268 ชื่อ ขอ ตร.-อัยการยึดหลักเสรีภาพ สั่งไม่ฟ้องคดีที่ กอ.รมน. ยัดข้อหายุยงปลุกปั่นให้วงเสวนานับ 1 รธน.ใหม่

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง พร้อม 268 นักวิชาการและบุคคล เสนอพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ยึดหลักเสรีภาพตาม รธน.สั่งไม่ฟ้องคดีที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าแจ้งความฐานยุยงปลุกปั่นแก่นักวิชาการ นักกิจกรรม และแกนนำพรรคฝ่ายค้าน ที่ร่วมการเสวนา “พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่”


 

9 ต.ค.2562 จากกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ได้แจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่นแก่นักวิชาการ นักกิจกรรม และแกนนำพรรคฝ่ายค้าน อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการเสวนา “พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่” ที่บริเวณลานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น

วันนี้ (9 ต.ค.62) เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) พร้อมกับนักวิชาการและบุคคลตามรายชื่อแนบท้ายจำนวน 268 คน ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อกรณีดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง และแสดงความเห็นต่อสาธารณชน รวมทั้งข้อเสนอต่อสถาบันในกระบวนการยุติธรรมและสังคมไทยอันเนื่องมาจากกรณีข้างต้นดังนี้

1. องค์กรชั้นต้นในกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ พึงแสดงความกล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาชีพด้วยการทำคดีนี้อย่างซื่อตรงและเป็นอิสระจากการชี้นำของผู้มีอำนาจ โดยยึดหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญาตามมาตรา 116 โดยสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ตั้งแต่ในชั้นของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เพื่อไม่ให้การฟ้องคดีเพื่อปิดปากประชาชนประสบผลสำเร็จ และเพื่อลดภาระของกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลในการพิจารณาคดีที่มีลักษณะการฟ้องคดีเพื่อปิดปากเช่นนี้

2. สถาบันการศึกษาทางนิติศาสตร์พึงนำกรณีนี้และกรณีอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการนำกฎหมายปกติที่มีเจตนารมณ์คุ้มครองสังคมมาบิดเบือนในการสร้างความมั่นคงในอำนาจของผู้ปกครองและกำจัดฝ่ายที่เห็นต่าง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 5 ปีภายใต้ระบอบการปกครองของ คสช. มาเป็นกรณีศึกษาในการเรียนการสอน เพื่อชี้ให้นักศึกษากฎหมายเห็นอันตรายจากการบิดเบือนกฎหมายเพื่อตอบสนองผู้มีอำนาจตามอำเภอใจ อันเป็นอุปสรรคที่ทำให้หลักนิติธรรมไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้ในสังคมไทย

3. สังคมไทยควรตระหนักถึงอันตรายจากการให้สถาบันทางทหารเข้ามาก้าวก่ายในกิจการพลเรือน โดยเฉพาะในพื้นที่ทางการเมืองซึ่งควรเปิดกว้างทางความคิดเห็นและปลอดจากความเกรงกลัวในผลกระทบใดๆ และช่วยกันผลักดันให้ทหารออกไปจากพื้นที่ของพลเรือน กลับไปปฏิบัติภารกิจหลักของตนดังเช่นทหารอาชีพในนานาอารยประเทศที่ยึดมั่นในหลักอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน

 

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า วันนี้ เวลา 9.30 น ที่สภ.เมืองปัตตานี เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี(ม.อ.ปัตตานี) และอัญธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ตัวแทนนักวิชาการของเครือข่ายเพื่อสิทธิพลเมือง(คนส.) และนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี จำนวน 20 คน เดินทางมาที่ สภ.เมืองปัตตานีเพื่อยื่นหนังสือคำแถลงการณ์ดังกล่าว โดยยื่นหนังสือกับพ.ต.อ.ญาณพงศ์ อุบลบาน ผกก.สภ.เมืองปัตตานีพร้อมกับพ.ต.ท.กิรติ ตรีวัย รองผกก.ฝ่ายสืบสวนสอบสวน สภ.เมืองปัตตานีเป็นผู้รับหนังสือ

