Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการโต้แย้ง วิธีคิดที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือมีมุมมองเพียงด้านเดียวในทางวิชาการ ของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (ได้เขียน เชิงอรรถ หรือ อ้างอิง รวม 6 อ้างอิง ไว้ท้ายบทความนี้แล้ว)

หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี โดยชนะขาดลอย ในคะแนนอีเลคโตรอล โหวต แต่กลับแพ้ ป็อปปูล่าโหวต ฮิลลารี่ คลินตัน 3 ล้านเสียง

อ.สมศักดิ์ ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ควรยกเลิกระบบ อีเลคโตรอล โหวต และให้ใช้แต่ ป็อปปูล่าโหวต เพียงวิธีเดียว เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยในเรื่อง one man one vote [1] ที่ผู้เขียน เห็นว่า เป็นการเสนอมุมมองทางวิชาการเพียงด้านเดียว ของ อ.สมศักดิ์ เพราะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ ที่ใช้คะแนน อีเลคโตรอล โหวต เป็นตัวตัดสินว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐนั้น ...เป็นการประสมประสานกันระหว่าง หลัก one man one vote กับ หลักความเสมอภาคระหว่างมลรัฐเข้าด้วยกัน

เราจะเห็น หลักความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญสหรัฐ ที่กำหนดให้ ทุกๆ มลรัฐ จะมีสมาชิกสภาซีเนต (สมาชิกวุฒิสภา) มลรัฐละ 2 คนเท่าๆ กัน โดยไม่ใส่ใจว่า มลรัฐเหล่านั้นจะมีจำนวนประชากร (ของมลรัฐ) แตกต่างกัน มากน้อยเพียงใด

เช่น มลรัฐไวโอมิง ที่มีประชากร 6 แสนคนก็มี สมาชิกสภาซีเนต (หรือสมาชิกวุฒิสภา) ได้ 2 คน เท่าๆ กับ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่มีประชากร 38 ล้านคน

เป็นที่ทราบกันดีว่า การใช้หลักในเรื่อง one man one vote ในการเลือกตั้ง ส.ส. (แบบแบ่งเขต) จะมีการกำหนดว่า "ต้องมี "ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนเท่าใด ต่อ ส.ส. 1 คน โดยคิดจากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ หารด้วย จำนวน ส.ส.ทั้งประเทศ หากเขตใด (หรือมลรัฐใด) มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยกว่าเกณท์นี้ ก็ให้มี ส.ส. เพียง 1 คน (หรือ ปัดขึ้น)

ในทำนองเดียวกัน การเลือกตั้ง ส.ว. (แบบแบ่งเขต) ก็จะใช้หลักเดียวกันกับการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ตามหลักข้างต้น

แต่ถ้าการเลือกตั้ง ส.ว. จะใช้ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ใครจะได้เป็น ส.ว. ก็จะใช้วิธีไล่จากผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุด ลงมา จนกว่าจะได้ครบจำนวน ส.ว. ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ...ผู้อ่านที่คุ้นเคย กับการเลือกตั้ง ส.ว. และการได้มาซึ่ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ 2540 คงทราบดี

กลับมาที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งน่าแปลกใจที่ อ.สมศักดิ์ เสนอให้ยกเลิกระบบอีเลคโตรอล โหวต แต่กลับไม่เสนอให้ยกเลิก ระบบที่ Fix จำนวนสมาชิกสภาซีเนต (หรือ ส.ว.) ไปพร้อมๆ กัน ...ทั้งๆ ที่ การFixจำนวนสมาชิกสภาซีเนตของแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คนนั้น ขัดแย้งกับ หลัก one man one vote

กล่าวคือ อ.สมศักดิ์ เสนอให้ใช้ หลัก one man one vote (คือใช้แต่ ป็อปปูล่า โหวต) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ...แต่กลับไม่ยอมเสนอให้ใช้ หลัก one man one vote กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาซีเนต (แบบแบ่งเขต..ตามมลรัฐ) ของสหรัฐ มาพร้อมกันด้วย

การเสนอให้ใช้ หลัก one man one vote (คือใช้แต่ ป็อปปูล่า โหวต) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ...อ.สมศักดิ์. มีข้อโต้แย้งได้มากมายต่อผู้ที่สนับสนุนระบบ อีเลคโตรอล โหวต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ [2] [3] [4] [5] และ [6]

แต่การให้ยกเลิกหลักความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ อ.สมศักดิ์ อาจจะยกเหตุผลทางวิชาการมาโต้แย้งได้ยากสักหน่อย ว่า ..หลักความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ มานานกว่า 200 ปี ...มีจุดอ่อน หรือ ข้อเสียตรงไหน?

