำรงทรัพย์

198. นริศรา สายสงวนสัตย์

199. บดินทร์  สายแสง

200. บุบผาทิพย์  แช่มนิล

201. ปองจิต สรรพคุณ

202. ประกายดาว คันทะวงศ์

203. ปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์

204. ปิยนุช โคตรสาร

205. ผกามาส คำฉ่ำ

206. พงศธร  กาพมณีย์

207. พจมาลย์ วงษ์พันธุ์

208. พรชัย  ทองมี

209. พฤหัส พหลกุลบุตร

210. พารวย  อภิรักษ์วนาลี

211. พาฝัน ศุภวานิช

212. พัชรินทร์ บุหงาพนาสณฑ์

213. พัชรี ช้างเผือก

214. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์

215. พิศอำไพ สมความคิด      

216. เพชรรัตน์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล

217. เพ็ญโฉม  แซ่ตั้ง

218. ภัควดี วีระภาสพงษ์

219. ภัทรวิทย์ สว่างศรี

220. ภัทรอนงค์ สิรีพิพัฒน์

221. ภนิธา โตปฐมวงศ์

222. ภาสกร อินทุมาร

223. ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย

224. มงคล ด้วงเขียว

225. มนฤดี พงศ์วารีรักษ์

226. เมติมา ประวิทย์

227. เมธี สิงห์สู่ถ้ำ

228. ยุทธนา ลุนสำโรง

229. รจเรข วัฒนพาณิชย์

230. รักชาติ สุวรรณ์

231. รัชนี วิศิษฎ์วโรดม

232. รัตติกร วุฒิกร

233. ลาวรรณ วิชัยเลิศ

234. วรวัส สบายใจ

235. วรสถิตย์ บัวแดง

236. ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท

237. วัชรพล เชิดศรี

238. วัชรพล นาคเกษม

239. วารุณี  ขันตรี

240. วิชัย จันทวาโร

241. วิมล โคตรทุมมี 

242. วิรดา แซ่ลิ่ม 

243. วีรภัทร เหลาเกิ้มหุ่ง

244. วีระ อยู่รัมย์

245. วีรวรรณ กังวานนวกุล

246. ศักดิ์สินี เอมะศิริ

247. ศิริพร ฉายเพ็ชร

248. ศิระ จันทร์เจือมาศ

249. ศิราณี  ศรีหาภาค

250. ศุภกิจ  นันทะวรการ

251. ศุภวิชช์ สงวนคัมธรณ์

252. สดใส  สร่างโศรก

253. ดร.สรณรัชฎ์  กาญจนะวณิชย์

254. สรวิศ เหลาเกิ้มหุ่ง

255. สรศักดิ์ เสนาะพรไพร

256. สหชาติ วงษ์กะวัน

257. สันติ โชคชัยชำนาญกิจ

258. สุขศรี ชิติพัทธ์

259. ผศ. ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์

260. สุพจน์  ศรีพลเมือง

261. สุภาภรณ์  มาลัยลอย

262. สุภาวดี  เพชรรัตน์

263. สุรารักษ์ ใจวุฒิ

264. สุวิทย์  กุหลาบวงษ์

265. แสงศิริ  ตรีมรรคา

266. โสภิดา วีรกุลเทวัญ  

267. เหมือนฝัน คงช่วย

268. อจิรวดี  เหลาอ่อน

269. อธิคม คุณาวุฒิ

270. อธินันท์ อารีรัตนะกูล

271. อนุสรณ์ หนองบัว

272. อภิสิทธิ์  ทรัพย์นภาพันธ์

273. อัฉรา แก้วมาศ

274. อัญชนา สุวรรณานนท์

275. อัมพร บุญตัน 

276. อารีย์ อาภรณ์

277. อารียา  ติวะสุระเดช

278. อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล

279. อุบลวรรณ ศรีสร้อย

280. เอกชัย  อิสระทะ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท