Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

หลายๆ ครั้งที่ผมถูกถามหรือถูกร้องขอแม้กระทั่งถูกต่อว่าทำไมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส.ทำหรือไม่ทำอะไรทั้งๆ ที่หน้าที่ของ ส.ส.โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.ไทยในรัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบันนั้นบัญญัติไว้ว่า ส.ส.มีหน้าที่อะไร ทำอะไรในหน้าที่หรือเกินกว่าอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ผมจึงขอนำมาสรุปให้เห็นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยจะวงเล็บเลขมาตราของรัฐธรรมนูญฯ ปีุ60 ไว้ในท้ายข้อความ ดังนี้

1.การเสนอและการอนุมัติกฎหมาย

1.1 ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (ม.131 (2))ต่อรัฐสภา

1.2 ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ (ม.133 (2))  ต่อสภาผู้แทนราษฎร

1.3 การอนุมัติพระราชกำหนด ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้ใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นไปตามตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ (ม.1ึ72)


2.ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

2.1 การตั้งกระทู้ถาม ซึ่งเป็นคำถามที่ ส.ส.หรือ ส.ว.ตั้งคำถามรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ โดยจะถามเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ (ม.150)

2.2 การเปิดอภิปรายทั่วไป

2.2.1 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ (ม.151)
     ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ โดยมติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

2.2.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ม.152)
     ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าชื่อกันเพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติก็ได้

2.2.3 การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภา (ม.155)
    ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหรือเศรษฐกิจของประทศสมควรที่จะปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาก็ได้ ในกรณีนี้ ประธานรัฐสภาต้องดำเนินการให้มีการประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง แต่รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้ โดยการประชุมนี้จะต้องเป็นการประชุลับและคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมด้วย

2.2.4 การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา (ม.1ุ65)
    ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายไม่ได้

2.3 การตั้งคณะกรรมาธิการ (ม.129)

สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญหรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา13ึ7 เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดๆ และรายงานให้สภาทราบตามระยะเวลาที่สภากำหนด โดยให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในกิจการที่คณะกรรมาธิการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษา ที่จะต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดหรือในกำกับให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสารหรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียก และให้เปิดเผยบันทึกการประชุม รายงานการดำเนินการ รายงานการสอบหาข้อเท็จจริง หรือรายงานการศึกษา แล้วแต่กรณี ของคณะกรรมาธิการให้ประชาชนทราบ เว้นแต่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี มีมติไม่ให้เปิดเผย

หากบุคคลที่ได้รับหนังสือขอให้ส่งเอกสาร หรือเชิญมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นไม่จัดส่งเอกสาร หรือไม่มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น ให้คณะกรรมาธิการออกคําสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลนั้นหรือเรียกบุคคลนั้นมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นด้วยตนเองต่อคณะกรรมาธิการ โดยอาจขอให้บุคคลน้ันนําเอกสาร หรือวัตถุที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ หากไม่ดำเนินการมีโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าผู้กระทําความผิดเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ให้ถือว่าเป็นความผิดทางวินัยด้วย (ม. 8 ,ม.12 พรบ.คําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554)

2.4 การเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ม.82)

ส.ส.หรือ ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามาตรา 101 (3) (5) (ุ6) (ึ7) (8) (9) (10) หรือ (12) หรือมาตรา111 (3) (4) (5) หรือ (ึ7) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้อง ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่

2.5 การเข้าชื่อถอดถอน ป.ป.ช. (ม.23ุ6)

ส.ส., ส.ว.หรือสมาชิกทั้งสองสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่ากว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาว่ากรรมการ ป.ป.ช.ผู้ใดกระทำการตามมาตรา 234 (1) โดยยื่นต่อประธานรัฐสภาพร้อมด้วยหลักฐานตามสมควร หากประธานรัฐสภาเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำการตามที่ถูกกล่าวหา ให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อแต่งตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริง


3.การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ม.255,ม.25ุ6 (1)

คณะรัฐมนตรีหรือ ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.และ ส.ว. (รวมกัน) จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมืนคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สามารถเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้

นอกจากนี้ ส.ส.ในฐานะสมาชิกรัฐสภายังมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญฯ อีกคือ

1) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ม.1ึ7)

2) การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา (ม.19)

3) การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 24ุ6ึ7 (ม.20)

4) การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ (ม.21)

5) การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมสามัญประจำปีก่อนครบกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน (ม.121วรรคสาม)

6) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติใหม่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทนคืนมา (ม.14ุ6)

7) การพิจารณาให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบแต่ตกไปด้วยเหตุอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาฯ แล้วคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอให้พิจารณาต่อไป (ม.14ึ7)

8) การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ม.15ึ7)

9) การแถลงนโยบาย (ม.1ุ62)

10) การให้ความห็นชอบในการประกาศสงคราม (ม.1ึ7ึ7)

11) การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญาและหนังสือสัญญาอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง (ม.1ึ78)

ฯ ลฯ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดคงจะเห็นได้ว่า ส.ส.มีหน้าที่หลักๆ คือการออกกฎหมายและควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน โดย ส.ส.ไม่ได้มีหน้าที่ในการฝากเด็กเข้าโรงเรียน ไม่มีหน้าที่ย้ายหรือรับฝากย้ายข้าราชการ ไม่ได้มีหน้าที่ในการสร้างถนน สะพาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ต่างๆ (เพราะเป็นอำนาจหน้าที่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง)

เมื่อเข้าใจแล้วก็จะได้ใช้ ส.ส.ได้ถูกต้อง และที่สำคัญก็คือ ส.ส.เองก็จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องด้วยเช่นกัน หากไปทำเกินอำนาจหน้าที่ไปกระทำการใดๆ อันมีลักษณะที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็อาจผิดรัฐธรรมนูญฯ ม.185 ก็อาจจะตกจากเก้าอี้ได้ง่ายๆ นะครับ

 


หมายเหตุ: ข้อมูลบางส่วนนำมาจาก สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net