สรุปอีกครั้ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ให้ความสำคัญต่อคะแนน อีเลคโตรอล โหวต นั้น เป็นการผสมผสานกัน ระหว่าง หลัก one man one vote กับ หลัก ความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ 

กล่าวคือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เริ่มต้นด้วย หลัก one man one vote ที่ถือเอาเสียงข้างมากในของประชาชนแต่ละมลรัฐ มาทำให้ผู้ที่เป็น Electoral ของแต่ละมลรัฐ จำต้องโหวตเลือกประธานาธิบดี ตามเสียงข้างมากของประชาชนในมลรัฐของตน

ผู้มีสิทธิเป็น Electoralในแต่ละมลรัฐ ของสหรัฐ คือ

1. ส.ส.สหรัฐ (ของสภาล่าง House of Representation) ของแต่ละมลรัฐ ที่มาจากการเลือกตั้งตามหลัก one man one vote

2. ส.ว.สหรัฐ (ของสภา Senate) ของแต่ละมลรัฐ ที่มาจากการเลือกตั้งตามหลัก one man one vote ของประชาชนในแต่ละมลรัฐ ....และจะมีจำนวน ส.ว. มลรัฐละ 2 คน เท่าๆ กัน ทุกๆ มลรัฐ ตามหลัก ความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ

เมื่อพิจารณาจากผู้ที่เป็น Electoral จะเห็นว่า หลักความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ จะถูกสอดแทรกเข้ามาถ่วงดุล  (check and balance) หลัก one man one vote เฉพาะในส่วนที่ เป็น สมาชิกสภาซีเนต (ส.ว.) ของสหรัฐ ที่เป็น Electoral เท่านั้น

เมื่อ Electoral ออกเสียงเลือกประธานาธิบดีไปตามเสียงข้างมากของประชาชนในมลรัฐของตน กรณี ก็จะหันกลับมาใช้หลัก one man one vote อีกครั้ง แต่ one man one vote ในครั้งนี้ ไม่ใช่ one man one vote ของประชาชนทั้งประเทศ หากแต่เป็น one man one vote ของผู้ที่เป็น Electoral

จากวรรคข้างบนที่ติดกับวรรคนี้ จะเห็นว่า เป็นหลักการเดียวกันกับ การเลือกนายกรัฐมนตรี ในระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ที่ถือเอาเสียงข้างมากของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฏร มาเป็นเกณท์ตัดสินว่า ใครสมควรจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี (โดยที่เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏร์ ..อาจไม่ใช่เสียงข้างมากของประชาชนหรือ ป็อปปูล่า โหวต ก็ได้)

รัฐบาลไทยในอดีต ก็มีบางรัฐบาล ที่แม้จะมี เสียง ส.ส.ข้างมาก ในสภา แต่คะแนนเสียงของประชาชนทั้งประเทศ ที่ลงคะแนนเสียงให้ ส.ส.ฝ่ายร้ฐบาล (ทุกคนรวมกัน) ..กลับมีน้อยกว่าคะแนนเสียงของประชาชนทั้งประเทศ ที่ลงคะแนนเสียงให้กับ ส.ส.ฝ่ายค้าน (ทุกคนรวมกัน)

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ นายกรัฐมนตรีไทย และรัฐบาลไทย ที่มีเสียง ส.ส. ข้างมากในสภาผู้แทนฯ อาจมี ป็อบปูล่า โหวต (เสียงที่ประชาชนทั้งประเทศลงให้) น้อยกว่า ฝ่ายค้านที่เป็นเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนฯ ก็ได้ เช่นเดียวกับ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

ปรากฏการณ์ล่าสุดที่พรรคพลังประชารัฐ มีป็อปปูล่า โหวต มากกว่าพรรคเพื่อไทย แต่มีจำนวน "ว่าที่ ส.ส." น้อยกว่าพรรคเพื่อไทย ก็เป็นตัวอย่างให้เห็น

ในกรณีเช่นนี้ อาจเรียกได้ว่า นายกรัฐมนตรีไทย ชนะเสียง ส.ส. ในสภาผู้แทนฯ แต่แพ้ ป็อปปูล่า โหวต ของประชาชนทั้งประเทศ ...ที่คล้ายๆ กับ กรณีที่ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะ อีเลคโตรอล โหวต แต่แพ้ ป็อปปูล่า โหวต (ต่อ ฮิลลารี่ คลินตั้น)

จึงไม่แปลกที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ แม้ว่าจะแพ้ ป็อปปูล่า โหวต ต่อฮิลลารี่ คลินตั้น ราว 3 ล้านเสียง ก็ตาม

บทปิดท้าย ..ผู้เขียนไม่ได้ต่อต้าน ข้อเสนอของ อ.สมศักดิ์ แต่ผู้เขียนเห็นว่า การที่ อ.สมศักดิ์ เสนอให้ยกเลิกอีเลคโตรอล โหวต มาใช้แต่ป็อปปูล่า โหวต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐนั้น เป็นข้อเสนอที่ขาดความสมบูรณ์ ..ไม่รอบด้าน ..มีมุมมองเพียงมุมมองเดียว และไม่เป็นวิทยาศาสตร์

ผู้เขียนเคยลองคำนวนคร่าวๆ ว่า ถ้าใช้หลัก one man one vote กับจำนวน ส.ว. (หรือสมาชิกสภาซีเนต) ของแต่ละมลรัฐ ของสหรัฐ ...จะมี 30 มลรัฐที่มีประชากรน้อย ที่จะเหลือ ส.ว. มลรัฐละ 1 คน ..8 มลรัฐ จะมี ส.ว. 2 คนเช่นเดิม ..5 มลรัฐ จะมี ส.ว. 3 คน

ส่วน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่มีประชากร 38 ล้านคน จะมี ส.ว. 12-13 คน (จากเดิมที่มีเพียง 2 คน) และลดหลั่นลงไปใน มลรัฐเท็กซัล (25 ล้านคน) ..นิวยอร์ค (19 ล้านคน) ..ฟลอริดา (19ล้านคน) ..อิลลินอยส์ (13ล้านคน) ..เพนซิลวาเนีย (13 ล้านคน) ..โอไฮโอ (12ล้านคน)

ปัญหาอยู่ที่ว่า อ.สมศักดิ์ จะอ้างเหตุผลอะไร เพื่อไปลบล้าง หลักความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ (รัฐธรรมนูญสหรัฐ กำหนดหลักการนี้ ในรูปแบบที่ให้ทุกมลรัฐ มีสมาชิกสภาซีเนต ที่มาจากการเลือกตั้ง มลรัฐละ 2 คน เท่าๆ กัน)

หาก อ.สมศักดิ์ จะให้การเลือกประธานาธิบดีสหรัฐ ใช้แต่ ป็อปปูล่า โหวต เพียงวิธีเดียว ตามหลัก one man one vote .. ท่านต้องทำให้ จำนวนสมาชิกสภาซีเนตในแต่ละมลรัฐ ให้เป็นไปตามหลัก one man one vote ไปพร้อมกันด้วย เช่นเดียวกัน..

ข้อเสนอของ อ.สมศักดิ์ จึงจะสมบูรณ์ ไม่ครึ่งๆ กลางๆ หรือ มีเพียงมองมุมเดียว ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์

อีกทั้งผู้เขียนเห็นด้วยกับความเห็นของคุณดวงจำปา ที่สนับสนุนระบบอีเลคโตรอล โหวต ว่า “ ต้องไม่ลืมกฎเหล็กที่สำคัญคือ จะให้เสียงของประชาชนที่อยู่ในรัฐเล็ก มีสิทธิ์เสียงเท่ากับประชาชนในรัฐใหญ่ๆ ได้อย่างไร โดยไม่ถูก “ถล่ม” ด้วยคะแนนเสียงแบบ Popular Votes

และถ้า Candidates มาจากรัฐใหญ่ ที่มีประชากรหนาแน่น เขาหรือเธอ มีโอกาส “ลอยลำ” เข้ามาก่อนหน้าแล้วหรือไม่ เพราะมันมีแนวโน้มว่า ประชากรในรัฐของตนเอง จะ “ทุ่ม” คะแนนเสียงให้อย่างแน่นอนที่สุด “

.... อ.สมศักดิ์ โปรดคิดและนำเสนอ ให้ครบทั้งระบบ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ จะดีกว่า .... คุณดวงจำปาโต้แย้ง อ.สมศักดิ์ ในแง่ที่ได้กล่าวไปใน 2 วรรคก่อนที่ติดกับวรรคนี้ ... ส่วน ผู้เขียนขอโต้แย้ง อ.สมศักดิ์ ในแง่ที่ อ.สมศักดิ์ มองข้ามหลักความเสมอภาคระหว่างมลรัฐ ...เพื่อมาเสริมคุณดวงจำปา เพิ่มอีกทีหนึ่ง

 

อ้างอิง

[1] ความเห็น อ.สมศักดิ์ ชื่อคลิป เฉพาะกิจ: กรณีเลือกตั้งสหรัฐ กับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตาม url นี้  https://www.youtube.com/watch?v=UwN7bbWyYt0

[2] ความเห็น คุณดวงจำปา สเปนเซอร์ ไอเซนเบิร์ก ตาม url นี้ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1231506146892397&id=804632636246419&__xts__%5B0%5D=68.ARBQRUcfZWZ1ZFGurxmV5VTNA9tmTLvDbJS391uCDIWOu6innoOTtOp1UFMFvxaipYkq2iDtdQdQLyj5pFDHfSBzcZhAeFu1Pan0Gik_-5PfmdvZNAhUYYaoIQKry9Jy9nTKNMN4_Qbt-O4TyN1oVlV45360IhvlTAuLTs66Vyh0H-RaixrSQhljdq_V6IWKxDDt_D_mEqP2aWbQKF-lKUdRyzJILJuk3UCuPaBbaVEICI9ELmayUQpAfBUmyy6tH5i8NCiJYYp1rOUHUwMS4zNpK1a-5BxkT04Hzb9KNAWAbmL2_pQJVbSz4tx6K3gdaL7vfLMlMqPnjBaR8txhmA&__tn__=-R

[3] ความเห็น คุณดวงจำปา สเปนเซอร์ ไอเซนเบิร์ก ตาม url นี้ https://www.facebook.com/804632636246419/photos/pcb.1232653793444299/1232648146778197/?type=3&theater

[4] ความเห็น คุณดวงจำปา สเปนเซอร์ ไอเซนเบิร์ก ตาม url นี้ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1235093229867022&id=804632636246419&__xts__%5B0%5D=68.ARBTujm0j5i-dr7WQCvBVve9N7dq4pMTcLUzzDB_yh4_SQkSuDoBUkgaaGLYkHLaB3bEyfkKZEhxJ1-6ZmOho5EmwpIJd9g-7L5qhKnmDpGqZkmLicw69fVaVX2pQe_Qgux1FtClpC60PWd-M6QClxun_PLxmC4R-wJL8SO7aY1LCpet-2KvPvB8rNtUVUzPVbK-UDcfGDl9kFs6S-XFXvybP43CZAE_ZD0F6ohcTh0vI-RDnp-j79wDawd8si-NJiE1-mCdbquE8HdBgxI5gq9Mx_YV1JI8AzP2IMs3mSkvhblKWXc7nvJt1q9BPq5exsIVR-IDGQJnnlkoELiCAQ&__tn__=K-R

[5] ภาพความเห็น คุณดวงจำปา สเปนเซอร์ ไอเซนเบิร์ก ตาม [4] ที่ขอเน้น

[6] ภาพความเห็น อ.สมศักดิ์ ที่โต้แย้ง คุณดวงจำปา สเปนเซอร์ ไอเซนเบิร์ก (ขออภัย facebook ไม่ให้ url มา ขอเสนอเป็นภาพ แทน

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net