ฝ่ายค้านเสนอญัตติด่วนตั้งคกก.ศึกษาผลกระทบคำสั่ง คสช. พร้อมยื่นสอบคุณสมบัติ ‘ประยุทธ์’

ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงข่าวที่ทำการรัฐสภา ห้องประชุมทีโอที เมื่อ 26 มิ.ย. 2562 (ที่มา: เพจรังสิมันต์ โรม)

26 มิ.ย. 2562 รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวว่า พรรคอนาคตใหม่ พร้อมด้วยพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้เสนอญัตติด่วนให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อศึกษาผลกระทบจากประกาศ และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช. ด้วย

รังสิมันต์ ให้เหตุผลของการเสนอญัตติดังกล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2557 ระบอบรัฐประหารที่ถูกสถาปนาขึ้น ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ การใช้อำนาจตามม.44  แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตาม และที่สำคัญที่สุดคือ การใช้อำนาจของหัวหน้าคสช. หรือแม้แต่บรรดาประกาศหรือคำสั่งของ คสช.ยังคงเกิดขึ้นแม้กระทั่งเราจะมีรัฐสภาจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้ผลกระทบของมาตรา 44 ที่ส่งผลต่อประชาชนโดยตรง เช่น ไม่สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องต่างๆ ได้ เช่น การชุมนุม การตรวจสอบคอรัปชั่น มากไปกว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยมีคดีอยู่บนศาลยุติธรรมและศาลทหาร ประชาชนบางส่วนไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมได้ หน่วยงานราชการที่ถูกโยกย้าย และรวมไปถึงการไม่มีตัวแทนของประชาชนเข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นได้

“ด้วยเหตุเหล่านี้พรรคอนาคตใหม่ และพรรคร่วมฝ่ายค้าน จึงมีความประสงค์ที่จะตั้งกรรมาธิการเพื่อจะวินิจฉัยถึงผลกระทบดังกล่าว โดยการวินิจฉัยนี้หากเป็นไปได้และเกิดขึ้นเรามีความประสงค์ว่านับตั้งแต่การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงในวันที่มีการตั้งคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นวันสุดท้ายของคสช. เราต้องการตรวจสอบถึงผลกระทบเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไปว่าหากต้องมีการเยียวยาหรือแก้ไขปัญหาจะทำอย่างไร”รังสิมันต์ กล่าว

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. เครือข่ายภาคประชาชน 23 องค์กร ได้ยื่นารายชื่อต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวม 13,409 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. 35 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย

นอกจากนี้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดน่าน แถลงด้วยว่า ยื่นหนังสือถึงชวน หลีกภัย ประธานผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 170 (4) แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 พร้อมแนบรายชื่อ ส.ส. จำนวน 101 รายชื่อ ผู้เข้าชื่อเสนอคำร้องตามมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 วรรคแรก แห่งรัฐธรรมนูญ  โดยระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ อาจขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก มี ส.ส.จำนวนมากยังคงติดใจประเด็นที่ พล.อ.ประยุทธ์ อาจเข้าข่ายเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามมาตรา 98 (15) แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 จึงทำให้สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว แม้ว่าเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จะได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม ซึ่งเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องดังกล่าวไว้วินิจฉัย เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีให้มีความชัดเจนและมีความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น

เรียบเรียงบางส่วนจาก : เว็บข่าวรัฐสภา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท