Skip to main content
sharethis

หลังหลายพรรคการเมืองเปิดนโยบายขึ้นค่าแรง จนเกิดกระแสต่อต้านและสร้างว่าน่ากลัวไปถึงขั้นวิกฤติ ประชาไทชวนอ่านงานวิจัยของ ปกป้อง จันวิทย์ และ พรเทพ เบญญาอภิกุล ตั้งแต่ปี 56 ที่ศึกษานโยบายค่าแรง 300 บาท ของเพื่อไทย ชี้ขึ้นค่าแรง 10% ราคาสินค้ารวมขึ้น 0.82% พร้อมข้อเสนอ ค่าจ้างเพื่อชีวิต ที่ 588 บาท หากต้องการระดับอัตราค่าจ้างที่ทำให้แรงงานหัวหน้าครอบครัวคู่สมรส และบุตร 2 คน ใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจในตัวเอง

แฟ้มภาพ

20 มี.ค.2562 ภายหลังจากที่พรรคพลังประชารัฐเปิดนโยบายค่าแรง โดยเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาท หรือพรรคอื่นๆ ที่มีนโยบายลักษณะนี้ เช่น พรรคเพื่อไทย เสนอ 400 บาท พรรคประชาธิปัตย์เสนอประกันรายได้ของแรงงานขั้นต่ำ พรรคสามัญชน เสนอ 500 บาทต่อวัน เป็นต้น สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาและความเป็นไปได้ โดยเฉพาะ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจว่า "การประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 300 เป็น 425 บาท ถ้าทำอย่างนั้น ท่านเตรียมทานก๋วยเตี๋ยวชามละ 100 บาท ได้เลยเพราะจะเกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรง แล้วเราจะเหมือน เวเนซุเอล่า อย่าทำเลย" 

ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นนโยบายทางการเมือง เพราะเมื่อเลือกตั้งปี 54 พรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อัตราเดียวทั่วประเทศ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อระบบการจ้างงานในประเทศนี้อย่างมาก โดยในครั้งนั้นก็มีการคัดค้านและโจมตีว่าจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีปัญหา 

อย่างไรก็ตาม ปกป้อง จันวิทย์ และ พรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม เมื่อปี 2556 ซึ่ง อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล นำมาเผยแพร่อีกครั้งท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 

งานวิจัยดังกล่าว ศึกษาก่อนและหลังค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบต้นทุนแรงงานขั้นต่ำ "ไม่ได้สูงขึ้นมากดังที่หลายฝ่ายหวาดเกรงกัน" การขึ้นค่าจ้าง 35-40% ไม่ได้ทำให้สัดส่วนต้นทุนแรงงานขั้นต่ำต่อผลผลิตขึ้น 35-40% ตามไปด้วย แต่เพิ่ม 5-28% ตามสาขา โดยภาคการผลิตขึ้น 12%

ภาพตารางจากงานวิจัยของ ปกป้อง จันวิทย์ และ พรเทพ เบญญาอภิกุล

งานวิจัยดังกล่าว ปกป้อง และ พรเทพ ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติศึกษาผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกับราคาสินค้า พบกรณีขึ้นค่าแรง 10% จะทำให้ราคาสินค้ารวมทุกประเภทขึ้น 0.82% (ดูตารางด้านล่าง)

ตารางจากงานวิจัยของ ปกป้อง จันวิทย์ และ พรเทพ เบญญาอภิกุล

ค่าจ้างเพื่อชีวิต หรือ living wage

รายงานวิจัยดังกล่าว ยังเสนอประเด็นค่าจ้างเพื่อชีวิตด้วย โดยระบุว่า หากโจทยข์องการปฏิรูประบบอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำอยู่ที่การเพิ่มความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้าในตลาดแรงงาน แนวคิดว่าด้วยอตัราค่าจา้งขั้นต่ำควรปรับจากอัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับให้แรงงานไร้ฝีมือ (หรือแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือ) หนึ่งคนสามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามอัตภาพ ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามอนุสัญญาฉบับที่ 131 ขององคก์รแรงงานระหว่างประเทศ มาเป็นอัตราค่าจ้างเพื่อชีวิต (living wage) หรือระดับค่าจา้งที่ทำให้แรงงานสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์มีระดับมาตรฐานการครองชีพที่อยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ สามารถธำรงความเคารพนับถือในตัวเองอีกทั้งเป็นระดับค่าจ้างที่ทำให้แรงงานมีหนทางและเวลาว่างเพียงพอที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งของสังคม

หากใช้เกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยซึ่งคำนวนไว้เมื่อปี 2556 นี้ ระบุว่า ระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมที่ใกล้เคียงกับหลักเกณฑ์ของค่าจ้างเพื่อชีวิต ภายใต้โครงสร้างครัวเรือนต่างๆ คือ (1) ระดับ 378 บาท หากต้องการระดับอัตราค่าจ้างที่ทำให้แรงงานหวัหนา้ครอบครัวและคู่สมรสใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจในตัวเอง (2) ระดับ 483 บาท หากต้องการระดับอัตราค่าจ้างที่ทำให้แรงงานหัวหน้าครอบครัวคู่สมรส และบุตร 1 คน ใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจในตัวเอง และ(3) ระดับ 588 บาท หากต้องการระดับอัตราค่าจ้างที่ทำให้แรงงานหัวหน้าครอบครัวคู่สมรส และบุตร 2 คน ใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจในตัวเอง

 

งานวิจัย: อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม

ผู้วิจัย: ปกป้อง จันวิทย์  พรเทพ เบญญาอภิกุล

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แหล่งทุน: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

ตีพิมพ์: มกราคม 2556 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://pokpong.org/academic-work/thai-minimum-wage/)

Download (PDF, 1.72MB)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net