88 องค์กรส่งจดหมายถึงรัฐบาลลาวและไทยในวาระครบรอบ 7 ปีการหายตัวไปของสมบัด สมพอน

เครือข่ายประชาสังคมกระตุ้นรัฐบาลลาวและไทย ให้สอบสวนการบังคับบุคคลให้สูญหาย ให้เปิดเผยชะตากรรมของสมบัด สมพอนและอ็อด ไชยะวง

15 ธ.ค. 2562 ในโอกาสครบรอบเจ็ดปีการบังคับบุคคลให้สูญหาย ที่เกิดขึ้นกับสมบัด สมพอน ผู้นำภาคประชาสังคมของลาว หน่วยงานที่มีชื่อด้านล่างขอกระตุ้นรัฐบาลลาวและไทย ให้สอบสวนการบังคับบุคคลให้สูญหายครั้งนี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลลาวเปิดเผยที่อยู่ของสมบัด สมพอน และประกันว่าจะเกิดความยุติธรรมกับเขาและครอบครัว

เนื่องจากที่ผ่านมาตำรวจลาวล้มเหลวในการสอบสวนอย่างเป็นผล ต่อการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีสมบัด สมพอน จึงควรมีการตั้งคณะทำงานที่เป็นอิสระและไม่ลำเอียงขึ้นมาใหม่ เพื่อค้นหาที่อยู่และชะตากรรมของสมบัด สมพอนโดยไม่ชักช้า คณะทำงานใหม่นี้ควรมีอำนาจในการร้องขอ และได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากต่างประเทศ เพื่อให้สามารถสอบสวนอย่างเป็นมืออาชีพ เป็นอิสระ ไม่ลำเอียง และเป็นผล สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ

มีผู้พบเห็นสมบัด สมพอนเป็นครั้งสุดท้ายที่ด่านตรวจของตำรวจ บนถนนที่มีคนพลุกพล่านใจกลางกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อค่ำวันที่ 15 ธ.ค. 2555 จากคลิปวีดิโอของกล้องวงจรปิด ตำรวจที่ด่านได้เรียกให้รถของสมบัด สมพอนหยุดตรวจ หลังจากนั้นไม่นาน มีกลุ่มคนผลักเขาเข้าไปในรถอีกคันหนึ่งและขับออกไป ต่อหน้าต่อตาตำรวจ กล้องวงจรปิดยังมีภาพของบุคคลที่ไม่ทราบชื่อขับรถยนต์ของสมบัด สมพอนออกไปจากใจกลางเมือง การที่มีตำรวจอยู่ในที่เกิดเหตุการลักพาตัวสมบัด สมพอน และการที่เจ้าหน้าที่ไม่เข้าแทรกแซงขัดขวาง เป็นสัญญาณอย่างชัดเจนว่า คนของรัฐมีส่วนร่วมในการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีสมบัด สมพอน

ที่ผ่านมาทางการลาวอ้างครั้งแล้วครั้งเล่าว่า อยู่ระหว่างการสอบสวนการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีสมบัด สมพอน แต่ไม่เปิดเผยผลการสอบสวนต่อสาธารณะตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. 2556 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ได้เข้าพบอึ้งฉุ่ยเม้ง ภรรยาของสมบัด สมพอนเพียงสองครั้งในช่วง ม.ค. 2556 และ ธ.ค. 2560 โดยตำรวจไม่เคยเล่าให้ครอบครัวฟังเกี่ยวกับข้อมูลการสอบสวนที่สำคัญ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมาอาจมีการระงับการสอบสวนของตำรวจในทางปฏิบัติ โดยมีเจตนาและเป้าประสงค์บางอย่าง

เรายังเรียกร้องรัฐบาลลาวและไทย ให้คลี่คลายการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศลาว โดยล่าสุดคือ อ็อด ไชยะวง ผู้ลี้ภัยชาวลาวซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เขาหายตัวไปตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. 2562 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อ็อดได้รณรงค์อย่างเปิดเผยให้สังคมตระหนักถึงการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชน และการทุจริตซึ่งเกิดขึ้นในลาว ทั้งยังได้เข้าพบผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยความยากจนสุดโต่งและสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2562 ที่กรุงเทพฯ ก่อนที่ผู้รายงานพิเศษจะเยือนประเทศลาว มีการแสดงข้อกังวลต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับอ็อดในแถลงการณ์ร่วมของ

คณะทำงานด้านการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจแห่งสหประชาชาติ และผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติสามท่าน ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 25621

เรายังขอเรียนให้ท่านทราบถึงรายงานข่าวที่ว่า อิทธิพล สุขแป้น วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ชัชชาญ บุปผาวัลย์ และไกรเดช ลือเลิศ ซึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์และรัฐบาลทหารไทย และลี้ภัยอยู่ในลาว ทั้งหมดหายตัวไปในช่วงระหว่างเดือน มิ.ย. 2559 ถึง ธ.ค. 2561 สำหรับสามคนหลัง มีผู้พบเห็นศพของชัชชาญและไกรเดชอีกประมาณสองสัปดาห์ต่อมา อยู่ในแม่น้ำโขงฝั่งประเทศไทย ศพมีลักษณะถูกฟันจนอวัยวะขาด และมีการนำปูนซีเมนต์มาใส่ไว้ในช่องท้อง ส่วนศพที่สามซึ่งคาดว่าเป็นศพของสุรชัย มีรายงานผู้พบศพลอยขึ้นมาใกล้กัน จากนั้นก็หายไป ผลการทดสอบด้านพันธุกรรมเมื่อเดือน ม.ค. 2562 ยืนยันว่าทั้งสองศพเป็นชัชชาญและไกรเดช

เราเรียกร้องรัฐบาลลาวและไทยให้สอบสวนกรณีเหล่านี้ ตามแนวทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงชะตากรรมและที่อยู่ของพวกเขา

ทั้งรัฐบาลลาวและไทยต่างมีพันธกรณีทางกฎหมาย ที่จะต้องสอบสวนโดยพลัน อย่างรอบด้าน และอย่างไม่ลำเอียง และนำตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ และผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง มาลงโทษผ่านกระบวนการพิจารณาที่เป็นธรรม

เรายังกระตุ้นรัฐบาลลาวและไทยให้แสดงสัตยาบัน รับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหายโดยทันที โดยลาวและไทยได้ลงนามอนุสัญญานี้แล้วเมื่อเดือน ก.ย. 2551 และ ม.ค. 2555 ตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อนำเนื้อหาของอนุสัญญาไปกำหนดเป็นกฎหมายในประเทศ ให้มีการบังคับใช้ตามอนุสัญญา และให้ยอมรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหาย ในการรับและพิจารณาคำร้องหรือข้อมูลใด ๆ จากเหยื่อหรือผู้ซึ่งกระทำการแทนเหยื่อ หรือการรับข้อมูลจากรัฐภาคีอื่น ๆ

ประการสุดท้าย เราเรียกร้องประชาคมระหว่างประเทศ ให้ใช้โอกาสที่จะมีการทบทวนรายงานตามวาระของลาว ตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) เรียกร้องรัฐบาลลาวให้ทำการสอบสวนโดยพลันและอย่างเป็นผล ต่อการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีสมบัด สมพอน โดยการพิจารณารายงานตามวาระฉบับที่ 3 ของลาวจะมีขึ้นในวันที่ 21 มกราคม 2563 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ระหว่างการพิจารณารายงานตามวาระฉบับที่ 2 ของลาวในเดือน ม.ค. 2558 ประเทศภาคีสมาชิกสหประชาชาติ 10 แห่ง (ออสเตรเลีย แคนาดา ฟินแลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก โปแลนด์ โปรตุเกส สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) เสนอให้รัฐบาลลาวทำการสอบสวนอย่างเหมาะสมต่อการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีสมบัด สมพอน

จนกว่าจะมีการเปิดเผยชะตากรรมและที่อยู่ของผู้ตกเป็นเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหาย ประชาคมระหว่างประเทศไม่ควรหยุดเรียกร้องให้นำตัวพวกเขากลับสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย รัฐบาลลาวไม่ควรคิดว่าเราจะยุติการเรียกร้อง โดยเราจะยังเรียกร้องต่อไปจนกว่าจะทราบคำตอบที่แท้จริงต่อคำถามที่ว่า “สมบัด สมพอนอยู่ที่ไหน?”

