Skip to main content
sharethis

เปิดสถิติ 5 ปี 3 ประเทศคู่ค้าสำคัญ พบไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯปีละ 3-4 แสนล้าน ขณะที่ขาดดุลจีนปีละ 5-6 แสนล้าน และขาดทุนญี่ปุ่น 3 แสนล้านต่อปี

 

29 ต.ค.2562 จากกรณี สหรัฐอเมริกาประกาศระงับสิทธิพิเศษภาษีศุลกากร (GSP) กับไทย 573 รายการ จากทั้งหมดที่ให้ไทย 3,500 รายการ มีผล 6 เดือนนับจากนี้ ซึ่ง กีรติ รัชโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ประเมินผลจากการระงับสิทธิดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะไม่สามารถส่งออกสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐฯหรือสูญเสียมูลค่าที่ได้รับสิทธิ GSP ประมาณ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากไทยยังคงส่งออกไปได้ตามปกติเพียงต้องเสียภาษีในอัตราปกติ (MFN Rate) เฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณไม่เกิน 1,800 ล้านบาท และในครั้งนี้ไทยยังได้คืนสิทธิในสินค้า 7 รายการ และสิทธิพิเศษในสินค้าโครงการ GSP ที่เหลืออีก 2,927 รายการ 

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เห็นภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศสหรัฐฯ จึงขอนำข้อมูลสถิติการส่งออกและนำเข้าปี 2558 - 2562 ของไทยกับ 3 ประเทศคู่ค้าหลักคือ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น เพื่อให้เห็นเปรียบเทียบดุลการค้าที่ไทยได้ดุลกับสหรัฐมาโดยตลอด ขณะที่จีนและญี่ปุ่นนั้นไทยจะเสียดุลมาโดยตลอกเช่นกัน

ดุลการค้าระหว่างไทย เทียบกับ 3 ประเทศสำคัญคือ จีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น (หน่วย : ล้านบาท)

 

ปี 58

ปี 59

ปี 60

ปี 61

ม.ค.-ก.ย.61

ม.ค.-ก.ย.62

จีน

-602282.8

-657367.61

-517083.69

-650455

-472108.44

-496677.3

สหรัฐฯ

339320.38

431025.2

390294.89

412842.1

303194.20

313117.75

ญี่ปุ่น

-388,636.43

-370221.66

-351396.82

-345851

-249332.22

-216574.9

ข้อมูลจาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร http://www2.ops3.moc.go.th/

เกี่ยวกับ GSP นั้น  สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ ให้ความเห็นสั้นๆ ไว้ในเฟสบุ๊ค ว่า GSP เปรียบเป็น "แต้มต่อ" ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนา เริ่มต้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อหลายประเทศทั่วโลกตกอยู่ในภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก แน่นอนว่าเมื่อประเทศกำลังพัฒนาค่อยๆ เติบโต รายได้เริ่มเข้าใกล้ประเทศพัฒนาแล้ว "เหตุผล" ในการให้ "แต้มต่อ" นี้ก็ย่อมลดลง ทุกประเทศจึงต้องเร่งพัฒนา "ความสามารถในการแข่งขัน" ของตัวเอง จะได้สามารถแข่งขันได้จริงๆ โดยไม่ต้องพึ่งกลไกเทียมอย่าง GSP และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นก็ตัดไปแล้วด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาระดับ "รายได้ปานกลาง" แล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่เขาควรให้สิทธิพิเศษกับไทยอีก ไปให้ประเทศอื่นที่ยากจนกว่าดีกว่า 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติการนำเข้าและส่งออก จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร http://www2.ops3.moc.go.th/

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net