Skip to main content
sharethis

ศาลจังหวัดลำปางยกฟ้องเหยื่อทวงคืนผืนป่า อ.งาว จ.ลำปาง ชี้มีหลักฐานการทำกินมาก่อนตามภาพถ่ายทางอากาศปี 2545 และได้รับการคุ้มครองเพราะมีการจัดการทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน

ภาพ แสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ชาวบ้านแม่กวัก อ.งาว จ.ลำปาง (ซ้าย)

18 ธ.ค. 2562 ศาลลำปางมีนัดอ่านคำพิพากษากรณี วันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง หรือ แสงเดือน ตินยอด หญิงวัย 52 ปี ชาวบ้านแม่กวัก อ.งาว จ.ลำปาง ในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและมีอาวุธไว้ในครอบครอง โดยมีประชาชนจากสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ร่วมให้กำลังใจ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องทุกคดี และยังไม่ต้องย้ายออกจากพื้นที่จนกว่ากรมป่าไม้จะสามารถพิสูจน์ได้ว่านางแสงเดือนไม่เข้าข่ายการคุ้มครองตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิ.ย. 2541

“ดีใจมากเลย กินไม่ได้นอนไม่หลับมาหลายเดือน สู้มาตลอดค่ะ เราทำกินในที่ดินตรงนั้น ขาดรายได้มาหลายปี แต่วันนี้เห็นพี่น้องมาให้กำลังใจ มีคนให้กำลังใจในเฟซบุ๊ก อยากจะบอกรัฐบาลว่าอย่าดำเนินการกับคนจนแบบสองมาตรฐานแบบนี้เลย เราทุกข์อยู่แล้ว จนอยู่แล้ว ก็ยิ่งจนลงไปอีก นโยบายเขามาไม่เคยถามชุมชนเลย” นางวันหนึ่งกล่าวน้ำตาคลอหลังรับฟังคำพิพากษา

จากคำพิพากษา สรุปได้ว่า จำเลยขาดเจตนา การเข้าไปทำกินของจำเลยมีหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2545 อยู่ในกลุ่มประชาชนที่ได้รับการผ่อนผันตามคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 และพยานของรัฐทุกปากให้การว่าพื้นที่ตรงนี้มีการทำประโยชน์มาก่อนจริง เข้าหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ไม่ผิดอาญา เมื่อไม่ผิดคดีอาญา จึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายคดีแพ่งกว่า 1 ล้านบาท ในข้อหาทำให้โลกร้อน ส่วนคดีอาวุธปืน สืบได้ว่ากระท่อมนั้นเป็นที่เปิดโล่ง ซึ่งจำเลยใช้ประโยชน์เพียงชั่วคราว มีคนผ่านไปผ่านมาตลอด ใครก็สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ และไม่มีการตรวจลายนิ้วมือ ไม่สามารถชี้ชัดว่าเป็นของจำเลยจริง ให้ยกประโยชน์ให้จำเลย

ส่วนประเด็นว่าต้องออกจากที่ดินหรือไม่ต้องมีการพิสูจน์สิทธิ์ โดยการที่จะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือออกจากพื้นที่นั้นต้องให้กรมป่าไม้พิสูจน์สิทธิ์ตามมติคณะรัฐมนตรี 30 มิ.ย. 2541 ก่อน หากเข้าข่ายได้รับการคุ้มครองก็ไม่ต้องออกจากพื้นที่ แต่หากไม่ได้รับการคุ้มครองให้จำเลยย้ายออกจากพื้นที่ภายใน 60 วันนับจากวันที่การพิสูจน์สิทธิ์เสร็จสิ้น

นอกจากนั้น ศาลยังวินิจฉัยว่า การดำเนินการตามนโยบายโฉนดชุมชนของชุมชนบ้านแม่กวักตั้งแต่ปี 2556 นั้น เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 จึงเป็นนโยบายที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจยึดพื้นที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่ปฏิบัติตามดุลยพินิจของตัวเอง

แสงเดือน ตินยอด ถูกอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทดำเนินการให้ตัดฟันยางพาราสองครั้ง คือในปี 2556 และ 2558 ตามนโยบายทวงคืนผืนป่า ภายหลังได้รับการพิสูจน์ว่าพื้นที่ทำกิน 12 ไร่ของตนไม่ได้อยู่ในพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานฯ เมื่อลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจึงถูกเจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่งแจ้งความดำเนินคดีเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2561 แม้มีคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 คุ้มครอง และพิสูจน์ได้ว่าทำกินในพื้นที่มาก่อน ซึ่งคดีนี้เป็นหนึ่งใน 46,000 คดีบุกรุกพื้นที่ป่าในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยยังไม่เคยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใดจำแนกตัวเลขได้ชัดเจนว่ามีนายทุนถูกจับกุมเท่าไร

ทั้งนี้ มีผู้ร่วมลงนามสนับสนุนนางแสงเดือนผ่านเพจเฟซบุ๊กของมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ 271 คน และเนื่องจากคดีความยังไม่สิ้นสุด สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ในนามสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) จะผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมต่อนางแสงเดือนและเหยื่อทวงคืนผืนป่าทุกกรณีอย่างถึงที่สุดต่อไป

 

แถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)

กรณีนางแสงเดือนโดนคดี “ทวงคืนผืนป่า” รัฐต้องคืนความเป็นธรรมและต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

ตามที่นางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่ง เข้าแจ้งดำเนินคดีในข้อหา “ร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ หรืออาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมสภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต” นับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 อันเป็นผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล คสช. แม้นางแสงเดือนจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่บุกรุกและเป็นผู้ยากไร้ แต่ก็ยังถูกดำเนินคดีทำให้ได้ความทุกข์อย่างหนักนั้น

สหพันธ์เกษตรกรกรเหนือ (สกน.) เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นรังแกคนยากจน รัฐไม่รับข้อฟังเท็จจจริงที่ปรากฏในพื้นที่ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน อันส่งผลให้ผู้หญิงคนจนคนหนึ่ง ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งด้านเศรษฐกิจที่ต้องเป็นหนี้และขาดรายได้จากสวนยางตั้งแต่ปี 2556 นับเป็นค่าเสียโอกาสจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อจิตใจของนางแสงเดือนและครอบครัว ถึงขั้นต้องหย่าร้าง กล่าวได้ว่า นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ตามแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกาศว่า ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าให้คนทั้งประเทศ โดยจะไม่ให้กระทบต่อคนจนผู้ยากไร้นั้น ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เห็นได้จากการตั้งแต่เริ่มต้นมีนโยบายทวงคืนผืนป่าเมื่อปี 2557 มีการแจ้งคดีบุกรุกป่าไม่ต่ำกว่า 46,000 คดี โดยไม่มีครั้งใดเลยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจำแนกตัวเลขว่า มีนายทุนถูกดำเนินคดีเท่าไร เพราะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ประจักษ์ชัดแล้วว่ามีแต่คนจนผู้ยากไร้และไม่มีที่ทำกินเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดีอย่างรวดเร็ว โดยที่พื้นที่ป่าก็ไม่ได้เพิ่มมากขึ้น

กรณีนางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ซึ่งได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการอำนวยความยุติธรรมจนถึงที่สุด ดังที่คนไทยคนหนึ่งพึงจะได้รับ และจะเป็นบทพิสูจน์ว่า รัฐมองเห็นคนจนเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนคนไทยที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกันจริงหรือไม่ การทำลายชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำกินโดยสุจริตหวังสร้างอนาคตที่ดีให้ครอบครัวจนชีวิตเกือบล่มสลายรัฐจะเยียวยาเธออย่างไร

สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ในนาม “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ)” และประชาชนที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนการต่อสู้ของนางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ขอประกาศ ณ ที่แห่งนี้ว่า เราคนจนทั้งผองจะไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง และให้ความลำเอียงแห่งรัฐมาทำร้ายเราอีกต่อไป เราพร้อมที่จะลุกขึ้นต่อสู้กับนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังเช่นกรณีนางแสงเดือน ฯ ได้แสดงให้ประชาชนทั้งหลายได้ประจักษ์แล้วว่า นโยบายทวงคืนผืนป่า มีไว้เพื่อรังแกคนจน เอื้อนายทุนและนักการเมืองอย่างชัดเจน เราจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องและสร้างบรรทัดฐานในสังคมที่เป็นธรรม และไม่ให้เกิดการดำเนินการสองมาตรฐานกับประชาชนในสังคมไทยอีกต่อไป

เชื่อมั่นและศรัทธาในพลังประชาชน
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)
ณ หน้าศาลจังหวัดลำปาง / วันที่ 18 ธันวาคม 2562

รายชื่อบุคคลและองค์กรร่วมสนับสนุน

  1. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
  2. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
  3. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
  4. กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai)
  5. นิตยา ม่วงกลาง
  6. จุติอร รัตนอมรเวช
  7. ณัฐวุฒิ อุปปะ ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
  8. ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ 
  9. ถาวร หลักแหลม เครือข่ายชาติพันธุ์จังหวัดลำปาง และสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือจังหวัดลำปาง
  10. พวงศิริ บุญจา
  11. นายชนะพงศ์ ลาภมา
  12. นุชนารถ แท่นทอง
  13. บัณฑิตา อย่างดี
  14. ประสงค์ ศรีจันทร์ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
  15. วศิน พงษ์เก่า
  16. ประภาพร ปรียาภัสวรสกุล
  17. นางสาวสุวดี ทะนุบำรุงศาสตร์
  18. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
  19. อรุณ เยละ
  20. นางสาวกาญจนา ปัญญาพรม
  21. เมษยา เสมอเชื้อ
  22. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  23. ประยงค์ ดอกลำใย
  24. พชร คำชำนาญ
  25. วราภรณ์ สิทธิศร
  26. นายนัฐวุฒิ กาหลง
  27. คุณภัทร คะชะนา
  28. เครือข่ายชาวเล อันดามัน
  29. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้
  30. คะติมะ หลี่จ๊ะ
  31. สุกัลยา เชื้อเมืองพาน
  32. สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล จังหวัดพะเยา
  33. คำจันทร์ คำประเสริฐ
  34. นิรมล สุธรรม
  35. สมจิตร มาตาอุปถัมภ
  36. ธารารัตน์ ตรีรัตน์พันธุ์
  37. วัชเรศน์ ภิญญา
  38. ณรงค์ เพ็ญศักดิ์สงวน
  39. พรณรงค์ อู่ทอง
  40. รจิรัตน์ ม่วงพูล
  41. พรรณิกา โสตถิพันธุ์ สงขลาฟอรั่ม
  42. บุญส่ง เจริญผล
  43. ศราวุฒิ บุญมร
  44. ขวัญตา เขียวขำ ชาวสวน บางสะพาน
  45. สุนันทา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
  46. ประทีป พูลสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช
  47. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (E-san Land Reform Network)
  48. บัณชิญา ภิรมย์ภักดิ์
  49. วิไลลักษณ์ ปัญญาเรือง
  50. มงคล เหลืองหิรัญ
  51. กรองกาญจน์ หิรัญรักษ์
  52. จันทรวัทน์ อาสนานิ
  53. สพ.ญ.ลักษณา นิลฉวี
  54. สุภัทรา บุญปัญญโรจน์
  55. สุพิชญ์ บุญล้อม ลพบุรี
  56. มารุต สุขสวัสดิ์
  57. จรวยพร จึงเสถียรทรัพย์
  58. วิทยา สุธาเรืองเกียรติ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
  59. นายธีรสิทธิ์ ใจน้ำ
  60. อัมรา ภัทรกุลทวี
  61. วิพัฒน์ กู่แก้วเกษม
  62. นายปั๋นแก้ว อุ่นสืบ บ้านท่าสี อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
  63. สุดา แก่นจันทร์
  64. พิมพ์ศจี ต่อมตุ้ย
  65. กิตติมศักดิ์ พรพิพัฒน์กุล
  66. เลิศชัยยุทธ เพ็ญพักตร์
  67. อาอูน หมั่นเฮิง
  68. เมลี่ จงกุลกิจวัฒนา
  69. ธนทัต มนิศรางกูล
  70. เก็จมณี อิ่นแก้ว
  71. ชมัยพร มาลัยทัต
  72. โจนาธาน เพิ่มพูน
  73. กชกร ตระกูลบางคล้า
  74. กาญจนา แถลงกิจ
  75. รัตนพร เตชะรัชต์กิจ
  76. แสงตะวัน งามกาหลง
  77. นายเสถียร กองโส
  78. กนิษฐ บุญทราพงษ์
  79. กอบกุล เกื้อกูลวงษ์
  80. เฉลิมขวัญ ชุติมา
  81. เสรี จินตกานนท์
  82. ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว
  83. จิตรวรรณ สุวรรณ
  84. มนตรี จันทวงศ์
