Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

สืบเนื่องจากวันที่  29 ตุลาคม 2562 หม่อมเต่าได้กล่าวว่า "กฎหมายไทยไม่ต้องสากล ประเทศใครประเทศมัน เพิ่มสิทธิให้แรงงานต่างด้าวไม่ได้” นั้น

ในฐานะนักวิชาการกฎหมาย เรียนตามตรงว่าขึ้นเลยครับ เพราะประโยคดังกล่าวน่าจะมีความถูกต้อง
เพียงครึ่งเดียวครับ เนื่องจากอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

อนึ่ง อำนาจนิติบัญญัตินั้น สามารถกล่าวอย่างง่ายๆ คือ การออกกฎหมายที่มีสภาพบังคับใช้แต่เพียงในราชอาณาจักรเท่านั้น ดังนั้น กฎหมายของรัฐ (ประเทศ) อื่นย่อมไม่มีสภาพบังคับเหนือประเทศไทย มิฉะนั้นแล้ว อำนาจอธิปไตย (ของไทย) ย่อมถูกแทรกแซงโดยการบังคับใช้กฎหมายข้ามประเทศ/กระบวนการยุติธรรม ส่งผลให้กฎหมายในบางประเทศย่อมมีสภาพบังคับแตกต่างจากประเทศอื่นได้ ตามบริบทของสังคมแต่ละท้องที่ ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายว่าด้วย “อัร-ริบา (ดอกเบี้ย)” ในประเทศกลุ่มอิสลามย่อมกระทำไม่ได้ แต่ในประเทศไทยสามารถทำได้ แต่ไม่ได้แปลว่า กฎหมายไทยจะต้องผิดแผกแตกต่างโดยไม่สนใจสังคมโลกไม่ ตามที่รับได้รับความเห็นจาก ศ.วิทิต มันตาภรณ์ ว่า “สิทธิเด็ก” ย่อมได้รับความคุ้มครองในระดับสากล เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสากลที่ สิทธิของเด็กที่มีความละเอียดนั้น ต้องพิจารณอย่างรอบด้าน 

ประกอบกับคำพิพากษา (ฎีกา) ของประเทศออสเตรเลีย ในคดี Teoh (Minister of State for Immigration and Ethnic Affairs v Teoh) ที่ศาลท่านพิเคราะห์ถึง “หลัก Legitimate expectation” ทั้งที่ออสเตรเลียยังไม่มีกฎหมาย(ผ่านจากสภา) แต่ศาลให้ความเห็นว่า จริงอยู่ที่ศาลจะไม่ยึดติดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็กในการบังคับใช้กับคดี แต่คำสั่งทางปกครองใดๆที่อาจกระทบกับสิทธิของเยาวชน รัฐต้องคำนึงถึงสิทธิของเด็ก (อย่างดีที่สุดสุด) ที่ใช้ในการออกคำสั่ง (ทางปกครอง) ด้วย [The fact that a child is an Australian citizen is enough to establish the principle that the best interests of children should be a primary consideration in the making of administrative decisions.] 

ท้ายนี้ รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 หมวด 16 มาตรา 258 ค. (1) ว่าด้วยการปฏิรูปกฎหมายนั้นต้อง “มีกลไกให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 และพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสากล...” ด้วยเหตุนี้  รัฐบาลย่อมไม่สามารถปฏิเสธถึงหลักความเป็นสากลได้ ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น

ส่วนตัวครับ ขออนุญาตแนะนำ ครม. สร้างกลุ่มไลน์ ก่อนให้สัมภาษณ์อะไรนั้นรบกวนปรึกษากันให้ดีเสียก่อน มิเช่นนั้นแล้ว ภาพลักษณ์ของ ครม. มีแต่จะติดลบนะครับ 

อย่างไรก็ดี ความเห็นในบทความฉบับนี้หาได้ผูกพันธ์องค์กรที่ผู้เขียนสังกัดไม่ ผู้เขียนขอน้อมรับข้อผิดพลาดไว้แต่ผู้เดียว ... ขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่ให้การติดตามผลงานของผู้เขียน แม้ผู้เขียนจะอยู่ในภาวะผู้ (เกือบ) พิการ แต่สมองของผู้เขียนยังน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางสังคม ได้ไม่มากก็น้อยครับ 
 

ที่มาภาพ: ไทยโพสต์ https://www.thaipost.net

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net