คปน. ขอ กมธ.กฎหมายฯ ตรวจสอบกระบวนการอีไอเอ โครงการโรงงานน้ำตาล-ไฟฟ้าชีวมวล

คปน.อีสาน ยื่นหนังสือประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ตรวจสอบกระบวนการจัดทำอีไอเอที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมของโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน 5 กรณี 6 จังหวัด

10 ธ.ค. 2562 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตัวแทนคณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) ภาคอีสาน ประมาณ 30 คน ได้ยื่นหนังสือให้นายปิยบุตร แสนกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่และประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ให้ตรวจสอบกระบวนการจัดทำอีไอเอที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมของโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน 5 กรณี 6 จังหวัด และลงพื้นที่

นายอักษร สายสิงห์ อายุ 63 ปี คปน.ภาคอีสาน กล่าวว่าวันนี้ได้มายื่นหนังสือหนังสือประธานกรรมาธิการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ตรวจสอบกระบวนการจัดทำอีไอเอที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมของโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน 5 กรณี 6 จังหวัด เนื่องจากภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล คสช. เข้าบริหารประเทศ 17 ส.ค. 2558 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการให้ตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2558 โดยนิยามจากเดิมคำว่า “ตั้งโรงงานน้ำตาล” หมายความว่า ตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นใหม่เท่านั้น แต่ประกาศกระทรวงในครั้งนี้ให้หมายความรวมถึง “การขยายโรงงาน” และ “การย้ายโรงงานน้ำตาล” ไปตั้งยังพื้นที่อื่นได้ด้วย เป็นการปลดล็อคให้ผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ และขอขยายหรือย้ายโรงงานน้ำตาลไปยังพื้นที่อื่นโดยมีระยะห่างระหว่างโรงงานเดิมกับโรงงานใหม่ไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตร 

ด้านนายสิริศักดิ์ สะดวก อายุ 40 ปี ผู้ประสานงาน คปน.ภาคอีสาน กล่าวว่า ที่ผ่านมากระบวการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกรณีโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ดำเนินการที่ผ่านมาในภาคอีสานผมตั้งข้อสังเกตว่า 1.การจัดการมีส่วนร่วมในรูปแบบที่กฎหมายหรือคำสั่งที่กำหนดขึ้นมานั้น ไม่ได้ให้อำนาจกับประชาชนในพื้นที่ที่จะตัดสินใจว่าจะเอาหรือไม่เอาโครงการที่กำลังจะลงมาในพื้นที่ของตัวเองหรือไม่ เป็นเพียงพิธีกรรมที่ให้ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกระบวนการ เสนอความคิดเห็น เพียงเท่านั้น  

2.เป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการโครงการนั้นๆ นอกจากการจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเพียงพิธีกรรมอย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ในกระบวนการภายหลังจากการจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชน 2 ครั้งเสร็จแล้ว ประชาชนก็จะไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณารายงานนั้นๆ อีกต่อไป เพราะกระบวนการทั้งหมดจะถูกพิจารณาโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ คณะกรรมการชำนาญการ (คชก.) ซึ่งไม่มีส่วนยึดโยงใดๆกับประชาชนในพื้นที่แต่อย่างใด อีกทั้งหากรายงานนั้นไม่สมบูรณ์ยังสามารถให้ผู้ทำรายงาน นำกลับไปแก้ไข เพิ่มเติม ปรับปรุงใหม่ได้จนกว่าจะสมบูรณ์ 

และ 3.การนำมาปฏิบัตินั้น การจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำรายงานที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  มีการกีดกันผู้เห็นต่าง หรือผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งโรงงานที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยนำกำลังจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพนักงานของผู้ดำเนินโครงการมากีดกันไม่ให้กลุ่มหรือเครือข่ายผู้ที่เห็นต่างเข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์ในกระบวนการนั้นๆ

ดังนั้นการจะออกนโยบายการพัฒนา โครงการต่างๆออกมานั้นต้องมีการประเมินพื้นที่ภาพใหญ่เสียก่อน หรือเรียกว่า การประเมินผลกระทบพื้นที่เชิงยุทศาสตร์ (STRATEGIC ENVIRONMENTAL ASSESSMENT : SEA) เพื่อที่จะได้ทราบถึงศักยภาพในพื้นที่นั้นๆว่าเหมาะแก่การพัฒนาในรูปแบบไหน 

ทั้งนี้นายปิยบุตร รับปากว่าจะนำเรื่องเข้าพิจารณาในกรรมาธิการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และจะส่งเรื่องไปที่พรรคอนาคตใหม่ เพื่อให้ ส.ส.ในพรรคได้อภิปรายในการประชุมสภา และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ลงพื้นที่เพื่อรับฟังข้อเท็จ
                

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท