สหภาพพยาบาลฯ เรียกร้องรัฐแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสถานพยาบาล

สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย เรียกร้องขอให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องเข้ามากํากับ ดูแล ป้องกันชีวิตของบุคลากรสาธารณสุขทุกคนอย่างเร่งด่วน แก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลในประเทศ รวมทั้งจัดการปัญหาความรุนแรงในห้องฉุกเฉิน

29 ส.ค. 2562 สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1/2562 ระบุว่าสหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ขอแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องขอให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องเข้ามากํากับ ดูแล ป้องกันอย่างจริงจัง ป้องกันชีวิตของบุคลากร สาธารณสุขทุกคนอย่างเร่งด่วน ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลในประเทศ จัดการปัญหาความรุนแรงในห้องฉุกเฉินและแนวทางแก้ไขปัญหาต่อรูปแบบความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล 

สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ระบุว่าพบว่าผู้ที่ก่อเหตุความรุนแรงในสถานพยาบาลจะมีด้วยกัน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรักษา เช่น คนร้ายที่เข้ามาปล้น เข้ามาทําร้าย 2.ผู้ป่วย 3.อดีตลูกจ้างของโรงพยาบาลที่ถูกให้ออกซึ่งมีความไม่พึงพอใจกับผู้บริหาร 4.ญาติของบุคลากรที่เข้ามาทําร้ายบุคลากร เช่น ภรรยาตามมาทําร้ายสามีในโรงพยาบาลระหว่างทํางาน โดยส่วนใหญ่จะเป็นความขัดแย้งเรื่องส่วนตัว และ 5.ญาติผู้ป่วย

อาชีพ 'พยาบาล' คนคาดหวังสูง แต่กลับถูกทำร้ายบ่อยครั้ง
สพฉ. เปิดผลวิจัยพบสถิติรถฉุกเฉินเกิดอุบัติเหตุจากการไปชนรถคันอื่น 67.8%
‘วันพยาบาลแห่งชาติ’ พยาบาลไทยยังเผชิญอุปสรรคการทำงาน 'เสี่ยงชีวิต-ภาระงานหนัก'

สําหรับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดเหตุรุนแรงนั้น มีการพบงานวิจัยและมีผลการศึกษายืนยันระบุว่ามี 4 ปัจจัย ประกอบด้วย 1.บุคลากรทําตัวไม่เหมาะสม ซึ่งมักเป็นผลมาจากภาระงานมาก อารมณ์ไม่ดี จํานวนไม่เพียงพอ อายุน้อย ไม่มีความสามารถในการรับมือเหตุการณ์เฉพาะหน้า 2.คนไข้คาดหวังที่เกินจริง ไม่ยอมรับข้อจํากัด มีความเครียดจากค่ารักษาพยาบาล มึนเมา เสพยาเสพติด 3.โรงพยาบาลไปสร้างความเครียดให้ผู้ป่วย เช่น งบประมาณไม่พอ เตียงไม่พอ ไม่มีมาตรการหรือระบบ ป้องกันความรุนแรง และ 4.สังคมเสพติดข่าวและการนําเสนอข่าวความรุนแรง จนนําไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบ

ดังนั้นสหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา การทําร้ายร่างกายมีโทษทางอาญาอยู่แล้ว ขอให้เร่งออกกฎหมายบังคับใช้เพิ่มเติมสําหรับเหตุรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์โดยเพิ่มโทษปรับและเพิ่มโทษจําคุก ที่สําคัญก็คือการทําร้ายแพทย์พยาบาลถูกกําหนดให้เป็นคดีที่ยอมความไม่ได้ หากเกิดเหตุกับแพทย์พยาบาลจะถือว่าเป็นอาชญากรรมรุนแรงที่ยอมรับไม่ได้ หากเพียงพิสูจน์ได้ว่าแพทย์พยาบาลถูกคุกคามด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว แม้จะยังไม่ลงไม้ลงมือก็ถือว่ามีความผิด สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของบุคลากรสาธารณสุขทุกคนมีความสุขและปลอดภัย
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท