Skip to main content
sharethis

พุทธิพงษ์ รมว.ดีอี ระบุตั้ง 'ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม' ตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารให้ประชาชน เผยผู้บริหารของไลน์ยินดีหนุน อีกทั้งภายใน 2 สัปดาห์ ดำเนินคดีคนสร้างข่าวปลอม ขณะที่เปิดเฟคนิวส์สำคัญในรอบปีพิสูจน์ดีอีจะเอาผิดฝั่งไหน

ที่มาภาพ เพจ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

23 ส.ค.2562 เว็บไซต์มติชนสุดสัปดาห์ รายงานว่า มาตรการจัดากรเฟคนิวส์ (ข่าวปลอม) ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)​ โดย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์  รมว.ดีอี เปิดเผยงานเสวนาเรื่องบลูลีอิ้ง แอนด์ เฟคนิวส์ ทันเกมสารพัดพิษออนไลน์สังคมไทย ว่า ในอดีตเฟคนิวส์มีไม่มากอย่างทุกวันนี้ เพราะสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเที่ยงตรง และมีจรรยาบรรณ​ แต่เมื่อโซเชียลมีเดียเกิดขึ้น และมีผู้เข้ามาจึงเกิดข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ฉะนั้น จึงเป็นที่มาของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (เฟคนิวส์ เซ็นเตอร์)​ ที่กระทรวงดีอีพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารให้ประชาชน

พุทธิพงษ์ กล่าว ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้ติดตามกระบวนการสร้างเฟคนิวส์อย่างต่อเนื่อง โดยในเร็วๆ นี้จะมีการดำเนินคดีกับกลุ่มคนที่ทำเฟคนิวส์ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย จากการติดมาระยะหนึ่งพบว่า มีกระบวนการที่เอาผิดได้ โดยเป็นการทำผิดที่ขัดต่อพระราชบัญญัติ​ (พ.ร.บ.)​ ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ โดยการดำเนินคดีจะดำเนินการภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ 

รมว.ดีอี ระบุว่า ดีอี ตั้งเป้าว่าการจัดตั้งศูนย์จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมกับเปิดช่องทางเว็บไซต์ ไลน์ และเพจเฟซบุ๊กของศูนย์ เพื่อสื่อสารแบบ 2 ทางกับประชาชน ทั้งการรับแจ้งข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ และชี้แจงข้อมูลถูกต้องที่ผ่านการตรวจสอบยืนยันแล้วจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ ช่องทางสื่อสารเหล่านี้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน อีกทั้งสามารถดูย้อนหลังได้สำหรับข่าวที่มีการยืนยันข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว สามารถเอาไปแชร์ต่อ ช่วยกันเป็นเครือข่ายในการขยายผลได้ ดังนั้นน่าจะได้รับความนิยมจากผู้แจ้งข้อมูล และนำข้อมูลที่ถูกต้องไปแชร์ต่อในวงกว้างอย่างรวดเร็ว

“ตั้งเป้าความรวดเร็วในการตรวจสอบข่าวปลอม และชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำได้ในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และภายใน 3 เดือนแรกของการจัดตั้งศูนย์ จะตรวจสอบยืนยันให้ได้ภายใน 1 – 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ จะมีการขอรายชื่อบุคคลที่ติดต่อได้ อย่างน้อย 2 คน ที่สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากทุกหน่วยงานราชการ เพื่อร่วมยืนยันข้อมูลในเบื้องต้น เชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ปิดจุดอ่อนปัญหาเฟคนิวส์ จากเดิมที่กว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อจะชี้แจงต้องใช้เวลาเป็นวัน ซึ่งความเสียหายผ่านโซเชียลแพร่กระจายไปแล้ว” พุทธิพงษ์ กล่าว พร้อมระบุว่ามีการหารือเบื้องต้นกับบริษัท ไลน์ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือที่ศูนย์แห่งนี้จะมีการเปิดไลน์ ออฟฟิเชียล เพื่อให้สามารถเข้าถึงคนได้จำนวนมากหลักล้านคน เพิ่มประสิทธิภาพในการรับแจ้งข้อมูลข่าวปลอม ซึ่งผู้บริหารของไลน์ ก็ยินดีที่จะสนับสนุน เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมใช้งานจากคนไทยอย่างมาก และที่ผ่านมามีข่าวปลอมแพร่กระจายผ่านช่องทางนี้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการทำงานร่วมกันจะเป็นประโยชน์ได้ทั้ง 2 ฝ่าย

พุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงดีอี ตั้งเป้าว่าการจัดตั้งศูนย์จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมกับเปิดช่องทางเว็บไซต์ ไลน์ และเพจเฟซบุ๊กของศูนย์ เพื่อสื่อสารแบบ 2 ทางกับประชาชน ทั้งการรับแจ้งข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ และชี้แจงข้อมูลถูกต้องที่ผ่านการตรวจสอบยืนยันแล้วจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ ช่องทางสื่อสารเหล่านี้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน อีกทั้งสามารถดูย้อนหลังได้สำหรับข่าวที่มีการยืนยันข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว สามารถเอาไปแชร์ต่อ ช่วยกันเป็นเครือข่ายในการขยายผลได้ ดังนั้นน่าจะได้รับความนิยมจากผู้แจ้งข้อมูล และนำข้อมูลที่ถูกต้องไปแชร์ต่อในวงกว้างอย่างรวดเร็ว

“ตั้งเป้าความรวดเร็วในการตรวจสอบข่าวปลอม และชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำได้ในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และภายใน 3 เดือนแรกของการจัดตั้งศูนย์ จะตรวจสอบยืนยันให้ได้ภายใน 1 – 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ จะมีการขอรายชื่อบุคคลที่ติดต่อได้ อย่างน้อย 2 คน ที่สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากทุกหน่วยงานราชการ เพื่อร่วมยืนยันข้อมูลในเบื้องต้น เชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ปิดจุดอ่อนปัญหาเฟคนิวส์ จากเดิมที่กว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อจะชี้แจงต้องใช้เวลาเป็นวัน ซึ่งความเสียหายผ่านโซเชียลแพร่กระจายไปแล้ว” พุทธิพงษ์ กล่าว

พุทธิพงษ์ กล่าวว่า มีการหารือเบื้องต้นกับบริษัท ไลน์ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือที่ศูนย์แห่งนี้จะมีการเปิดไลน์ ออฟฟิเชียล เพื่อให้สามารถเข้าถึงคนได้จำนวนมากหลักล้านคน เพิ่มประสิทธิภาพในการรับแจ้งข้อมูลข่าวปลอม ซึ่งผู้บริหารของไลน์ ก็ยินดีที่จะสนับสนุน เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมใช้งานจากคนไทยอย่างมาก และที่ผ่านมามีข่าวปลอมแพร่กระจายผ่านช่องทางนี้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการทำงานร่วมกันจะเป็นประโยชน์ได้ทั้ง 2 ฝ่าย

สำหรับประเด็นการจัดการกับข่าวปลอมนั้น เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ระบุผ่านสำนักข่าวต่างประเทศว่ามีพรรคการเมืองตั้งใหม่ที่พยายามให้ความรู้โดยใช้โฆษณาชวนเชื่อและข่าวปลอมกับวัยรุ่นไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม ประชาไท เคยรายงานปรากฏการณ์ข่าวปลอมประมาณ 1 ปีกว่าที่ผ่านมา มีตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ข่าว 

  • ฟ้องกันไปมา : 'ช่อ' ฟ้อง 'ปารีณา' หมิ่นประมาท ย้ำไม่หวังถึงขั้นคุก ด้าน 'ปารีณา' ฟ้องสวนปมเเถลงข่าวใส่ร้าย (อ่านข่าว https://prachatai.com/journal/2019/08/83757
  • #เนชั่นโป๊ะแตก ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ หลังมีคนแฉ 'กนก' เปิดคลิปตัดต่อเสียงเหมือน 'ทักษิณ-ธนาธร' (อ่านข่าว https://prachatai.com/journal/2019/03/81590
  • คาถาแยกเงาพันร่าง : พบผู้ฟังเวทีปราศรัย 'พลังประชารัฐ' แยกร่างหลายคนจนแน่นขนัด (อ่านข่าว https://prachatai.com/journal/2019/03/81585
  • 'ธนาธร' จ่อดำเนินการทางกฎหมาย หลังเพจ 'เดรัจฉานนิวส์' ทำข่าวปลอมปมวัดตีระฆัง (อ่านข่าว https://prachatai.com/journal/2018/10/78995) เป็นต้น

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net