Skip to main content
sharethis

กลุ่มนักวิชาการจังหวัดสงขลา เผยผลสำรวจ ความคิดเห็นของนักศึกษา ป.ตรีในจังหวัด พบ  76.3% มองว่า กกต. ไม่โปร่งใส 67.4 ไม่ยอมรับต่อผลการเลือกตั้ง 70.1% หนุนพรรคส.ส.สูงสุด ตั้งรัฐบาล 88.1% คาดมีการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองอีก

12 เม.ย.2562 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก กลุ่มนักวิชาการจังหวัดสงขลา ซึ่งประกอบด้วย คัมภีร์ ทองพูน อับดุลเราะมัน มอลอ หมัดเฟาซี รูบามา เอกราช มะลิวรรณ์ เผยแพร่ผลการสำรวจของกลุ่ม เรื่อง ความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาต่อสถานการณ์ทางการเมือง ในประเด็นดังนี้

1. ท่านยอมรับผลการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 หรือไม่ ตอบ ความคิดเห็นของของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ร้อยละ 67.4 คิดเห็นว่าไม่ยอมรับต่อผลการเลือกตั้ง วันที่ 24 มี.ค. 2562 และร้อยละ 33.3 ยอมรับผลการเลือกตั้ง

2. ท่านคิดว่าการทำงานของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีความโปร่งใสหรือไม่ ตอบ ความคิดเห็นของของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ร้อยละ 76.3 คิดเห็นว่าไม่มีความโปร่งใสและร้อยละ 21.3 ไม่แน่ใจ ส่วนนักศึกษาที่เห็นว่ามีความโปร่งใสแน่นอน มีเพียงร้อยละ 4

3. พรรคใดควรได้จัดตั้งรัฐบาล ตอบ ความคิดเห็นของของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ร้อยละ 70.1 คิดเห็นว่าพรรคที่ได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. สูงสุด ควรได้เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล และร้อยละ 30.9 เห็นว่าพรรคที่ได้คะแนนรวมสูงสุด (Popular Vote) ควรได้จัดตั้งรัฐบาล

4. ท่านคิดว่า ส.ส. จะย้ายพรรคก่อนมีการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ (งูเห่าการเมือง) ตอบ ความคิดเห็นของของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ร้อยละ 77.4 คิดเห็นว่าจะมีงูเง่าการเมือง ย้ายพรรคก่อนการจัดตั้งรัฐบาล และร้อยละ 23.4 เห็นว่าไม่มีงูเง่าการเมืองย้ายพรรคก่อนจัดตั้งรัฐบาล

5. ท่านคิดว่าจะมีการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองอีกหรือไม่ ตอบ ความคิดเห็นของของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ร้อยละ 88.1 คิดเห็นว่าจะมีการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองอีก และร้อยละ 12.4 เห็นว่าไม่มีการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองอีก

สำหรับการสำรวจดังกล่าว เป็นผลมาจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงพลังของคนหนุ่มสาวทั่วประเทศที่ตระหนักเห็นถึงคุณค่าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 และผลการเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้กำลังรอการประกาศอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากการเลือกตั้ง และมีการตั้งคำถามมากมายในบทบาทการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกระบวนการการจัดการเลือกตั้ง ว่าเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ และยุติธรรมหรือไม่ จากประเด็นดังกล่าวนี้ จึงทำให้ กลุ่มนักวิชาการจังหวัดสงขลา ได้ตระหนักและกังวลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้ออกแบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาต่อสถานการณ์ทางการเมือง เพื่อรับฟังความคิดของนักศึกษาว่ามีความคิดเห็นอย่างไรและเพื่อเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้มีการแสดงออกทางการเมือง ผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นมิได้เจาะจงให้คุณค่าเชิงลบ หรือคุณค่าเชิงบวกแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่จะเป็นข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐได้ตระหนักถึงข้อกังวลที่ได้รับจากการสำรวจ และเห็นควรที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะมีแนวทางเพื่อหาทางออกให้กับประเทศร่วมกัน และประการที่สำคัญเพื่อจรรโลงและรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ของประเทศไทย

การจากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงขลาต่อสถานการณ์ทางการเมือง เมื่อวันที่ 28 มี.คม. – 3 เม.ย.2562 โดยสอบถามจากนักศึกษาในระดับปริญญาตรีในจังหวัดสงลา ด้วยแบบสอบสำรวจออนไลน์ จำนวน 1,263 ชุด สรุปได้นี้ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 805 คน คิดเป็นร้อยละ 63.7 และเพศชาย จำนวน 461 คน คิดเป็นร้อยละ 36.5 ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ ระหว่าง 19-21 ปี คิดเป็นร้อยละ 62.9 รองลงมา มีอายุระหว่าง 22-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 29 รองลงมา มีอายุ 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 6.7 และมีอายุ 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 2.4 ตามลำดับ ส่วนด้านการศึกษาของผู้ตอบแบบสำรวจกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 31.8 รองลงมา อยู่ระดับชั้นปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 24.5 อยู่ระดับชั้นปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 24.4 และมีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 19.9 ตามลำดับ โดยนักศึกษาส่วนใหญ่สังกัดมหาวิทยาลัยทักษิณ คิดเป็นร้อยละ 31.2 รองลงมา สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา คิดเป็นร้อยละ 30.6 สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คิดเป็นร้อยละ 18.6 สังกัดมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 11.2 และสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดเป็นร้อยละ 8.9

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net