องค์กรที่ลงนาม
1. 11.11.11
2. Action from Ireland (Afri)
3. Alliance Sud
4. Alternative ASEAN Network on Burma (ALTSEAN-Burma)
5. Alyansa Tigil Mina (Alliance to Stop Mining)
6. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
7. Armanshahr / OPEN ASIA
8. Article 19
9. ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR)
10. Asia Europe People’s Forum
11. Asian Federation Against Involuntary Disappearances (AFAD)
12. Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA)
13. Asian Resource Foundation
14. Association of Women for Awareness and Motivation (AWAM)
15. Awaz Foundation Pakistan – Centre for Development Services
16. Banglar Manabadhikar Sutaksha Mancha (MASUM)
17. Cambodian Human Rights and Development Association (ADHOC)
18. CCFD-Terre Solidaire
19. Center for Human Rights and Development (CHRD)
20. Centre for the Sustainable Use of Natural and Social Resources (CSNR)
21. China Labour Bulletin (CLB)
22. CIVICUS: World Alliance for Citizen Participation
23. Civil Rights Defenders
24. Commission for the Disappeared and Victims of Violence (KontraS)
25. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)
26. Community Self-Reliance Centre (CSRC)
27. DIGNIDAD Coalition
28. Dignity – Kadyr-kassiyet (KK)
29. Equality Myanmar
30. Europe solidaire sans frontières (ESSF)
31. Families of Victims of Involuntary Disappearance (FIND)
32. FIAN International
33. FIDH – International Federation for Human Rights
34. Focus on the Global South
35. Fresh Eyes - People to People Travel
36. Front Line Defenders
37. Global Justice Now
38. Globe International
39. มูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
40. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปากีสถาน (HRCP)
41. Human Rights in China (HRIC)
42. Human Rights Watch (HRW)
43. Indonesian Legal Aid Foundation (YLBHI)
44. INFORM Human Rights Documentation Centre
45. International Commission of Jurists (ICJ)
46. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
47. Justice for Iran (JFI)
48. Karapatan Alliance Philippines (Karapatan)
49. Kazakhstan International Bureau for Human Rights and the Rule of Law (KIBHR)
50. Korean House for International Solidarity (KHIS)
51. Land Watch Thai
52. Lao Movement for Human Rights (LMHR)
53. Lawyers' Rights Watch Canada (LRWC)
54. League for the Defence of Human Rights in Iran (LDDHI)
55. MADPET (Malaysians Against Death Penalty and Torture)
56. Maldivian Democracy Network (MDN)
57. มูลนิธิมานุษยะ
58. MONFEMNET National Network
59. National Commission for Justice and Peace (NCJP)
60. Nomadic Livestock Keepers' Development Fund
61. Odhikar
62. People's Solidarity for Participatory Democracy (PSPD)
63. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
64. People’s Vigilance Committee on Human Rights (PVCHR)
65. People’s Watch
66. Philippine Alliance of Human Rights Advocates (PAHRA)
67. Programme Against Custodial Torture & Impunity (PACTI)
68. Psychological Responsiveness NGO
69. Pusat KOMAS
70. Right to Life Human Rights Centre (R2L)
71. Rights Now Collective for Democracy (RN)
72. South India Cell for Human Rights Education and Monitoring (SICHREM)
73. Stiftung Asienhaus
74. STOP the War Coalition - Philippines (StWC-Philippines)
75. Sustainability and Participation through Education and Lifelong Learning (SPELL)
76. Taiwan Association for Human Rights (TAHR)
77. Tanggol Kalikasan – Public Interest Environmental Law Office (TK)
78. Task Force Detainees of the Philippines (TFDP)
79. The Corner House
80. Think Centre
81. Transnational Institute
82. Union for Civil Liberty (UCL)
83. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เวียดนาม (VCHR)
84. Vietnamese Women for Human Rights (VNWHR)
85. WomanHealth Philippines
86. Women’s Rehabilitation Centre (WOREC)
87. World Organisation Against Torture (OMCT)
88. World Rainforest Movement (WRM)

บุคคลที่ลงนาม
Andy Rutherford
Anuradha Chenoy
David JH Blake
Glenn Hunt
Jeremy Ironside
Jessica diCarlo
Kamal Mitra Chenoy
Mary Aileen D. Bacalso
Miles Kenney-Lazar
Nico Bakker
Philip Hirsch

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท