69 นักวิชาการจี้กองทัพหยุดแทรกแซงเลือกตั้ง นักกฎหมายสิทธิฯร้อง คสช.ยุติดำเนินคดีฝ่ายตรงข้าม

69 นักวิชาการ ร้องให้ทุกฝ่ายรวมทั้งกองทัพ เคารพกติกาของระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมไทย หยุดการแทรกแซงการเลือกตั้งและการคุกคามพรรคการเมือง ขณะที่ องค์กร-นักกฎหมายสิทธิฯ ร้อง คสช.ยุติการดำเนินคดีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

5 เม.ย.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่' เผยแพร่แถลงการณ์ 69 นักวิชาการ เรื่อง การแทรกแซงการเลือกตั้งและการคุกคามพรรคการเมือง คือการบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องให้ทุกฝ่ายรวมทั้งกองทัพ เคารพกติกาของระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมไทย

แถลงการณ์ระบุว่า หลังจากการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม คนไทยและประชาคมโลกย่อมคาดหมายว่าทุกฝ่ายในสังคมไทย รวมทั้งกองทัพจะร่วมมือกันในการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อเป็นกลไกในการปกครองประเทศตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย แต่กลับปรากฏว่าได้เกิดกระแสกดดันต่อพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 3 ในการเลือกตั้ง โดยนำเอาหน้าที่ในการปกป้องสถาบันหลักของชาติมาเป็นข้ออ้าง และสร้างความรู้สึกโกรธเคืองและเกลียดชังต่อพรรคการเมืองดังกล่าว ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 

การสร้างความเกลียดชังที่คนไทยกระทำต่อกัน สามารถที่จะนำไปสู่การนองเลือดและการสูญเสียทางจิตใจอย่างใหญ่หลวง และยังทำให้สังคมไทยถูกประณามจากสังคมโลก กลายเป็นอุปสรรคของการลงทุนและการท่องเที่ยว จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศต้องทรุดโทรมลงจนยากจะเยียวยาด้วย

ทุกฝ่ายทุกสถาบันในสังคมไทยจึงควรปล่อยให้การจัดตั้งรัฐบาลและรัฐสภาดำเนินไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยโดยไม่เข้าไปแทรกแซง และไม่ใช้วิธีการโจมตีคู่แข่งทางการเมือง แต่ควรแข่งขันกันในเชิงนโยบายและการเสนอโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

แท้ที่จริงแล้วในระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองทุกคนและพรรคการเมืองทุกพรรค มีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการเสนอนโยบายให้ประชาชนพิจารณา ซึ่งเป็นเรื่องปรกติที่แต่ละฝ่ายจะมีความเห็นแตกต่างกัน และบทบาทในอดีตของนักการเมืองที่นำเสนอความรู้ ความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่างๆ ในฐานะที่เป็นนักวิชาการ ก็ไม่ควรถูกนำมาเป็นข้อโจมตีในปัจจุบัน เพราะเป็นการทำหน้าที่ของนักวิชาการที่ยึดมั่นในหลักการของเสรีภาพทางวิชาการโดยมิได้ละเมิดกฎหมายใดๆ 

นักวิชาการที่มีรายนามข้างล่างนี้ จึงใคร่ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายรวมทั้งกองทัพ เคารพกติกาของระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมไทย

1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3. กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. กังวาฬ ฟองแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
6. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. เกษม จันทร์ดำ นักวิชาการอิสระ
8. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. โกสุมภ์ สายจันทร์ นักวิชาการอิสระ
10. ขจิตา ศรีพุ่ม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
11. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษาปริญญาเอก 
12. ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. ชยันต์ วรรธนภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. ชัยณรงค์ เครือนวน ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
15. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
17. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
18. ดรุณี ไพศาลพาณิชกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. ดารุณี อยู่ยัง นักวิชาการอิสระ
20. ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
21. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
22. ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
23. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
25. นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27. นันท์ชญา มหาขันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
28. เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. ประภาส ปิ่นตกแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31. ปราการ กลิ่นฟุ้ง นักวิจัยอิสระ
32. ปวงชน อุนจะนำ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
33. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
34. ปิยชาติ สึงตี สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
35. พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36. พลอยศรี โปราณานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
37. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
38. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักวิชาการอิสระ
39. มนต์ชัย ผ่องศิริ นักวิจัยอิสระ
40. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
41. มานะ นาคำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
42. มาลี สิทธิเกรียงไกร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. รจเรข วัฒนพาณิชย์ นักวิชาการอิสระ
44. เรวัตร หินอ่อน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
45. วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
46. วรวิทย์ เจริญเลิศ นักวิชาการอิสระ
47. วราภรณ์ เรืองศรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
48. วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
49. วีระพงศ์ ยศบุญเรือง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
50. ศราวุฒิ วิสาพรม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
51. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
52. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
53. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
54. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
55. สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
56. สิริพร สมบูรณ์บูรณะ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
57. สิรีธร ถาวรวงศา นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
58. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
59. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
61. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
62. อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
63. อลงกรณ์ อรรคแสง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
64. อัจฉรียา สายศิลป์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
65. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
66. เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
67. โอฬาร อ่องฬะ นิสิตปริญญาเอก คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
68. Craig Reynolds The Australian National University 
69. Robert Dayley The College of Idaho

องค์กร-นักกฎหมายสิทธิฯ ร้อง คสช.ยุติการดำเนินคดีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์ขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุติการดำเนินคดีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

แถลงการณ์ระบุว่า จากข่าวที่พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ออกหมายเรียก ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีอาญาที่ 691/2558 เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยฝ่ายกฎหมายได้แจ้งความกล่าวหาว่า ธนาธร ร่วมกันทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดอันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม อันเป็นความผิดตามมาตรา 116 และ 189 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และสั่งให้ ธนาธรไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาดังกล่าวในวันที่ 6 เมษายน 2562 ทั้งนี้หากมีการดำเนินคดี ธนาธร จะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร

นอกจากนั้นยังปรากฎเป็นข่าวว่า คสช. ยังได้มอบอำนาจให้ฝ่ายกฎหมาย แจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (กก.3 บก.ปอท) เพื่อเอาผิดกับเจ้าของเว็ปไซต์ http://futureforwardparty.org/ และหรือผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด โดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกหมายเรียก ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ให้ไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนในฐานะพยานเพราะเหตุ “ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ยุบพรรคไทยรักษาชาติและได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่เว็ปไซต์ http://futureforwardparty.org/”

ในทางกฎหมายข้อหาที่ธนาธร ถูกกล่าวหา ซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่หน้า สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558 ที่ไปให้กำลังใจกลุ่มนักศึกษา NDM[1]เป็นเสรีภาพของประชาชนที่สามารถทำได้ และเหตุการณ์ในวันนั้นเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆกับประชาชนที่ไปรวมตัวกันที่หน้า สน.ปทุมวัน ดังนั้น จึงไม่มีพฤติการณ์ใดที่จะเป็นความผิดตาม ม.116 ได้ ส่วนที่หลังจากที่เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวนักศึกษาในวันนั้นแล้ว ธนาธรให้นายรังสิมันต์ขึ้นรถไปก็ไม่ได้เป็นการให้ที่พักพิงหรือช่วยเหลือผู้ต้องหาให้หลบหนีแต่อย่างใด

ทั้งนี้ การดำเนินคดีกับ  ธนาธร และ ปิยบุตร เกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลทั้งสองได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะตัวแทนของพรรคอนาคตใหม่ที่ได้แสดงจุดยืน

ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช. และได้ประกาศนโยบายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ให้เป็นประชาธิปไตย และปฏิรูปกองทัพ ซึ่งเป็นจุดยืนและนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก รวมทั้งกรณีที่หลังการเลือกตั้งบุคคลทั้งสองได้ตั้งข้อสงสัยต่อการทำงานของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) หลายประการ

และได้ประกาศว่าจะเดินหน้าตรวจสอบการทำงานของ กกต. โดยมีการสื่อสารทางออนไลน์และมีผู้ติดตาม และสนับสนุนเป็นจำนวนมากนั้น

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรที่รายชื่อด้านล่างนี้ มีความเห็นว่า

1. การประกาศจุดยืนทางการเมืองของ ธนาธร และ ปิยบุตร นั้นเป็นการดำเนินการโดยสงบ โดยมิได้ยุยงหรือสนับสนุนให้เกิดความรุนแรง จึงย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรม ในสังคมประชาธิปไตยที่พึงกระทำได้ ทั้งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 34 ที่กำหนดว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ข้อ 19 และกติการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อบทที่ 19 ที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม

ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและ คสช. ยอมรับและเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ การสื่อสาร และตรวจสอบรัฐบาลดังกล่าว

2. การที่ คชส. ได้แจ้งความดำเนินคดีต่อนายธนาธรจึงรุ่งเรืองกิจ และนายปิยบุตร แสงกนกกุล และบุคคลอื่นๆ อีกหลายกรณี โดยเฉพาะการที่หยิบยกกรณีเก่าที่เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (ปี 2558) มาดำเนินคดีหลังจากการเลือกตั้ง และตั้งข้อหาความผิดตามมาตรา 116 แห่งประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร ซึ่งทำให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ทหารและถูกพิจารณาคดีโดยศาลทหารตามประกาศและคำสั่ง คสช. ฉบับต่างๆ นั้น นอกจากอาจทำให้สังคมและนานาชาติเข้าใจไปได้ว่า คสช. กำลังใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยแล้ว อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่า คสช. กำลังใช้การดำเนินคดีเพื่อกลั่นแกล้ง ข่มขู่ คุกคาม (Judicial Harassment) ฝ่ายตรงข้ามหรือศัตรูทางการเมืองของตนด้วย

ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและ คสช. ยุติการดำเนินการดังกล่าว

3. พวกเราเข้าใจและเห็นใจในความอึดอัดของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมภายใต้การปกครองโดย คสช. โดยเฉพาะพนักงานสอบสวน

ดังนั้น จึงขอให้กำลังใจพนักงานสอบสวนให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ เป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจบงการของคนกลุ่มใด รวมทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและผู้บริหารบางคนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขอให้พนักงานสอบสอบใช้กฎหมายเพื่อผดุงความยุติธรรมและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของบุคคลกลุ่มใดที่มุ่งใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อร่วมกันฟื้นฟูกู้สถานะอันเสื่อมถอยของกระบวนการยุติธรรมกลับคืนมา

ด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แถลงมา ณ วันที่ 5 เมษายน 2562

กรุงเทพมหานคร

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

รัษฎา มนูรัษฎา               ทนายความ

สุรชัย ตรงงาม                ทนายความ

ณัฐาศิริ เบิร์กแมน            ทนายความ

ส.รัตนมณี พลกล้า           ทนายความ

ทิตศาสตร์ สุดแสน           ทนายความ

ศุภมาศ กัญญาภัคโภคิน    ทนายความ

วราภรณ์ อุทัยรังสี            ทนายความ

คอรีเยาะ มานุแช             ทนายความ

อิศสิยาภรณ์ อินทพันธุ์      นักกฎหมาย

ชฎาพร ชินบุตร               นักกฎหมาย

กามารียะห์ สาแล๊ะ           นักกฎหมาย

ภัทรานิษฐ์ เยาดำ              นักกฎหมาย

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์  นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กฤษกร ศิลารักษ์              ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง           นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ

กุลกานต์ จินตกานนท์      นักกิจกรรมประเด็นผู้ใช้สารเสพติดหญิงและผู้ถูกคุมขัง

ธนกฤต โต้งฟ้า                กลุ่มเยาวคลิตี้ล่าง

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ       นักสิทธิมนุษยชน

กิติศักดิ์ จันทร์ใหม่           ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ

ผศ.ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร

บดินทร์ สายแสง

ศรีสุดา ทรัพย์สิน

ณัฐธิดา ชูมาลัยวงค์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท