ประชาสังคมเรียกร้องตรวจสอบกรณีรัฐไม่หนุน-พยายามคุมอาเซียนภาคประชาชน

ภาคประชาชน และบุคคลจำนวน 59 รายชื่อ ลงนามในแถลงการณ์กรณีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่ได้สนับสนุนงบประมาณ 9.8 ล้านบาทให้เวทีภาคประชาชนอาเซียน เหตุ ตกลงกันไม่ได้เรื่องส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมให้ฝ่ายความมั่นคง มิหนำซ้ำยังไปจัดงานชื่อเดียวกันในโรงแรมเดิมเป็นงานคู่ขนาน เรียกร้องให้มีการตรวจสอบและเปิดเผยสัดส่วนผู้เข้าร่วมและความพยายามควบคุมภาคประชาชน

ภาพการแถลงข่าวในงาน (ที่มาภาพ: เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง - IMN)

11 ก.ย. 2562 ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ระหว่างมหกรรมการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC/APF 2019) ประชาสังคม ประชาชนร่วมเข้าชื่อจำนวน 59 ชื่อ ในแถลงการณ์ต่อกรณีที่ภาครัฐยุติความร่วมมือและการสนับสนุนการจัดงานเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียน 2562 และกรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใช้งบประมาณก้อนดังกล่าวไปจัดงานคู่ขนาน โดยเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยเรื่องการพยายามควบคุมภาคประชาสังคม มีใจความดังนี้

อาเซียนภาค ปชช. ถูกรัฐตัดงบ เหตุฝ่ายความมั่นคงแทรกแซงจนคณะทำงานรับไม่ได้

ผอ. กองต่างประเทศ พม. แจง ประชาสังคมไม่ส่งชื่อให้ ทำให้ทำเรื่องงบไม่ได้

5 เรื่องต้องรู้ ‘ประชุมภาคประชาชนอาเซียน’ เวทีภูมิภาคที่คนเสี่ยงชีวิตมาเข้าร่วม

แถลงการณ์

สิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย ประชาชนอาเซียน

ต่อกรณีการยุติความร่วมมือและการสนับสนุนการจัดงานเวทีงานมหกรรมภาคประชาชนอาเซียน 2019        (ASEAN Civil Society Conference/ ASEAN People Forum)

งานมหกรรมภาคประชาชนอาเซียน (ASEAN Civil Society Conference/ ASEAN People Forum) เป็นการรวมตัวกันของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม บนความคาดหวังให้ประชาคมอาเซียนดำรงเจตนารมณ์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนที่ตระหนักถึงการเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางโดย

ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้ผลัดเปลี่ยนการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมประชาชนมาตั้งแต่ปี 2551 จนปัจจุบัน ปี 2562 ครบรอบ 10 ปี โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมประชาคมอาเซียนในครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตระหนักและการให้ความสำคัญภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ของรัฐบาลในแต่ละประเทศ ตามเจตนารมณ์ที่ยืนยันร่วมกัน

ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมอาเซียน 11 ประเทศ มีความมุ่งหวังให้เห็น การเปิดพื้นที่การแสดงความคิดเห็น การตอบรับข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรมที่เคารพ และเสมอภาค เท่าเทียม ความยั่งยืน และประชาธิปไตย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในฐานะประชาชนไทยผู้เข้าร่วมงาน ได้ติดตามกระบวนการกระจัดงานและเห็นความร่วมมือในการวางแผนจัดงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการจัดงานมหกรรมประชาชนอาเซียน 2019 และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จนนำไปสู่การกำหนดจัดงานร่วมกันในวันที่ 10-12 กันยายน 2562 ณ  โรงแรม เดอ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นความสวยงานของการทำงานร่วมกันของรัฐบาลและภาคประชาชน แต่เมื่อวันที่ 3 กันยายน  ที่ผ่านมาปรากฎข้อมูลว่าคณะกรรมการจัดงาน ฯ ได้ออกใบแจ้งข่าวว่า คณะกรรมการจัดงาน ฯ ไม่สามารถมีความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมกับรัฐบาลไทยได้จากประเด็นที่มีเงื่อนไขต้องส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 11 ประเทศให้กับกระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ซึ่งเป็นประเด็นที่คณะกรรมการจัดงาน ฯ ไม่สามารถยอมรับเงื่อนไขได้ เนื่องจากต้องการคงไว้ซึ่งความอิสระและเคารพในสิทธิและเสรีของผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ เป็นผลให้กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ยุติความร่วมมือและการสนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจัดงาน ฯ ยังคงยืนยันจะจัดประชุมบนหลักการเคารพสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยปราศจากการควบคุมและปิดกั้น และได้เดินหน้าจัดงานมหกรรมประชาชนอาเซียน ในวันที่ 10-12 กันยายน 2562 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขณะเดียวกัน กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ยังคงเดินหน้าจัดเวทีประชุมภาคประชาชนอาเซียน ณ โรงแรม เดอะ เบอร์คลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพ โดยภาคประชาชนที่ติดตามและอยู่ในกระบวนการของเวทีภาคประชาชนอาเซียนตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งยังเป็นข้อกังขาจากภาคประชาชนและประชาสังคมอาเซียนต่อของการดำเนินการจัดเวทีของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯครั้งนี้

อย่างไรก็ตามในฐานะประชาชนผู้ร่วมงาน ขอขอบคุณ ชื่นชม และให้กำลังใจคณะกรรมการจัดงาน ฯ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ยืนยันในหลักการและสามารถจัดงานได้ แม้มีระยะเวลาอันเตรียมการอย่างกระชั้นชิด และงบประมาณที่มีอย่างจำกัด รวมถึงขอบคุณภาคประชาชนอาเซียนทั้ง 11 ประเทศที่เข้าใจและยืนยันเข้าร่วมเวทีกว่ารวมแล้วกว่า 800 คน

จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ได้นำไปสู่ท่าที คำถาม และข้อเรียกร้องจากผู้เข้าร่วมประชุม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ดังนี้

  1. เราขอประณามกระบวนการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพของภาคประชาชน 11 ประเทศอาเซียน และนำมาเป็นเงื่อนไขเพื่อยุติการสนับสนุนการจัดงาน ทำลายบรรยากาศความร่วมมือ และแสดงการใช้อำนาจกับผู้จ่ายภาษีให้ประเทศของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯครั้งนี้
  2. เราขอตั้งคำถามถึงสัดส่วนและเครือข่ายผู้เข้าร่วมประชุมภาคประชาชนอาเซียน ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพ มีที่มาจากเครือข่ายและองค์กรใดบ้านและมีความเชื่อมโยงกับประชาชนที่ติดตามและอยู่ในกระบวนการภาคประชาชนอาเซียนตลอด 10 ปี อย่างไร
  3. กระบวนการต่อจากการมีเวทีประชาชนอาเซียนทั้ง 2 เวที จะนำไปสู่ข้อเสนอที่จะเสนอต่อเวทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไร 
  4. เราขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตรวจสอบหน่วยงานภายใต้การควบคุม ว่า เพราะเหตุใดจึงเกิดกระบวนการปิดกั้นเสรีภาพ และมีการแสดงอำนาจในการควบคุมประชาชน จนเป็นที่ตั้งคำถามจากทั้ง 11 ประเทศอาเซียนต่อการกระทำครั้งนี้ และขอให้อธิบายต่อเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสาธารณะชนและภาคประชาชนอาเซียนโดยเร็วที่สุด

จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหากรัฐบาลไทยยังละเลยปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ดำเนินไปและไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง รัฐบาลไทยในฐานะประธานอาเซียนก็ไม่สามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคประชาชนอาเซียน ในประเด็นการเคารพสิทธิและเสรีภาพ การแสดงออกของประชาชนที่ปราศจากการปิดกั้นคุกคาม ที่เป็นเจตนารมณ์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนต่อประชาคมอาเซียนได้

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิเสรีภาพประชาชน

เครือข่ายอ่าวบ้านดอน

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้

สมาคมผู้บริโภคสงขลา

สมาคมผู้บริโภคสตูล

สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี

เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้

กรรณิการณ์ แพแก้ว

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง

เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (KNCE)

เครือข่ายสตรีชนเผ่าพื้นเมือง

เครือข่ายวาระเปลี่ยนตะวันออก

เครือข่ายเพื่อนตะวันออก

เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะภาคตะวันออก

เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก

เครือข่ายเยาวชนเปลี่ยนตะวันออก

สมาคมสมสื่อสร้างสรรค์เด็ก เยาวชนและครอบครัวภาคตะวันออก

เครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดชลบุรี

สมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี

กลุ่มอนุรักษ์อ่าวบางละมุงจังหวัดชลบุรี

เครือข่ายรักษ์พระแม่ธรณีจังหวัดชลบุรี

เครือข่ายรักษ์อ่าวอุดมจังหวัดชลบุรี

เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรพัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดจันทบุรี

สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน

สมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็ก ระยอง

กลุ่มรักษ์เขาชะเมา จังหวัดระยอง

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดฉะเชิงเทรา

มูลนิธิแอ็พคอม/ วัฒนา เกี๋ยงพา

กลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ

ศิริ นิลพฤกษ์/ มูลนิธิอิสรชน

ณัฐฑิกานต์ พรมดำ

บะร่า ประมงกิจ

ซานัย ประมงกิจ

วิไล นาไพวรรณ์/ เครือข่าย We fair

เสาวนีย์ ค้าดี / สถาบันชุมชนอีสาน

เกษณี ซื่อรัมย์/ สมาคมป่าชุมชนอีสาน

สงัด อิงอาจ สวนนิเวศเกษตรศิลป์

สัญญา ทิพบำรุง

มัทนา เชตมิ

พรพิศ ปักไหม

กุสุมา จันทร์มูล

คริษฐา ลีละผลิน TEA Group

ภาคภูมิ พันธวงศ์ Young Pride Club

TEA Group

พักรต์วิไล สมุนาฬุ

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์ (สอพ.)

สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ (สปส.)

เครือข่ายป่าหัวไร่ปลายนาจังหวัดหนองบัวลำภู

ศูนย์เสริมสร้างอค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จังหวัดพิษณุโลก

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

เครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำคลองภูมี

เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จ.สุพรรณบุรี

กลุ่มฮักกรีน

เครือข่ายพลังผู้สูงวัย

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

สมัชชาเสรีประชาธิปไตยแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สมัชชาประชาชนคนเหนือล่าง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท