Skip to main content
sharethis

คณะทำงานเพื่อการสมรสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน ร่วมกับองค์กรและบุคคล 80 รายชื่อ ร่อน จม.เปิดผนึก ถึง รมว.ยุติธรรม ขอยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ชี้ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมดของการใช้ชีวิตคู่ แนะพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายครอบครัวมรดกในบรรพ 5 บรรพ 6 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อขยายสิทธิการสมรสให้ครอบคลุมทุกเพศ ทุกอัตลักษณ์ทางเพศ และทุกเพศวิถี 

22 ส.ค.2562 มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ แจ้งว่า คณะทำงานเพื่อการสมรสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน ร่วมกับองค์กรและบุคคลที่ดำเนินงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ 80 รายชื่อ ออกจดหมายเปิดผนึก ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อพิจารณา ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ... และขอให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายครอบครัวมรดกในบรรพ 5 บรรพ 6 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อขยายสิทธิการสมรสให้ครอบคลุมทุกเพศ ทุกอัตลักษณ์ทางเพศ และทุกเพศวิถี 

โดยอ้างถึงกรณีที่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต พ.ศ..... ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการทรัพย์สินมรดกและการฟ้องแทนในคดีอาญาได้เท่านั้น และร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมดของการใช้ชีวิตคู่ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาลและการได้รับสวัสดิการ (กรณีที่อีกฝ่ายมีสิทธิที่ได้รับจากการทำงาน) สิทธิในกรณีคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งตาย สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว พร้อมทั้งได้ส่งไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ)ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดเวทีรับความความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา

รายละเอียดจดหมายเปิดผนึกมีดังนี้ : 

จดหมายเปิดผนึก ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

เพื่อ พิจารณา ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ...และขอให้พิจารณา แก้ไขปรับปรุงกฎหมายครอบครัวมรดกในบรรพ 5 บรรพ 6 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

จาก คณะทำงานเพื่อการสมรสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน องค์กรและบุคคลที่ดำเนินงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ 

สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งครอบครัวในรูปแบบครอบครัวตามธรรมชาติหรือการก่อตั้งครอบครัวบุญธรรม สิทธิดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองไว้ในตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคีได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948,กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966,กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค.ศ.1966 รวมทั้งในหลักการยอกยาการ์ตาหรือหลักการว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ก็ระบุไว้ชัดเจนในข้อ 24 เป็นต้น

ปัจจุบันสังคมไทยมีคู่ชีวิตเพศเดียวกันและคนข้ามเพศจำนวนมากที่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นครอบครัวเฉกเช่นคู่รักชายหญิงทั่วไป แต่สถานภาพของคู่ชีวิตเพศเดียวกันและคนข้ามเพศกลับไม่มีกฎหมายรับรอง ทำให้บุคคลดังกล่าวไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั้งในเรื่องสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงได้

ภาคประชาสังคมได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว และได้มีการประชุม ทำงานวิจัย ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งร่วมทำงานกับกลไกรัฐสภา ปีพุทธศักราช 2555 ยื่นข้อเสนอให้กับรัฐผ่านกระบวนการกลไกสหประชาชาติทั้ง UPR ICCPR CEDAW ทำงานร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อหาทางออกที่เกิดประโยชน์แก่ชุมชนความหลากหลายทางเพศมากที่สุด จนมีการตั้งคณะทำงานเพื่อการสมรสเท่าเทียม และเสนอทางออกของเรื่องนี้ผ่านการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ6 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิทยานิพนธ์ดีเด่นของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดย ชวินโรจน์ธีรพัชรพร ซึ่งได้ศึกษาทั้งแนวทางจากต่างประเทศ ความเป็นไปได้จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และความต้องการของชุมชนความหลากหลายทางเพศ โดยจัดทำ (ร่าง) พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. ... เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถสมรสกันได้โดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ

ขณะเดียวกัน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติ คู่ชีวิต พ.ศ.....ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการทรัพย์สินมรดกและการฟ้องแทนในคดีอาญาได้เท่านั้น และร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมดของการใช้ชีวิตคู่ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาลและการได้รับสวัสดิการ (กรณีที่อีกฝ่ายมีสิทธิที่ได้รับจากการทำงาน) สิทธิในกรณีคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งตาย สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นต้น

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว พร้อมทั้งได้ส่งไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ)ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดเวทีรับความความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ขึ้นในวันที่ 16 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นั้น

คณะทำงานเพื่อการสมรสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน ร่วมกับองค์กรและบุคคลที่ดำเนินงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ 80 รายชื่อตามที่ปรากฏด้านล่างนี้

ขอเรียนว่า (ร่าง) พระราชบัญญัติ คู่ชีวิต พ.ศ....ฉบับกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีเนื้อหากฎหมายที่เลือกปฏิบัติกับบุคคลหลากหลายทางเพศ เนื่องจาก พลเมืองหญิง ชาย ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวและสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีสิทธิสวัสดิการครอบครัวมากกว่า พลเมืองกลุ่มหลากหลายทางเพศ

ดังนั้นจึงใคร่ขอเสนอ ให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พิจารณา ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ...และขอให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายครอบครัวมรดกในบรรพ 5 บรรพ 6 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เพื่อขยายสิทธิการสมรสให้ครอบคลุมทุกเพศ ทุกอัตลักษณ์ทางเพศ และทุกเพศวิถี  

ด้วยเหตุที่ ปพพ. มีเงื่อนไขแห่งการสมรส ในมาตรา 1448 ว่า  “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์...”ซึ่งเป็นเงื่อนไขหวงห้ามต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ  เช่น กลุ่มคนรักเพศเดียวกัน กลุ่มคนรักสองเพศ  กลุ่มคนข้ามเพศ กลุ่มนอนไบนารีฯลฯ มิให้เข้าถึงสิทธิการสมรสตาม ปพพ. 

ส่งผลให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้รับสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีที่เกิดจากการเป็นคู่สมรส ทั้งจาก ปพพ. กฎหมายอื่น และระเบียบข้อบังคับภาครัฐและภาคเอกชน   ถือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานฯ จึงขอเสนอให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายครอบครัวมรดก ขยายสิทธิการสมรส  โดยการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่เป็นกลางทางเพศ  (Gender Neutral) ซึ่งมีถ้อยคำที่กำหนดในกฎหมายครอบครัว มรดก บรรพ 5 และ บรรพ 6  ปพพ.แล้ว แต่ยังไม่ครบถ้วน คือ เปลี่ยนคำว่า “ชายและหญิง” เป็น “บุคคลสองคน” “สามีภริยา” เป็น “คู่สมรส” “บิดามารดา” เป็น “บุพาการี” ในบทบัญญัติของ ปพพ.บรรพ5และบรรพ 6 ทุกมาตรา   
เพื่อให้บุคคลทุกเพศ ทุกอัตลักษณ์ทางเพศ และทุกรสนิยมทางเพศ  ได้รับสิทธิความเสมอภาค  ความยุติธรรม ในสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรี อันพึงมีพึงได้จากการสมรส  เหมือนคู่สมรสชายหญิงทั่วไป เช่น  สิทธิในสวัสดิการภาครัฐและภาคเอกชน สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน  สิทธิในการดำเนินการมีบุตรโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ อันสืบเนื่องจากการเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย และ สิทธิในการมีศักดิ์ศรีในฐานะ คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ.และตามกฎหมายอื่นๆ ในราชอาณาจักรไทย เป็นต้น  

ซึ่งการขยายสิทธิการสมรส  ดังกล่าว ไม่กระทบต่อสิทธิและหน้าที่ใด  ๆ  ณ ปัจจุบันของ คู่สมรส ชายหญิงทั่วไป  และ สิทธิหน้าที่ของบิดามารดา และ บุตร ในปัจจุบันแต่อย่างใด


ขอแสดงความนับถือ

คณะทำงานเพื่อการสมรสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน องค์กรและบุคคลที่ดำเนินงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ

 

สำหรับ 80 องค์กรและรายชื่อบุคคลประกอบด้วย : 

1.มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ    

2.มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน

3.กลุ่มโรงน้ำชา

4.กลุ่มนอนไบนารี่ไทยแลนด์

5.โครงการสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน

6.บางกอกเรนโบว์

7.มูลนิธิธีรนาถกาญจนอักษร

8.สำนักพิมพ์สะพาน

9.มูลนิธิเอ็มพลัส

10.ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร

11.เครือข่ายสุขภาพและโอกาส (HON)

12.พริษฐ์ ชมชื่น

13.พักตร์วิไลสหุนาฬุกลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ

14.ร้านหนังสือบูคู ปัตตานี

15.PinkmangoTV

16.ณฐกมล ศิวะศิลปะ

17.วิทยา แสงอรุณ

18.วรรณพงษ์ ยอดเมือง

19.กลุ่มพะยูนศรีตรัง

20.มูลนิธิซิสเตอร์

21.รณภูมิ สามัคคีคารมย์

22.LGBT SMEs and Professionals Thailand

23.Love United

24.อันดามันพาวเวอร์ ภูเก็ต

25.กลุ่มฟ้าสางที่ริมโขง อุบลราชธานี

26.พิงค์กี้มังกี้เพื่อความหลากหลายทางเพศประเทศไทย

27.สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

28.มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ(SWING)

29.ภรณ์ทิพย์ มั่นคง Fairly Tell Organization

30.Siwawong Sooktawee

31.ชนาง อำภารักษ์

32.Young Feminist Network

33.Piyadhorn Suvarnvasi

34.ธงรบ รอดสวัสดิ์

35.จันทร์จิรา บุญศรี

36.Nattaporn Artharn

37.ชนน์ชนก พลสิงห์

38.พนิดา บุญเทพ

39.วศิน พงษ์เก่า

40.ทศพล กฤษณบุตร

41.นุรฮายาดี ยูโซ๊ะBUKU

42.วิเชียร ทาหล้า

43.ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี

44.ศิรินันต์ สุวรรณโมลี

45.SAGA Thailand

46.ศิริ นิลพฤกษ์

47.Muhammadmumin Muna

48.นิศารัตน์ จงวิศาล

49.กฤตนัน ดิษฐบรรจง

50.กองบรรณาธิการเว็บไซต์ส่องสื่อ

51.เครือข่ายเยาวชนที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี(ประเทศไทย)

52.ดวงใจ สุภาพึ่ง

53.ไพรินทร์ เสาะสาย

54.วรุฒ จักรวรรดิ์

55.พิพัฒน์ วิมลไชยพร

56.มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)

57.เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม We Fair

58.นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์

59.ขบวนการอีสานใหม่

60.Prism Digital Magazine 61.สมพงษ์ วงศ์ชนะจิตต์

62.พิชเญศพงษ์คุรุปรัชฌามรรค งานกลุ่มอนุรักษ์ป่าบุญเรือง งานสภาประชาชนกลุ่มน้ำอิง ตอนปลาย

63.จันทร์จิรา  บุญประเสริฐ

64.ชูเวช  เดชดิษฐรักษ์

65.ศิริศักดิ์ ไชยเทศ

66.พงศ์สุดา กาศยปนันท์

67.ศุภนินิต สุขอินทร์

68.สุภัทรา จรัสจรุงเกียรติ

69.ชุทิมา ชื่นหัวใจ กลุ่มรักษ์บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง

70. สุระศักดิ์ เฉลิมศรี ประธานมูลนิธิแอ็พคอม

71.จรัญ คงมั่น

72. โปรเจกต์เสวนา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

73. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น Center for protection and Revival of  local community Rights (CPCR)

74. คะติมะ หลี่จ๊ะ เครือข่ายสตรีชนเผ่าพื้นเมือง

75. ตี๋ นาหยอด

76. VatcharaphongDangprad

77. กลุ่ม Thaiconsent

78. 1448 For All

79.ไพศรี แก้วสืบ

80. ทวีป น้อยสกุล 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net