  85. ทัทยา อนุสสรราชกิจ
  86. องอาจ ฤทธิ์ปรีชา
  87. วาลินี ยู
  88. รุ่งตะวัน โยวอ
  89. อิทธิพัทธ์ นาคะวิโรจน์
  90. นาตยา พิมพ์พล จังหวัดตรัง
  91. สำเริง เมฆา
  92. สมพล โชคดีศรีสวัสดิ์ จังหวัดนครราชสีมา
  93. กัญญารัตน์ ตุ้มปามา ชาวบ้านพรสวรรค์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
  94. พิชิต ชาทหาร
  95. นเรศ กองสมบัติ
  96. ส.รัตนมณี พลกล้า
  97. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  98. จำรูญ สวยดี จังหวัดปราจีนบุรี
  99. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนฯ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
  100. เรนันต์ดร ศรียกเฮ้ง
  101. อนันต์ วิลัยฤทธิ์ ชมรมพิทักษ์ธรรมชาติ (คนกับป่า) จังหวัดพิษณุโลก
  102. มิตรชัย พอใจ
  103. ภัทรานิษฐ์ โพธิยารมย์
  104. ธนวรรณ รุ่งเรือง
  105. โอฬาร อ่องฬะ
  106. สุวิทย์ สิทธิไกรสร
  107. พีระศักดิ์ ภู่อภิสิทธิ์
  108. สุภาพ สติยศ
  109. ละเอียด รุ่งก่อน
  110. มัญชยา แก้วกันหา
  111. อรุณ สิริพงศ์โสภณ จังหวัดกระบี่
  112. วาสนา ปัญญาแก้ว
  113. ศรีไพร นนทรี กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
  114. สุชาติ สล่าแว
  115. จักรพันธ์ เถื่อนมูลแสน
  116. มัทนา ธรรมโชติ
  117. ปิยะมาศ พันธุพิทักษ์
  118. กิตติ โพธิ์เตมีย์ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
  119. สุรพงษ์ พันธ์คำ
  120. วรินทร์ สารฤทธิคาม
  121. สาโรจน์ คงยืน
  122. โยธิน ผลอรรถ
  123. นิพล โชคโสด
  124. วิศรุต ศรีจันทร์
  125. ปสุตา ชื้นขจร
  126. กนกภรณ์ ดวงธิ
  127. ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์
  128. วิชัย ศรีบุญเรือง
  129. พรชัย วิสุทธากุล
  130. กลุ่มรณรงค์สิทธิในความชอบธรรม
  131. ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
  132. นายภิเศก ศักดิ์เพชร
  133. วิไลลักษณ์ หลักแหลม
  134. วิลัญดา จำปาทอง
  135. เรขา ไชยแสงราช กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส สกลนคร
  136. งามศุกร์ รัตนเสถียร
  137. บุญเหลือ ชูอิ่ม
  138. สมเจตน์ นิมานะ
  139. กัญญาภัค พิชญุตม์
  140. วาสนา วาสิงหน
  141. ชาตรี รุ่งศรีสุขจิต
  142. วิบูลย์ ภูริชชยันต์ จังหวัดลำพูน
  143. ภานุพงศ์ ยาวิไชย จังหวัดน่าน
  144. จิรายุ มัลลิกา
  145. ชัยพร นำประทีป
  146. ธาณินทร์ พนาสนธิ์
  147. จำรัส สุขรวย
  148. วรินทร ทางสว่างชัย
  149. ประยุทธ์ อังคะปาน
  150. ปาลิกา ลัทธิธรรม
  151. เชน สุขคุ้ม
  152. จิรญา สุอุทัย
  153. แสนดี มณฑา 242 ม.9 ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
  154. รากทอง โอ่โดเชา
  155. กฤตย พวงสุวรรณ ธนาคารต้นไม้สาขาป่าพะยอม
  156. วราลักษณ์ กาพา
  157. กันตวิชญ์ แก้วกาศ
  158. ประกาศ เรืองดิษฐ์
  159. สะอาด มีใส
  160. มิตร เผ่าแสงนิล
  161. ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์
  162. นฤชล ไชยสาร
  163. นิคม บุญเสริม
  164. ไผท ภูธา
  165. วภีพร ธรรมา ชมรมพิทักษ์ธรรมชาติ (คนกับป่า) จังหวัดพิษณุโลก
  166. อันธิฌา แสงชัย
  167. วุฒิชัย แก้วลำหัด ชุมชนวังหีบพัฒนาตนเอง อ.ทุ่งสง
  168. สตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
  169. วิจิตรา เขม้นเขตวิทย์
  170. มัจฉา พรอินทร์
  171. สมหมาย โสภาวงค์ เครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิสกลนคร
  172. เมย์ ธาราไพศาล
  173. อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์
  174. บุญสืบ เผือกอ่อน
  175. หทัยรัตน์ สุดา
  176. รอกีเย๊าะ ยูโซะ
  177. อรสา มูลเมือง
  178. งามศุกร์ รัตนเสถียร
  179. ตาฬิกา บรรผนึก จังหวัดสกลนคร
  180. วรวุฒิ วีระชิงไชย
  181. สุดตา คำน้อย กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส สกลนคร
  182. วนิดา กิตติคุณทวี
  183. จุมพล จิตธรรมพงศ์
  184. ธัญรัศม์ คล้ายขำ
  185. ไชยฤทธิ์ เศวตวงษ์
  186. อภิสิทธิ์ ติสันเทียะ
  187. ปราณี ศรีกำเนิด
  188. พรไพลิน แก้ววังปา
  189. ชมัยพร แต่งเกลี้ยง
  190. จิดาภา ทองประทุน
  191. โชคชัย พุทธสอน
  192. ศรินพร พุ่มมณี
  193. เอกลักษณ์ ชฎาดำ จังหวัดราชบุรี
  194. พรเพ็ญ บุญยืน
  195. ลำไย อ้อมนอก
  196. พีระพรรณ์ นันทศักดิ์
  197. สันติสุข กาญจนประกร
  198. สุกัญญา รื่นพิทักษ์
  199. ปัญโญ สำรวมจิตร ยโสธร
  200. ยุทธเดช ขนาดกำจาย
  201. ธรรมศักดิ์ จันทร์กลาง ชาวนาโนนสูง นครราชสีมา
  202. ณัฐพงษ์ คุ้มบุ่งค้า
  203. โสภา วงศ์ใหญ่ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
  204. มาลี สิทธิเกรียงไกร
  205. สารัช โชคภูผา
  206. ทวิทย์ บุญช่วย
  207. สลักจิต คำใส
  208. เศรษฐี โชคดั่งน้ำไหล
  209. เฉลิมชัย วัดจัง
  210. จำนงค์ ผิวทอง
  211. จิณห์วรา ช่วยโชติ
  212. ศักยะ ตั้งอยู่
  213. สิริกัญญา กาญจนประกร
  214. ประสาน อ่วมจา
  215. หิรัญย์เศรษฐ แสงเทียน
  216. พนา ชอบขุนเขา คนรุ่นใหม่ปกาเก่อญอ แม่ฮ่องสอน
  217. นายศราวุธ ศรีวัง
  218. จำนงค์ โพธิ์พันธุ์
  219. ไมตรี จงไกรจักร
  220. สุชัย บุญล้อม
  221. นิรันดร์ เกตุแก้ว
  222. สร้อยแก้ว คำมาลา
  223. บัณฑิต มั่นคง
  224. สุขเกษม พยาธิคุณ
  225. มณฑา อัจฉริยคุณ
  226. นางศิริ อิยวญชัย
  227. นางยอหลี โอเปราะ
  228. นางแจ่มศรี สภาดอย
  229. นางเคเบละ ปะกว้า
  230. นายศุภชัย ฉันทาอนุกูล
  231. นส.ชีราพา ฉันทาอนุกูล
  232. ทักษิณ ศรีบุญเรือง
  233. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
  234. จำนงค์ จิตนิรัตน์
  235. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.)
  236. สุริยันต์ ทองหนูเอียด
  237. หนูเดือน แก้วบัวขาว
  238. ทวีศักดิ์ มณีวรรณ์
  239. สำราญ โตเมือง
  240. รุ่งทิวา ปัญญาอุด
  241. โศรยา จักรนารายณ์
  242. นิศมา ปรักมานนท์
  243. นายวชิรพร พรหมปัญญา
  244. สินชัย รู้เพราะจีน
  245. พรพินันท์ โชติวิริยะนนท์
  246. วันเสาร์ ภุงาม จังหวัดเพชรบุรี
  247. อนุชา ตาดี
  248. ปริศนา พรหมา
  249. ศุภโมกข์ ศิลารักษ์
  250. นายภควินท์ แสงคง
  251. เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย พังงา ระนอง ชุมพร ประจวบฯ
  252. นางทัศนา นาเวศน์ เครือข่ายที่ดิน จ.พังงา คปสม.
  253. สุฟ้า บัณฑุกุล
  254. สรศักดิ์ เสนาะพรไพร
  255. สุขศรี ชิตติพัทธ์
  256. สุพอ เจาะโด
  257. มุเสาะ เสนาะพรไพร
  258. สะบุเว พาลึ
  259. บุญเยี่ยม เหลาสะอาด
  260. ศุภิสรา ลังบุปผา
  261. ประธิกร เด่นเกศินีล้ำ
  262. อรุณ อภิรักษ์วรากร กรรมการธรรมาภิบาล จ.ระนอง
  263. บุญ แซ่จุ่ง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.)
  264. ธีรพร อรุณกาญจนโรจน์
  265. บุษบา เดหลุ่ม
  266. สุริยัน จรณาภรณ์
  267. พิชยภรณ์ อภิโชคนิธิฉัตร์
  268. ธารทิพย์ ศิลปะชัย
  269. บุญตา สืบประดิษฐ์
  270. เจนจิรา สะอาดโฉม
  271. จรูญ เจอพมาน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net