มติก.ต.เอกฉันท์ให้ 'ไสลเกษ วัฒนพันธุ์' นั่งประธานศาลฎีกา คนที่ 45

ที่ประชุม ก.ต. มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบแต่งตั้งให้ ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา คนที่ 45 มีผล 1 ต.ค. 62 วิชัย เอื้ออังคณากุล รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์

31 ก.ค.2562 เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'สื่อศาล' ของกองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ ศาลยุติธรรม รายงานว่า รายงานว่า วันนี้ ที่ประชุม ก.ต. มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบแต่งตั้งให้ ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ รองประธานศาลฎีกา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาคนที่ 45 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2562 เป็นต้นไป

สำหรับ ไสลเกษ เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2497 สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Arts) มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญในศาลยุติธรรม อาทิ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระนอง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา

ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา และอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ประธานศาลอุทธรณ์ อายุครบ 65 ปี ต้องลงไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโส 

นอกจากนี้ ก.ต. ยังมีมติแต่งตั้งตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในศาลยุติธรรมอีกหลายตำแหน่ง เช่น แต่งตั้ง วิชัย เอื้ออังคณากุล รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์ เมทินี ชโลธร ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา ประทีป ดุลพินิจธรรมา ประธานแผนกคดีภาษีอากรในฎีกา ดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา นพพร โพธิรังสิยากร ประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว้างประเทศในศาลฎีกาดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา อนันต์ วงษ์ประภารัตน์ ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา ประมวญ รักศิลธรรม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา  ปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา อธิป จิตต์สำเริง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา วาสนา หงส์เจริญ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา พศวัจณ์ กนกนาก ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา และ นิพันธ์ ช่วยสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในศาลฎีกา

ทั้งนี้ ประธานศาลฎีกา ยังมีอำนาจในการคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานกรรมการสรรหา และตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ม.214 ยังบัญญัติไว้ด้วยว่า ในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามม. 235 วรรคสาม และมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหลืออยู่ไม่ถึง ึ คน ให้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดร่วมกันแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทําหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราวให้ครบ 9 คน โดยให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งทําหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้จนกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตนทําหน้าที่แทนจะปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งแทน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท