ศาลจังหวัดลำปางยกฟ้องเหยื่อทวงคืนผืนป่า อ.งาว จ.ลำปาง ชี้มีหลักฐานการทำกินมาก่อนตามภาพถ่ายทางอากาศปี 2545 และได้รับการคุ้มครองเพราะมีการจัดการทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน
ภาพ แสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ชาวบ้านแม่กวัก อ.งาว จ.ลำปาง (ซ้าย)
18 ธ.ค. 2562 ศาลลำปางมีนัดอ่านคำพิพากษากรณี วันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง หรือ แสงเดือน ตินยอด หญิงวัย 52 ปี ชาวบ้านแม่กวัก อ.งาว จ.ลำปาง ในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและมีอาวุธไว้ในครอบครอง โดยมีประชาชนจากสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ร่วมให้กำลังใจ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องทุกคดี และยังไม่ต้องย้ายออกจากพื้นที่จนกว่ากรมป่าไม้จะสามารถพิสูจน์ได้ว่านางแสงเดือนไม่เข้าข่ายการคุ้มครองตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิ.ย. 2541
“ดีใจมากเลย กินไม่ได้นอนไม่หลับมาหลายเดือน สู้มาตลอดค่ะ เราทำกินในที่ดินตรงนั้น ขาดรายได้มาหลายปี แต่วันนี้เห็นพี่น้องมาให้กำลังใจ มีคนให้กำลังใจในเฟซบุ๊ก อยากจะบอกรัฐบาลว่าอย่าดำเนินการกับคนจนแบบสองมาตรฐานแบบนี้เลย เราทุกข์อยู่แล้ว จนอยู่แล้ว ก็ยิ่งจนลงไปอีก นโยบายเขามาไม่เคยถามชุมชนเลย” นางวันหนึ่งกล่าวน้ำตาคลอหลังรับฟังคำพิพากษา
จากคำพิพากษา สรุปได้ว่า จำเลยขาดเจตนา การเข้าไปทำกินของจำเลยมีหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2545 อยู่ในกลุ่มประชาชนที่ได้รับการผ่อนผันตามคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 และพยานของรัฐทุกปากให้การว่าพื้นที่ตรงนี้มีการทำประโยชน์มาก่อนจริง เข้าหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ไม่ผิดอาญา เมื่อไม่ผิดคดีอาญา จึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายคดีแพ่งกว่า 1 ล้านบาท ในข้อหาทำให้โลกร้อน ส่วนคดีอาวุธปืน สืบได้ว่ากระท่อมนั้นเป็นที่เปิดโล่ง ซึ่งจำเลยใช้ประโยชน์เพียงชั่วคราว มีคนผ่านไปผ่านมาตลอด ใครก็สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ และไม่มีการตรวจลายนิ้วมือ ไม่สามารถชี้ชัดว่าเป็นของจำเลยจริง ให้ยกประโยชน์ให้จำเลย
ส่วนประเด็นว่าต้องออกจากที่ดินหรือไม่ต้องมีการพิสูจน์สิทธิ์ โดยการที่จะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือออกจากพื้นที่นั้นต้องให้กรมป่าไม้พิสูจน์สิทธิ์ตามมติคณะรัฐมนตรี 30 มิ.ย. 2541 ก่อน หากเข้าข่ายได้รับการคุ้มครองก็ไม่ต้องออกจากพื้นที่ แต่หากไม่ได้รับการคุ้มครองให้จำเลยย้ายออกจากพื้นที่ภายใน 60 วันนับจากวันที่การพิสูจน์สิทธิ์เสร็จสิ้น
นอกจากนั้น ศาลยังวินิจฉัยว่า การดำเนินการตามนโยบายโฉนดชุมชนของชุมชนบ้านแม่กวักตั้งแต่ปี 2556 นั้น เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 จึงเป็นนโยบายที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจยึดพื้นที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่ปฏิบัติตามดุลยพินิจของตัวเอง
แสงเดือน ตินยอด ถูกอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทดำเนินการให้ตัดฟันยางพาราสองครั้ง คือในปี 2556 และ 2558 ตามนโยบายทวงคืนผืนป่า ภายหลังได้รับการพิสูจน์ว่าพื้นที่ทำกิน 12 ไร่ของตนไม่ได้อยู่ในพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานฯ เมื่อลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจึงถูกเจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่งแจ้งความดำเนินคดีเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2561 แม้มีคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 คุ้มครอง และพิสูจน์ได้ว่าทำกินในพื้นที่มาก่อน ซึ่งคดีนี้เป็นหนึ่งใน 46,000 คดีบุกรุกพื้นที่ป่าในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยยังไม่เคยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใดจำแนกตัวเลขได้ชัดเจนว่ามีนายทุนถูกจับกุมเท่าไร
ทั้งนี้ มีผู้ร่วมลงนามสนับสนุนนางแสงเดือนผ่านเพจเฟซบุ๊กของมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ 271 คน และเนื่องจากคดีความยังไม่สิ้นสุด สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ในนามสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) จะผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมต่อนางแสงเดือนและเหยื่อทวงคืนผืนป่าทุกกรณีอย่างถึงที่สุดต่อไป
แถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)
กรณีนางแสงเดือนโดนคดี “ทวงคืนผืนป่า” รัฐต้องคืนความเป็นธรรมและต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ตามที่นางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่ง เข้าแจ้งดำเนินคดีในข้อหา “ร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ หรืออาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมสภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต” นับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 อันเป็นผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล คสช. แม้นางแสงเดือนจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่บุกรุกและเป็นผู้ยากไร้ แต่ก็ยังถูกดำเนินคดีทำให้ได้ความทุกข์อย่างหนักนั้น
สหพันธ์เกษตรกรกรเหนือ (สกน.) เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นรังแกคนยากจน รัฐไม่รับข้อฟังเท็จจจริงที่ปรากฏในพื้นที่ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน อันส่งผลให้ผู้หญิงคนจนคนหนึ่ง ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งด้านเศรษฐกิจที่ต้องเป็นหนี้และขาดรายได้จากสวนยางตั้งแต่ปี 2556 นับเป็นค่าเสียโอกาสจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อจิตใจของนางแสงเดือนและครอบครัว ถึงขั้นต้องหย่าร้าง กล่าวได้ว่า นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ตามแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกาศว่า ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าให้คนทั้งประเทศ โดยจะไม่ให้กระทบต่อคนจนผู้ยากไร้นั้น ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เห็นได้จากการตั้งแต่เริ่มต้นมีนโยบายทวงคืนผืนป่าเมื่อปี 2557 มีการแจ้งคดีบุกรุกป่าไม่ต่ำกว่า 46,000 คดี โดยไม่มีครั้งใดเลยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจำแนกตัวเลขว่า มีนายทุนถูกดำเนินคดีเท่าไร เพราะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ประจักษ์ชัดแล้วว่ามีแต่คนจนผู้ยากไร้และไม่มีที่ทำกินเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดีอย่างรวดเร็ว โดยที่พื้นที่ป่าก็ไม่ได้เพิ่มมากขึ้น
กรณีนางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ซึ่งได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการอำนวยความยุติธรรมจนถึงที่สุด ดังที่คนไทยคนหนึ่งพึงจะได้รับ และจะเป็นบทพิสูจน์ว่า รัฐมองเห็นคนจนเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนคนไทยที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกันจริงหรือไม่ การทำลายชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำกินโดยสุจริตหวังสร้างอนาคตที่ดีให้ครอบครัวจนชีวิตเกือบล่มสลายรัฐจะเยียวยาเธออย่างไร
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ในนาม “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ)” และประชาชนที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนการต่อสู้ของนางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ขอประกาศ ณ ที่แห่งนี้ว่า เราคนจนทั้งผองจะไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง และให้ความลำเอียงแห่งรัฐมาทำร้ายเราอีกต่อไป เราพร้อมที่จะลุกขึ้นต่อสู้กับนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังเช่นกรณีนางแสงเดือน ฯ ได้แสดงให้ประชาชนทั้งหลายได้ประจักษ์แล้วว่า นโยบายทวงคืนผืนป่า มีไว้เพื่อรังแกคนจน เอื้อนายทุนและนักการเมืองอย่างชัดเจน เราจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องและสร้างบรรทัดฐานในสังคมที่เป็นธรรม และไม่ให้เกิดการดำเนินการสองมาตรฐานกับประชาชนในสังคมไทยอีกต่อไป
เชื่อมั่นและศรัทธาในพลังประชาชน
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)
ณ หน้าศาลจังหวัดลำปาง / วันที่ 18 ธันวาคม 2562
รายชื่อบุคคลและองค์กรร่วมสนับสนุน
- มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
- สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
- เครือข่ายสลัมสี่ภาค
- กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai)
- นิตยา ม่วงกลาง
- จุติอร รัตนอมรเวช
- ณัฐวุฒิ อุปปะ ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
- ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์
- ถาวร หลักแหลม เครือข่ายชาติพันธุ์จังหวัดลำปาง และสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือจังหวัดลำปาง
- พวงศิริ บุญจา
- นายชนะพงศ์ ลาภมา
- นุชนารถ แท่นทอง
- บัณฑิตา อย่างดี
- ประสงค์ ศรีจันทร์ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
- วศิน พงษ์เก่า
- ประภาพร ปรียาภัสวรสกุล
- นางสาวสุวดี ทะนุบำรุงศาสตร์
- ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
- อรุณ เยละ
- นางสาวกาญจนา ปัญญาพรม
- เมษยา เสมอเชื้อ
- สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
- ประยงค์ ดอกลำใย
- พชร คำชำนาญ
- วราภรณ์ สิทธิศร
- นายนัฐวุฒิ กาหลง
- คุณภัทร คะชะนา
- เครือข่ายชาวเล อันดามัน
- เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้
- คะติมะ หลี่จ๊ะ
- สุกัลยา เชื้อเมืองพาน
- สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล จังหวัดพะเยา
- คำจันทร์ คำประเสริฐ
- นิรมล สุธรรม
- สมจิตร มาตาอุปถัมภ
- ธารารัตน์ ตรีรัตน์พันธุ์
- วัชเรศน์ ภิญญา
- ณรงค์ เพ็ญศักดิ์สงวน
- พรณรงค์ อู่ทอง
- รจิรัตน์ ม่วงพูล
- พรรณิกา โสตถิพันธุ์ สงขลาฟอรั่ม
- บุญส่ง เจริญผล
- ศราวุฒิ บุญมร
- ขวัญตา เขียวขำ ชาวสวน บางสะพาน
- สุนันทา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
- ประทีป พูลสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (E-san Land Reform Network)
- บัณชิญา ภิรมย์ภักดิ์
- วิไลลักษณ์ ปัญญาเรือง
- มงคล เหลืองหิรัญ
- กรองกาญจน์ หิรัญรักษ์
- จันทรวัทน์ อาสนานิ
- สพ.ญ.ลักษณา นิลฉวี
- สุภัทรา บุญปัญญโรจน์
- สุพิชญ์ บุญล้อม ลพบุรี
- มารุต สุขสวัสดิ์
- จรวยพร จึงเสถียรทรัพย์
- วิทยา สุธาเรืองเกียรติ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
- นายธีรสิทธิ์ ใจน้ำ
- อัมรา ภัทรกุลทวี
- วิพัฒน์ กู่แก้วเกษม
- นายปั๋นแก้ว อุ่นสืบ บ้านท่าสี อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
- สุดา แก่นจันทร์
- พิมพ์ศจี ต่อมตุ้ย
- กิตติมศักดิ์ พรพิพัฒน์กุล
- เลิศชัยยุทธ เพ็ญพักตร์
- อาอูน หมั่นเฮิง
- เมลี่ จงกุลกิจวัฒนา
- ธนทัต มนิศรางกูล
- เก็จมณี อิ่นแก้ว
- ชมัยพร มาลัยทัต
- โจนาธาน เพิ่มพูน
- กชกร ตระกูลบางคล้า
- กาญจนา แถลงกิจ
- รัตนพร เตชะรัชต์กิจ
- แสงตะวัน งามกาหลง
- นายเสถียร กองโส
- กนิษฐ บุญทราพงษ์
- กอบกุล เกื้อกูลวงษ์
- เฉลิมขวัญ ชุติมา
- เสรี จินตกานนท์
- ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว
- จิตรวรรณ สุวรรณ
- มนตรี จันทวงศ์
- ทัทยา อนุสสรราชกิจ
- องอาจ ฤทธิ์ปรีชา
- วาลินี ยู
- รุ่งตะวัน โยวอ
- อิทธิพัทธ์ นาคะวิโรจน์
- นาตยา พิมพ์พล จังหวัดตรัง
- สำเริง เมฆา
- สมพล โชคดีศรีสวัสดิ์ จังหวัดนครราชสีมา
- กัญญารัตน์ ตุ้มปามา ชาวบ้านพรสวรรค์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- พิชิต ชาทหาร
- นเรศ กองสมบัติ
- ส.รัตนมณี พลกล้า
- มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
- จำรูญ สวยดี จังหวัดปราจีนบุรี
- กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนฯ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
- เรนันต์ดร ศรียกเฮ้ง
- อนันต์ วิลัยฤทธิ์ ชมรมพิทักษ์ธรรมชาติ (คนกับป่า) จังหวัดพิษณุโลก
- มิตรชัย พอใจ
- ภัทรานิษฐ์ โพธิยารมย์
- ธนวรรณ รุ่งเรือง
- โอฬาร อ่องฬะ
- สุวิทย์ สิทธิไกรสร
- พีระศักดิ์ ภู่อภิสิทธิ์
- สุภาพ สติยศ
- ละเอียด รุ่งก่อน
- มัญชยา แก้วกันหา
- อรุณ สิริพงศ์โสภณ จังหวัดกระบี่
- วาสนา ปัญญาแก้ว
- ศรีไพร นนทรี กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
- สุชาติ สล่าแว
- จักรพันธ์ เถื่อนมูลแสน
- มัทนา ธรรมโชติ
- ปิยะมาศ พันธุพิทักษ์
- กิตติ โพธิ์เตมีย์ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
- สุรพงษ์ พันธ์คำ
- วรินทร์ สารฤทธิคาม
- สาโรจน์ คงยืน
- โยธิน ผลอรรถ
- นิพล โชคโสด
- วิศรุต ศรีจันทร์
- ปสุตา ชื้นขจร
- กนกภรณ์ ดวงธิ
- ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์
- วิชัย ศรีบุญเรือง
- พรชัย วิสุทธากุล
- กลุ่มรณรงค์สิทธิในความชอบธรรม
- ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
- นายภิเศก ศักดิ์เพชร
- วิไลลักษณ์ หลักแหลม
- วิลัญดา จำปาทอง
- เรขา ไชยแสงราช กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส สกลนคร
- งามศุกร์ รัตนเสถียร
- บุญเหลือ ชูอิ่ม
- สมเจตน์ นิมานะ
- กัญญาภัค พิชญุตม์
- วาสนา วาสิงหน
- ชาตรี รุ่งศรีสุขจิต
- วิบูลย์ ภูริชชยันต์ จังหวัดลำพูน
- ภานุพงศ์ ยาวิไชย จังหวัดน่าน
- จิรายุ มัลลิกา
- ชัยพร นำประทีป
- ธาณินทร์ พนาสนธิ์
- จำรัส สุขรวย
- วรินทร ทางสว่างชัย
- ประยุทธ์ อังคะปาน
- ปาลิกา ลัทธิธรรม
- เชน สุขคุ้ม
- จิรญา สุอุทัย
- แสนดี มณฑา 242 ม.9 ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
- รากทอง โอ่โดเชา
- กฤตย พวงสุวรรณ ธนาคารต้นไม้สาขาป่าพะยอม
- วราลักษณ์ กาพา
- กันตวิชญ์ แก้วกาศ
- ประกาศ เรืองดิษฐ์
- สะอาด มีใส
- มิตร เผ่าแสงนิล
- ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์
- นฤชล ไชยสาร
- นิคม บุญเสริม
- ไผท ภูธา
- วภีพร ธรรมา ชมรมพิทักษ์ธรรมชาติ (คนกับป่า) จังหวัดพิษณุโลก
- อันธิฌา แสงชัย
- วุฒิชัย แก้วลำหัด ชุมชนวังหีบพัฒนาตนเอง อ.ทุ่งสง
- สตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
- วิจิตรา เขม้นเขตวิทย์
- มัจฉา พรอินทร์
- สมหมาย โสภาวงค์ เครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิสกลนคร
- เมย์ ธาราไพศาล
- อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์
- บุญสืบ เผือกอ่อน
- หทัยรัตน์ สุดา
- รอกีเย๊าะ ยูโซะ
- อรสา มูลเมือง
- งามศุกร์ รัตนเสถียร
- ตาฬิกา บรรผนึก จังหวัดสกลนคร
- วรวุฒิ วีระชิงไชย
- สุดตา คำน้อย กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส สกลนคร
- วนิดา กิตติคุณทวี
- จุมพล จิตธรรมพงศ์
- ธัญรัศม์ คล้ายขำ
- ไชยฤทธิ์ เศวตวงษ์
- อภิสิทธิ์ ติสันเทียะ
- ปราณี ศรีกำเนิด
- พรไพลิน แก้ววังปา
- ชมัยพร แต่งเกลี้ยง
- จิดาภา ทองประทุน
- โชคชัย พุทธสอน
- ศรินพร พุ่มมณี
- เอกลักษณ์ ชฎาดำ จังหวัดราชบุรี
- พรเพ็ญ บุญยืน
- ลำไย อ้อมนอก
- พีระพรรณ์ นันทศักดิ์
- สันติสุข กาญจนประกร
- สุกัญญา รื่นพิทักษ์
- ปัญโญ สำรวมจิตร ยโสธร
- ยุทธเดช ขนาดกำจาย
- ธรรมศักดิ์ จันทร์กลาง ชาวนาโนนสูง นครราชสีมา
- ณัฐพงษ์ คุ้มบุ่งค้า
- โสภา วงศ์ใหญ่ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
- มาลี สิทธิเกรียงไกร
- สารัช โชคภูผา
- ทวิทย์ บุญช่วย
- สลักจิต คำใส
- เศรษฐี โชคดั่งน้ำไหล
- เฉลิมชัย วัดจัง
- จำนงค์ ผิวทอง
- จิณห์วรา ช่วยโชติ
- ศักยะ ตั้งอยู่
- สิริกัญญา กาญจนประกร
- ประสาน อ่วมจา
- หิรัญย์เศรษฐ แสงเทียน
- พนา ชอบขุนเขา คนรุ่นใหม่ปกาเก่อญอ แม่ฮ่องสอน
- นายศราวุธ ศรีวัง
- จำนงค์ โพธิ์พันธุ์
- ไมตรี จงไกรจักร
- สุชัย บุญล้อม
- นิรันดร์ เกตุแก้ว
- สร้อยแก้ว คำมาลา
- บัณฑิต มั่นคง
- สุขเกษม พยาธิคุณ
- มณฑา อัจฉริยคุณ
- นางศิริ อิยวญชัย
- นางยอหลี โอเปราะ
- นางแจ่มศรี สภาดอย
- นางเคเบละ ปะกว้า
- นายศุภชัย ฉันทาอนุกูล
- นส.ชีราพา ฉันทาอนุกูล
- ทักษิณ ศรีบุญเรือง
- สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
- จำนงค์ จิตนิรัตน์
- เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.)
- สุริยันต์ ทองหนูเอียด
- หนูเดือน แก้วบัวขาว
- ทวีศักดิ์ มณีวรรณ์
- สำราญ โตเมือง
- รุ่งทิวา ปัญญาอุด
- โศรยา จักรนารายณ์
- นิศมา ปรักมานนท์
- นายวชิรพร พรหมปัญญา
- สินชัย รู้เพราะจีน
- พรพินันท์ โชติวิริยะนนท์
- วันเสาร์ ภุงาม จังหวัดเพชรบุรี
- อนุชา ตาดี
- ปริศนา พรหมา
- ศุภโมกข์ ศิลารักษ์
- นายภควินท์ แสงคง
- เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย พังงา ระนอง ชุมพร ประจวบฯ
- นางทัศนา นาเวศน์ เครือข่ายที่ดิน จ.พังงา คปสม.
- สุฟ้า บัณฑุกุล
- สรศักดิ์ เสนาะพรไพร
- สุขศรี ชิตติพัทธ์
- สุพอ เจาะโด
- มุเสาะ เสนาะพรไพร
- สะบุเว พาลึ
- บุญเยี่ยม เหลาสะอาด
- ศุภิสรา ลังบุปผา
- ประธิกร เด่นเกศินีล้ำ
- อรุณ อภิรักษ์วรากร กรรมการธรรมาภิบาล จ.ระนอง
- บุญ แซ่จุ่ง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.)
- ธีรพร อรุณกาญจนโรจน์
- บุษบา เดหลุ่ม
- สุริยัน จรณาภรณ์
- พิชยภรณ์ อภิโชคนิธิฉัตร์
- ธารทิพย์ ศิลปะชัย
- บุญตา สืบประดิษฐ์
- เจนจิรา สะอาดโฉม
- จรูญ เจอพมาน