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า ระหว่างคณะอาจารย์และนักศึกษากำลังอ่านแถลงการณ์อยู่นั้น ร้อยเอกทรงกลด ชื่นชูผล หรือผู้กองปูเค็ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและอดีตนายทหารบก มากับคณะ 4-5 คนเข้ามาร่วมด้วยอีกฝั่งหนึ่ง พยายามแสดงออกคัดค้านไม่เห็นด้วย และมีการถกเถียงกับนักศึกษาและอาจารย์ด้วยการเปล่งเสียงดังลั่นว่า “ไม่แก้มาตราที่ 1 ไม่แบ่งแยกแผ่นดิน" 

จากนั้นคณะอาจารย์และนักศึกษา ได้อ่านแถลงการณ์ และยื่นหนังสือเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระหว่างนั้น ปรากฏว่า ผู้กองปูเค็ม ได้เดินเข้าไปหากลุ่มนักศึกษาและเข้าไปต่อว่า ที่มาเคลื่อนไหวในวันนี้เข้ามาเป็นตัวแทนแนวร่วมของขบวนการหรือของกลุ่ม PerMAS (The Federation of Patani Students and Youth) ใช่หรือไม่

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี กล่าวตอบโต้ว่า อย่ามาปรักปรำพวกเราว่าเป็นแนวร่วม พวกเราไม่ใช่แนวร่วม วันนี้ที่เรามาร่วมแถลงการณ์ เรามาให้กำลังใจอาจารย์ ไม่มีการพูดถึงกลุ่มการเมืองใดกลุ่มการเมืองหนึ่งเป็นหลัก พวกเราเชื่อว่าเสรีภาพในการพูด ไม่ว่ามาตราไหนก็แล้วแต่ ในทางวิชาการ ยังมีโอกาสแสดงออกได้ ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เรื่องนี้เป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล

หนึ่งในนักศึกษาที่ร่วมให้กำลังใจกล่าวว่า มาให้กำลังใจอาจารย์ ไม่ได้กล่าวถึงกลุ่มใด สิทธิพลเมืองและเสรีภาพในการพูด เป็นสิทธิที่ใครจะแสดงความเห็นด้วยหรือไม่ได้โดยอยู่ภายใต้หลักรัฐธรรมนูญ

พปชร.ร้องศาลรธน.สอย 6 แกนนำฝ่ายค้าน

วันเดียวกัน เนชั่นสุดสัปดาห์ รายงานด้วยว่า ที่รัฐสภา ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ นำรายชื่อ 51ส.ส.พรรคพลังประรัฐ เข้ายื่นต่อ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่าน แทนคุณ จิตต์อิสระ เลขานุการคณะทำงานทางการเมืองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ใช้อำนาจประธานสภาฯส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสมาชิกภาพ 6 ส.ส. ประกอบด้วย 1. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์  ส.ส.เชียงใหม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย 2. วันมูหะมัดนอร์  มะทาส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชาติ 3. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ 4. สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ 5. นิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย และ 6. ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101และ185(1) หรือไม่

ทัั้งนี้ เป็นผลมาจากจากกรณีจัดเวทีเสวนาแก้ไขรัฐธรรมนูญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยได้มีการพูดถึงการแก้ไขในมาตรา 1 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ควร รวมถึงกรณีการใช้อำนาจหน้าที่การเป็นส.ส.เข้าไปแทรกแซงก้าวก่ายการทำงานของ กอ.รมน.เพื่อตัวเองและพรรคนั้น โดยการเรียกพล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้ชำนาญการสำนักงาน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าเข้าชี้แจงกมธ.เป็นการใช้อำนาจมิชอบหรือไม่

สิระ กล่าวว่า ตนเรียกร้องให้ฝ่ายค้านหยุดทำลายประเทศชาติ หยุดทำลายรัฐบาล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า มีกระบวนการแบ่งกันทำงานหรือไม่ เพราะมีฝ่ายหนึ่งพยายามทำลายรัฐบาล อีกฝ่ายหนึ่งพยายามทำลายฝ่ายนิติบัญญัติ และขณะนี้กำลังมีอีกฝ่ายพยายามทำลายฝ่ายตุลาการ ดังนั้น ตนจึงขอเตือนคนที่คิดจะทำลายประเทศชาติว่า จะไม่มีแผ่นดินอยู่ในประเทศไทย เช่นเดียวกับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และตนขอทำนายว่า คนเหล่านี้จะต้องหนีไปจากประเทศไทยและจะไม่ได้ตายอยู่ในประเทศไทยแน่นอน

 

สำหรับรายละเอียดของแถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองและรายชื่อ 268 คน มีดังนี้

แถลงการณ์ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)
กรณี กอ.รมน. แจ้งความดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 กับผู้เข้าร่วมเสวนาเวทีรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ

ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ได้แจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่นแก่นักวิชาการ นักกิจกรรม และแกนนำพรรคฝ่ายค้าน อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการเสวนา “พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่” ที่บริเวณลานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2562 นั้น เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) มีความกังวลต่อการดำเนินการของ กอ.รมน. ในกรณีดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงขอแสดงความเห็นต่อสาธารณชนและเรียกร้องไปยังองค์กรที่เกี่ยวข้องรวมถึงสังคมไทยดังนี้

1. เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญที่มิได้เกิดเจตจำนงอันเสรีของประชาชน หากแต่เป็นกลไกในการสืบทอดอำนาจของบุคคลบางกลุ่ม ฉะนั้น เมื่อประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติจึงย่อมมีการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อยู่ในครรลองประชาธิปไตยมากขึ้น ในการนี้จึงควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกฝ่ายได้เสนอจินตนาการทางการเมืองของตน แม้อาจจะขัดกับระบบการเมืองที่ดำรงอยู่ เพราะมีแต่การให้เสรีภาพทางความคิดและเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงเท่านั้นที่จะสามารถสร้างฉันทามติในการอยู่ร่วมกันได้ และจะทำให้รัฐธรรมนูญมีสถานะเป็น “สัญญาประชาคม” อย่างแท้จริง

2. การอภิปรายเพื่อให้ได้มาซึ่งฉันทามติย่อมครอบคลุมทุกส่วนของรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การอภิปรายอยู่ในครรลองของการใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองแม้จะเป็นการใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็ตาม เพราะไม่มีหลักการใดสูงส่งกว่าหลักอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน นอกจากนี้ แม้จะเป็นบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญห้ามมิให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงก็สามารถหยิบยกมาอภิปรายได้ ตราบที่มิได้เป็นการกระทำอันผิดกฎหมาย ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 เช่นเดียวกับการอภิปรายในประเด็นอื่นๆ ของรัฐธรรมนูญ

3. เมื่อการอภิปรายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเป็นเสรีภาพทางความคิดและได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ การนำบทบัญญัติของกฎหมายอาญามาจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างระมัดระวังและไม่ขัดเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ที่มีขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของรัฐจากการกระทำที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กำลังหรือสร้างความปั่นป่วนหรือยุยงให้ประชาชนก่อความไม่สงบอันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ก็จะเห็นได้ว่าการเสนอให้มีการอภิปรายบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยสันติวิธีเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและไม่เข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามมาตราดังกล่าว ฉะนั้น การที่ กอ.รมน. นำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 มาใช้ดำเนินคดีเอาผิดกับประชาชนจึงเป็นการบิดเบือนการใช้กฎหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัวหรือความยุ่งยากให้กับผู้ต้องหาและจำเลย และเป็นการข่มขู่ประชาชนทั่วไปให้รู้สึกไม่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น มีลักษณะเป็นการใช้การฟ้องคดีเพื่อปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (SLAPP) เช่นเดียวกับที่ดำเนินการกับกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมืองตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการอภิปรายเพื่อหาฉันทามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

4. คนส. เห็นว่าในกรณีนี้ กอ.รมน. ได้ขยายบทบาทของตนเข้าสู่พื้นที่ของพลเรือน โดยทำให้การอภิปรายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลายเป็นประเด็นความมั่นคง เปิดโอกาสให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงในประเด็นที่ต้องการได้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของกองทัพที่มีเหนือการเมืองอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ ด้วยความที่ กอ.รมน. เป็นองค์กรที่ได้รับประโยชน์จากระบอบอำนาจเบ็ดเสร็จตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาโดยตรง โดยเฉพาะจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 51/2560 ซึ่งนอกจากจะทำให้ กอ.รมน. มีอำนาจอย่างกว้างขวางในกิจการด้านความมั่นคงและดำรงอยู่เหนือหน่วยงานฝ่ายพลเรือนแล้ว ยังขยายบทบาทเข้าไปในภารกิจทางพลเรือนอย่างกว้างขวางอีกด้วย จึงอาจตั้งคำถามได้ว่าการดำเนินการของ กอ.รมน. ในกรณีนี้เป็นไปเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐบาลซึ่งมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับ กอ.รมน. หรือไม่

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง พร้อมกับนักวิชาการและบุคคลตามรายชื่อแนบท้ายจำนวน 268 คน จึงมีข้อเสนอต่อสถาบันในกระบวนการยุติธรรมและสังคมไทยอันเนื่องมาจากกรณีข้างต้นดังนี้

1. องค์กรชั้นต้นในกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ พึงแสดงความกล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาชีพด้วยการทำคดีนี้อย่างซื่อตรงและเป็นอิสระจากการชี้นำของผู้มีอำนาจ โดยยึดหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญาตามมาตรา 116 โดยสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ตั้งแต่ในชั้นของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เพื่อไม่ให้การฟ้องคดีเพื่อปิดปากประชาชนประสบผลสำเร็จ และเพื่อลดภาระของกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลในการพิจารณาคดีที่มีลักษณะการฟ้องคดีเพื่อปิดปากเช่นนี้

2. สถาบันการศึกษาทางนิติศาสตร์พึงนำกรณีนี้และกรณีอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการนำกฎหมายปกติที่มีเจตนารมณ์คุ้มครองสังคมมาบิดเบือนในการสร้างความมั่นคงในอำนาจของผู้ปกครองและกำจัดฝ่ายที่เห็นต่าง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 5 ปีภายใต้ระบอบการปกครองของ คสช. มาเป็นกรณีศึกษาในการเรียนการสอน เพื่อชี้ให้นักศึกษากฎหมายเห็นอันตรายจากการบิดเบือนกฎหมายเพื่อตอบสนองผู้มีอำนาจตามอำเภอใจ อันเป็นอุปสรรคที่ทำให้หลักนิติธรรมไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้ในสังคมไทย

3. สังคมไทยควรตระหนักถึงอันตรายจากการให้สถาบันทางทหารเข้ามาก้าวก่ายในกิจการพลเรือน โดยเฉพาะในพื้นที่ทางการเมืองซึ่งควรเปิดกว้างทางความคิดเห็นและปลอดจากความเกรงกลัวในผลกระทบใดๆ และช่วยกันผลักดันให้ทหารออกไปจากพื้นที่ของพลเรือน กลับไปปฏิบัติภารกิจหลักของตนดังเช่นทหารอาชีพในนานาอารยประเทศที่ยึดมั่นในหลักอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน

ด้วยศรัทธาต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตย

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)
9 ตุลาคม 2562

รายชื่อแนบท้าย
1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. กฤดิกร วงศ์สว่างพาณิช
4. กษมาพร แสงสุระธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. กิตติ วิสารกาญจน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
7. กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. กิตติมา จารีประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9. กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยนสชภัฏสกลนคร
11. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
12. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15. เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
16. ขวัญชีวัน บัวแดง สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. คณิน เชื้อดวงผุย มหวิทยาลัยนครพนม
18. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
19. คมลักษณ์ ไชยยะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
20. คารินา โชติรวี ข้าราชการบำนาญ
21. คำแหง วิสุทธางกูร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
22. เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวอทยาลัยมหิดล
24. จตุรนต์ เอี่ยมโสภา
25. จรัล มานตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
26. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
27. จิราพร เหลาเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28. จิราภรณ์ สมิธ
29. เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
30. เฉลิมพล โตสารเดช วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
31. ชยันต์ วรรธนะภูติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
32. ชลัท ศานติวรางคณา มหาวิทยาลัยมหิดล
33. ชัชวาล ปุญปัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
34. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
35. ชัยพร สิงห์ดี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36. ชาญคณิต อาวรณ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
37. ชาญณรงค์ บุญหนุน
38. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
39. ชิงชัย เมธพัฒน์ อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัยบูรพา
40. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์
41. โช ฟุกุโตมิ Global Initiative Center, Kagoshima University
42. โชคชัย วงษ์ตานี สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
43. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
44. ไชยันต์ รัชชกูล มหาวิทยาลัยพะเยา
45. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
46. ฐิติพล ภักดีวานิช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
47. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
48. ณภัค เสรีรักษ์ นักวิจัยอิสระ
49. ณรงค์ อาจสมิติ มหาวิทยาลัยมหิดล
50. ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี มหาวิทยาลัยนครพนม
51. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
52. ณัฐกร วิทิตานนท์
53. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
54. ณัฐดนัย นาจันทร์
55. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
56. ดวงมน จิตร์จำนงค์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
57. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการอิสระ
58. เดชรัต สุขกำเนิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
59. เดโชพล เหมนาไลย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
61. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
62. ทวีศักดิ์ ปิ
63. ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
64. ทับทิม ทับทิม นักวิจัยอิสระ
65. ทัศนัย เศรษฐเสรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66. ทิพย์ตะวัน อุชัย
67. เทวฤทธิ์ มณีฉาย
68. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
69. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
70. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
71. ธนาวิ โชติประดิษฐ มหาวิทยาลัยศิลปากร
72. ธร ปีติดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
73. ธวัช มณีผ่อง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
74. ธาริตา อินทนาม
75. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
76. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
77. ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
78. ธีรพจน์ ศิริจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
79. ธีรมล บัวงาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
80. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
81. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
82. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
83. นนทณัฐ ต้องเซ่งกี่
84. นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85. นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
86. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ
87. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
88. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
89. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
90. นันท์นภัส แสงฮอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
91. นันทวัช สิทธิรักษ์
92. นาตยา อยู่คง มหาวิทยาลัยศิลปากร
93. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
94. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ
95. บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
96. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
97. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
98. บารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจน
99. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
100. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
101. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
102. ปฐม ตาคะนานันท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
103. ปฐวี โชติอนันต์ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
104. ปรเมศวร์ กาแก้ว มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
105. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
106. ประภัสสร์ ชูวิเชียร มหาวิทยาลัยศิลปากร
107. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
108. ปราการ กลิ่นฟุ้ง
109. ปราโมทย์ ระวิน
110. ปรารถนา เณรแย้ม
111. ปฤณ เทพนรินทร์
112. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์
113. ปาริชาติ ภิญโญศรี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
114. ปาริชาติ วลัยเสถียร อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
116. ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
117. ปุรินทร์ นาคสิงห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
118. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
119. พชรวรรณ บุญพร้อมกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
120. พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
121. พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา
122. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
123. พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์
124. พฤหัส พหลกุลบุตร
125. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
126. พศุตม์ ลาศุขะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
127. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
128. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
129. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
130. พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
131. พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
132. พิพัฒน์ สุยะ มหาวิทยาลัยศิลปากร
133. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
134. พิสิษฏ์ นาสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
135. พุทธณี กางกั้น
136. พุทธพล มงคลวรวรรณ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
137. พุทธรักษ์ ปราบนอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
138. เพ็ญสุภา สุขคตะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
139. เพียงกมล มานะรัตน์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
140. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
141. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
142. ฟรานซีส นันตะสุคนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
143. ฟาริส โยธาสมุทร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
144. ฟารีดา ปันจอร์ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
145. ภัควดี วีระภาสพงษ์
146. ภัทรภร ภู่ทอง
147. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
148. มนฑิตา โรจน์ทินกร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
149. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
150. มิ่ง ปัญหา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
151. มุสตารซีดีน วาบา ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (PermaTamas)
152. มูนีเร๊าะห์ ปอแซ นักศึกษาปริญญาเอก University Malaysia Sabah
153. มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
154. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
155. ยาสมิน ซัตตาร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
156. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
157. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
158. รชฎ สาตราวุธ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
159. รพีพรรณ เจริญวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160. รอมซี ดอฆอ นักวิชาการอิสระด้านวัฒนธรรมมลายู
161. รอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
162. รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
163. ราม ประสานศักดิ์
164. รามิล กาญจันดา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
165. รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
166. รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช
167. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
168. ลักษณ์กมล จ่างกมล คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
169. วรรณภา ลีระศิริ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
170. วรวิทย์ เจริญเลิศ นักวิชาการอิสระ
171. วริตตา ศรีรัตนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
172. วัชรพล ศิริสุวิไล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
173. วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
174. วัฒนชัย วินิจจะกูล
175. วันพิชิต ศรีสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
176. วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177. วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
178. วิกานดา พรหมขุนทอง นักวิชาการอิสระ
179. วิเชียร อันประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
180. วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
181. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
182. วิภา ดาวมณี อดีตอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
183. วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย นิสิตปริญญาเอก สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
184. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
185. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
186. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
187. วีระ หวังสัจจะโชค มหาวิทยาลัยนเรศวร
188. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
189. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
190. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
191. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
192. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
193. ศิบดี นพประเสริฐ มหาวิทยาลัยศิลปากร
194. ศิริจิต สุนันต๊ะ มหาวิทยาลัยมหิดล
195. ศิวพล ชมภูพันธุ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
196. ศิววงศ์ สุขทวี
197. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
198. สมใจ สังข์แสตมป์
199. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
200. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ
201. สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
202. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
203. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
204. สักรินทร์ แซ่ภู่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
205. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
206. สามารถ ทองเฝือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
207. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
208. สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
209. สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
210. สาวิณี โกพลรัตน์ วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม
211. สาวิตร ประเสริฐพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
212. สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
213. สิริยาพร สาลีพันธ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
214. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ สื่อมวลชนอิสระ
215. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
216. สุธิดา วิมุตติโกศล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
217. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
218. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
219. สุภาพร โพธิ์แก้ว สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
220. สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
221. สุรพศ ทวีศักดิ์
222. สุรัช คมพจน์ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
223. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
224. สุรินทร์ อ้นพรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
225. สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
226. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
227. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
229. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
230. เสาวนีย์ วงศ์จินดา ศิลปินอิสระ
231. โสรัจจ์ ประวีณวงศ์วุฒิ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
232. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
233. หทยา อนันต์สุชาติกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
234. หนึ่งนยา ไหลงาม วิทยาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
235. อนรรฆ พิทักษ์ธานิน
236. อนุชิต สิงห์สุวรรณ
237. อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานสถาบันปรีดี พนมยงค์
238. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
239. อโนชา สุวิชากรพงศ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
240. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
241. อรชา รักดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
242. อรดี อินทร์คง
243. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
244. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
245. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
246. อลิสา หะสาเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
247. อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
248. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
249. อัจฉรา รักยุติธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
250. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
251. อัมพร หมาดเด็น
252. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
253. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
254. อาแซ สะยาคะ นักวิชาการอิสระ/อาจารย์พิเศษในประเทศมาเลเซีย
255. อาเต็ฟ โซ๊ะโก
256. อาทิตย์ ศรีจันทร์ นิสิตปริญญาเอก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
257. อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
258. อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต
259. อำพรรณี สะเตาะ
260. อิมรอน ซาเหาะ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
261. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
262. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
263. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
264. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
265. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
266. เอกสิทธิ์ หนุนภักดี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
267. Gabriel Oak Rabin, Philosophy, NYU Abu Dhabi
268. Tyrell Haberkorn, University of Wisconsin-Madison

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท