โปรดเกล้าพรฎ.เงินสวัสดิการการศึกษาของบุตรข้าราชการ

กรมบัญชีกลางเผย เป็นการปรับปรุงบทบัญญัติบางประการให้สอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น ไม่มีการปรับอัตราการเบิก

 

 

14 มิ.ย. 2562 เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2562 โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 (6) แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป

โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้บังคับใช้มาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องไม่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหลายฉบับ ท าให้ เกิดความไม่สะดวกในการใช้บังคับกฎหมาย สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตรให้เกิดความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(๑) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. ๒๕๒๓

(๒) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒

(๓) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓

(๔) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔

(๕) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘

(๖) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐

(๗) พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๔

มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า

(๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่าย งบบุคลากรของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ

(๒) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายและสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรไว้เป็นพิเศษ

(๓) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด

 

โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า ญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมีการส่งต่อข้อความทางแชทไลน์ ดังนี้

“บังคับใช้วันนี้แล้ว 13/6/62 เป็นต้นไป เบิกได้ตามที่เสียค่าเล่าเรียนจริง ถ้าค่าเล่าเรียนลูกเทอมละ 3 หมื่นก็เบิกได้ 3 หมื่นครับ เบิกได้จนลูกจบ ป.ตรี ข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วก็ยังเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้เต็มจำนวน”

กรมบัญชีกลางขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเพื่อให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น และไม่มีการปรับอัตราการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรแต่อย่างใด ยังคงใช้อัตราการเบิกตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 และด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 ตามเดิม อาทิเช่น ประเภทและอัตราในการเบิกค่าบำรุงการศึกษา

ประเภท/ระดับการศึกษา/ประเภทวิชา/สายวิชา สถานศึกษาของทางราชการ บำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา สถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน (บาท) สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน(บาท)

ประเภทสามัญศึกษา- อนุบาล 5,800 4,800 13,600- ประถมศึกษา 4,000 4,200 13,200- มัธยมศึกษาตอนต้น 4,800 3,300 15,800- มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 4,800 3,200 16,200- อนุปริญญา 13,700 - ปริญญาตรี 25,000 -

ประเภท/ระดับการศึกษา/ประเภทวิชา/สายวิชา สถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน (บาท) สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน (บาท) ประเภทอาชีวศึกษา- คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์ 3,400 16,500 - พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ 5,100 9,900 - ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม 7,200 24,400 - อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 5,100 19,900 - อุตสาหกรรมสิ่งทอ 7,200 24,400

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000-30,000 บาท ตามประเภทวิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท