ประชาสังคมออก 14 ข้อเรียกร้องผู้นำอาเซียน ตั้งเสาสิ่งแวดล้อม-เห็นหัวประชาชน

ภาคประชาชน-ประชาสังคมในอาเซียนและที่อื่นรวม 110 องค์กร เข้าชื่อในแถลงการณ์ถึงผู้นำอาเซียนเนื่องในวาระอาเซียนซัมมิต ข้อเรียกร้อง 14 ข้อ ขอให้มีเสาหลักด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเสาที่สี่ ให้รัฐบาล ภาคธุรกิจเคารพบทบาท สิทธิ การดำรงชีวิตของประชาชน 

ที่มา: แฟ้มภาพ

20 มิ.ย. 2562 กลุ่มประชาชน องค์กรประชาสังคมในภูมิภาคอาเซียนและอื่นๆ จำนวน 110 ชื่อ/องค์กร ออกแถลงการณ์เปิดผนึกต่อผู้นำอาเซียน เนื่องในโอกาสที่จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ในวันที่ 20-23 มิ.ย. 2562 

แถลงการณ์มีข้อเรียกร้อง 14 ข้อ ใจความมุ่งให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่า "อาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ไม่อาจเกิดขึ้นได้ จนกว่ารัฐบาลในอาเซียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคธุรกิจและบรรษัท จะให้ความเคารพอย่างแท้จริง ต่อบทบาท สิทธิ และการดำรงชีวิตของประชาชน

นอกจากนั้น แถลงการณ์ยังเรียกร้องให้มีการจัดตั้งเสาที่สี่ของอาเซียนได้แก่เสาสิ่งแวดล้อมด้วย (ปัจจุบันมีสามเสาหลักได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน )

(แถลงการณ์ฉบับภาษาอังกฤษเผยแพร่ในเว็บไซต์ Focus on the Global South และมีการแถลงอีกครั้งในงาน “The ASEAN We Want: Testimony from Local Communities on Ecological Disastrous” ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย เมื่อ 18 มิ.ย. 2562)

20 มิถุนายน 2562

อาเซียนที่เราต้องการ: คำแถลงเปิดผนึกต่อผู้นำอาเซียน

คำแถลงเปิดผนึกต่อผู้นำอาเซียน ได้จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสการพบปะกันของผู้นำอาเซียนในกรุงเทพ เนื่องในวาระการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 โดยชุมชน องค์กรประชาสังคมและเครือข่ายภาคประชาชน ได้ร่วมกันกระตุ้นเตือนเพื่อให้เกิดการให้ความเคารพต่อสิทธิและวิถีชีวิตของผู้คน

ด้วยข้อสังเกตว่า การบูรณาการทางเศรษฐกิจอาเซียน เป็นแนวทางที่ให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของนักลงทุนเป็นที่ตั้ง ไม่และให้ความสนใจเพียงน้อยนิดต่อผลกระทบเชิงลบที่กำลังเกิดขึ้นกับดินแดนที่อยู่อาศัย วิถีชีวิตและภาวะเศรษฐกิจของผู้คน แถลงการณ์ "อาเซียนเราต้องการ" นำเสนอความหวังของกลุ่มผู้ร่วมลงนามที่อยากเห็นอาเซียนที่มีความยุติธรรม มั่งคั่งและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง

แนวคิดหลักในการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 คือ "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" (Advancing Partnership for Sustainability) อย่างไรก็ตาม 'ความยั่งยืน' ยังคงเป็นวาทกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมและเพื่อบดบังผลกระทบที่แผ่กว้างของโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งกำลังคุกคามชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน อีกทั้งยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศของภูมิภาค

"สรุปในภาพรวม เราเรียกร้องให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่า “อาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ไม่อาจเกิดขึ้นได้ จนกว่ารัฐบาลในอาเซียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคธุรกิจและบรรษัท จะให้ความเคารพอย่างแท้จริง ต่อบทบาท สิทธิ และการดำรงชีวิตของประชาชน " คือข้อสรุปของแถลงการณ์

แถลงการณ์ระดับภูมิภาค/สากล

20 มิถุนายน 2562

อาเซียนที่เราต้องการ

ในปี 2552 องค์กรภาคประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนในท้องถิ่นในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และสิทธิมนุษยชน ได้จัดทำ “กรอบข้อเสนอด้านสิ่งแวดล้อมของภาคประชาสังคมในอาเซียน” ให้เป็นข้อเสนอที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบการแลกเปลี่ยนกับกลไกอาเซียน ตามกรอบดังกล่าว มีข้อเสนอที่ว่า “อาเซียนควรริเริ่มเสาหลักทางยุทธศาสตร์ที่สี่ด้านสิ่งแวดล้อม และเตรียมแผนที่เป็นแม่พิมพ์ เพื่อกระตุ้นให้บรรดารัฐภาคีให้ความสำคัญกับการปฏิบัติที่ดีสุดระหว่างประเทศด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นหัวใจของการตัดสินใจ” โดยครอบคลุมข้อกังวลหลักสามประเด็นในกรอบข้อเสนอ อันประกอบด้วย

1. โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิต โดยเฉพาะเขื่อนผลิตไฟฟ้าในแม่น้ำโขงและสาละวิน และอุตสาหกรรมขุดเจาะแร่ธาตุ (น้ำมัน ก๊าซ และเหมืองแร่) 

2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเน้นให้เห็นมากยิ่งขึ้นถึงความเปราะบางในภูมิภาค

3. ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถูกคุกคามจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เพื่อบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค ส่งผลให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมและการขาดความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคเลวร้ายลง และทำให้เกิดความ “ไม่สามารถเข้าถึงและไม่สามารถควบคุมที่ดิน น้ำ ทรัพยากรการผลิต ทรัพยากรด้านพันธุกรรม รวมทั้งการคุ้มครองทางสังคมได้”

แม้หลักฐานจะเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นเรื่อยมา ว่าการทำลายและการทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เป็นสาเหตุหลักของความไม่มั่นคงด้านการดำรงชีวิต และการละเมิดสิทธิของประชาชน แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาล ภาคธุรกิจและบรรษัทในภูมิภาคอาเซียน กลับไม่เคยดำเนินการปรับปรุงเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงส่งผลให้ประชาชนต้องประสบกับการสูญเสียที่ดิน ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพอากาศที่ดีอย่างรวดเร็ว โดยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเริ่มทำให้เกิดความไม่มั่นคงอย่างรุนแรงต่ออนาคตของประชาชน โดยเฉพาะผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในสภาพที่มีความเปราะบางทางนิเวศและเศรษฐกิจ

การให้ความสำคัญของอาเซียนต่อการบูรณาการด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยง ในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งผลให้รัฐภาคียอมรับนักลงทุนจากต่างชาติ โดยแทบไม่ใส่ใจต่อผลกระทบด้านลบที่มีต่อประชาชนในประเทศของตนเอง ไม่ใส่ใจต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางเศรษฐกิจของพวกเขา ในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา บรรดานักลงทุนเอกชนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและการเงิน และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ต่างดำเนินงานด้วยท่าทีรุกเร้ามากขึ้นทุกขณะ ในการเรียกร้องต่อรัฐบาลในอาเซียน และยังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในการกำหนดกฎหมายและนโยบาย การยินยอมปฏิบัติตามกลไกคุ้มครองนักลงทุน รวมทั้งการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนด้วยการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ  (investor state dispute settlement - ISDS) เป็นเหตุให้รัฐบาลในอาเซียนอ่อนแอลงและไม่สามารถคุ้มครองประชาชน สิ่งแวดล้อมและประโยชน์สาธารณะของตนเอง จากการรุกรานของนักลงทุนได้

ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2562 พวกเราที่เป็นประชาชน ชุมชน และองค์กรภาคประชาสังคมจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประชาคมระหว่างประเทศที่ใส่ใจ ขอแสดงความหวังและข้อเรียกร้องให้เกิดอาเซียนที่เป็นธรรม รุ่งเรือง และยั่งยืนอย่างแท้จริง จากประสบการณ์ของเรา และแนวโน้มที่ได้เห็นในระดับภูมิภาคและระดับโลก เราต้องการให้อาเซียนเป็นภูมิภาคซึ่ง

1. ทุกฝ่ายทุกคนยอมรับและเคารพคุณค่าของธรรมชาติ ในฐานะเป็นพื้นฐานของชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่มองเพียงคุณค่าของเงิน และไม่ถูกตีราคาเป็นสินค้าเพื่อซื้อขาย

2. ยอมรับว่าประโยชน์สาธารณะเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อคุ้มครองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของชนชั้นนำและผู้ร่ำรวยในสังคม

3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจต้องไม่ทำลาย หรือทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลง และไม่บั่นทอนการดำรงชีวิตและสิทธิของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น

4. มีการกระจายและกำกับดูแลการใช้ทรัพยากร เพื่อประกันให้เกิดการเข้าถึงที่เท่าเทียม โดยเฉพาะทรัพยากรที่สำคัญ อย่างเช่น อาหาร ที่ดิน น้ำ และพลังงาน และโดยเฉพาะสำหรับประชาชน/ชุมชนที่มีความเปราะบางด้านเศรษฐกิจและสังคม

5. รัฐบาลยอมรับ เคารพ และคุ้มครองบทบาทและความสำคัญของชุมชนในท้องถิ่น ในการปกป้องและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และความหลากหลายของธรรมชาติ

6. ความหลากหลายหมายรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์และเพศสภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งพวกเขาควรสามารถปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมของตน โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสังคมและในทางกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกปฏิบัติอย่างมีอคติและการเลือกปฏิบัติ

7. มีการยอมรับและสนับสนุนวิสัยทัศน์และการปฏิบัติของภาคประชาชนในทุกมิติ รวมทั้งอธิปไตยด้านอาหาร นิเวศวิทยาการเกษตร และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

8. รัฐบาลให้ความสำคัญกับความต้องการและความหวังของชุมชนในท้องถิ่น เกษตรกร คนงาน และชนพื้นเมือง มากกว่าผลประโยชน์ของบรรษัทและธุรกิจ โดยเฉพาะความต้องการของผู้หญิงและเยาวชนในทุกภาคส่วนและทุกชนชั้น

9. ให้การคุ้มครองตามกฎหมายและให้เคารพการลงทุนของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น ในแง่การผลิตอาหารและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยถือว่าสำคัญเหนือการคุ้มครองนักลงทุนและบรรษัท

10. สิทธิมนุษยชน ทั้งของบุคคลและกลุ่ม ต้องได้รับการคุ้มครองในแต่ละประเทศและในระดับภูมิภาค และมีมาตรการเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต และปัญหาความไม่เท่าเทียม ความไม่เสมอภาค และความอยุติธรรมที่เรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้หญิง ชนพื้นเมือง และคนงาน

11. ไม่มีการไล่รื้อ การทำให้พลัดถิ่นฐาน การแย่งชิงที่ดินและที่อยู่อาศัยของประชาชนในท้องถิ่น และไม่ปิดกั้นหรือห้ามประชาชนในการเข้าถึงสมบัติสาธารณะ 

12. มีหลักนิติธรรมเพื่อคุ้มครองประชาชนและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ภาคธุรกิจและบรรษัท และการประกันให้เกิดความยุติธรรมสำหรับคนทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มชนชายขอบที่ถูกเอาเปรียบมาตลอดและมีความเปราะบางมากสุด 

13. ต้องยกเลิกเงื่อนไขคุ้มครองนักลงทุน (รวมทั้ง ISDS) ในกฎหมายและความตกลงว่าด้วยการค้าและการลงทุน ต้องสามารถเอาผิดทางกฎหมายกับนักลงทุนที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบ และมีการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชน อันเป็นผลมาจากโครงการของพวกเขา

14. ทุกประเทศยอมรับแม่แบบการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ และไม่เน้นการขุดเจาะแร่ธาตุเพื่อมุ่งส่งออก

สรุปในภาพรวม เราเรียกร้องให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่า “อาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ไม่อาจเกิดขึ้นได้ จนกว่ารัฐบาลในอาเซียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคธุรกิจและบรรษัท จะให้ความเคารพอย่างแท้จริง ต่อบทบาท สิทธิ และการดำรงชีวิตของประชาชน เรามุ่งหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนอย่างจริงจังกับรัฐบาลในอาเซียน และดำเนินงานร่วมกันกับท่านเพื่อได้มีภูมิภาคที่ดีขึ้น

องค์กรผู้ร่วมลงนาม

  1. 3S Rivers Protection Network (3SPN), Cambodia
  2. Aksi for gender, social and ecological justice, Indonesia
  3. Alliance for Conflict Transformation (ACT), Cambodia
  4. Alternative Forum for Research in Mindanao (AFRIM), Philippines
  5. ALTSEAN-BURMA
  6. Assembly of the Poor Pak Mun Dam, Thailand
  7. Alyansa Tigil Mina (ATM), Philippines
  8. Aniban ng Manggagawa sa Agrikultura (Farm Workers Union), Philippines
  9. Asian NGO Coalition (ANGOC)
  10. Ayeyawady Youth Network, Myanmar 
  11. Bago Woman Development Group, Myanmar
  12. Bayay Sibuyanon, Inc., Philippines
  13. Baywatch Foundation, Philippines
  14. Both ENDS, Netherlands
  15. CamASEAN Youth’s Future (CamASEAN), Cambodia
  16. Cambodian Center for Human Rights (CCHR), Cambodia
  17. Cambodian Human Rights Action Coalition (CHRAC), Cambodia
  18. Cambodia Labour Confederation (CLC), Cambodia
  19. Cambodian Volunteers for Society, Cambodia
  20. Centre for Social Research and Development (CSRD), Vietnam
  21. Coalition of Cambodian Farmer Community (CCFC), Cambodia
  22. Citizen Action for Transparency (CAFT), Myanmar
  23. Committee for Free and Fair Elections in Cambodia (COMFREL)
  24. Comité pour le respect des Droits Humains “Daniel Gillard,” Belgium
  25. Community Peace-building Network (CPN), Cambodia
  26. Community Resource Centre Foundation (CRC), Thailand
  27. Community Response Group (COMREG), Myanmar
  28. Cooperation Committee for Cambodia (CCC), Cambodia
  29. Culture and Environment Preservation Association (CEPA), Cambodia
  30. Culture Identity and Resources Use Management (CIRUM), Vietnam
  31. Dawei Development Association (DWA), Myanmar
  32. Dawei Probono Lawyer Network, Myanmar
  33. Dawei Watch Foundation (DWF), Myanmar
  34. EarthRights International
  35. Ecological Justice Interfaith Movement (ECOJIM), Philippines
  36. Environics Trust, India
  37. ETO Watch Coalition, Thailand
  38. Europe Solidaire Sans Frontière (ESSF), France
  39. Focus on the Global South
  40. Forum Against Disastrous project in Konkan, India
  41. Foundation for Environmental and Natural Resources (FENR), Thailand
  42. Freedom from Debt Coalition (FDC), Philippines
  43. Friends of the Earth, Japan
  44. GRAIN
  45. Green Innovation and Development Centre (GreenID), Vietnam
  46. Greenpeace Thailand
  47. Human Rights Lawyers Association
  48. Indian Social Action Forum, India.
  49. International Accountability Project
  50. International Rivers
  51. Kachin Development Networking Group (KDNG), Myanmar
  52. Kanlat Metta Organization, Shan State, Myanmar 
  53. Karen Environmental and Social Action Network (KESAN), Myanmar
  54. Karen Rivers Watch, Myanmar
  55. KIARA, Indonesia
  56. Kruha, Indonesia
  57. Khmer Kampuchea Krom for Human Rights and Development Association (KKKHRDA), Cambodia
  58. LAIN Technical Support Group, Myanmar
  59. Land Core Group, Myanmar
  60. Land In Our Hands, Myanmar 
  61. Laos Dam Investment Monitor (LDIM), Thailand
  62. Law and Policy of Sustainable Development Research Centre (LPSD), Viet Nam
  63. Living River Association, Thailand
  64. Malaysian Youth League, Malaysia
  65. Mandalay Community Centre, Myanmar
  66. Mekong Butterfly, Thailand
  67. Mekong Community Institute Association, Thailand 
  68. Mekong Delta Youth (MDY), Vietnam
  69. Mekong Legal Network
  70. Mekong Wetland University Network, Vietnam
  71. Mekong Energy and Ecology Network (MEENet)
  72. Mekong Watch, Japan
  73. Migrant Forum Asia 
  74. MiningWatch Canada
  75. Minority Rights Organization (MIRO-Cambodia)
  76. Mong Pan Youth Association, Myanmar
  77. Myanmar Cultural Research Society (MCRS), Myanmar
  78. Myanmar People Alliance (MPA), Shan State, Myanmar
  79. NGO Forum on Cambodia, Cambodia
  80. Nyan Lynn Thit Analytica, Myanmar
  81. Pace On Peaceful Pluralism, Myanmar
  82. Pakistan Fisherfok Forum, Pakistan
  83. Paungku, Myanamar  
  84. People and Nature Reconciliation, Vietnam
  85. People’s Empowerment Foundation, Thailand
  86. Perlumpulan AEER, Indonesia
  87. Persatuan Aktivis Sahabat Alam (KUASA), Malaysia
  88. Philippine Movement for Climate Justice (PMCJ), Philippines
  89. Program on Alternative Development, University of the Philippines Centre for Integrative and Development Studies (UP CIDS AltDev), Philippines
  90. Project Sevana South-East Asia
  91. Qadir Law Associates, Pakistan
  92. Radio Emergency Communications Network Philippines, Inc. (RECON Philippines) 
  93. Regional Center for Social Science and Sustainable Development (RCSD), Thailand
  94. River Basin Friends, India.
  95. Salween Basin Community Network, Mae Hong Son, Thailand
  96. Shwechinthae Social Support Group, Myanmar  
  97. Sibuyanons Against Mining (SAM), Philippines
  98. Southern Youth Organization, Tanintharyi, Myanmar
  99. STAR Kampuchea, Cambodia
  100. Suara Rakyat Malaysia (SUARAM), Malaysia
  101. Summer Shelter Library, Shan State, Myanmar 
  102. Synergy-social harmony organization, Myanmar 
  103. Taunggyi Education Network, Myanmar
  104. The Corner House, UK
  105. UNLAD-BLFFA, Philippines
  106. Urgent Initiative, Philippines 
  107. World Rainforest Movement
  108. Worker’s Information Centre (WIC), Cambodia
  109. Women’s Network for Unity, Cambodia
  110. Youth Resource Development Program (YRDP), Cambodia

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท