ยูเอ็นเปิดรายงานความเหลื่อมล้ำในการพัฒนามนุษย์ไทย ที่มากกว่า 'รายได้ ค่าเฉลี่ย และแค่วันนี้'

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เปิดรายงานการพัฒนามนุษย์ 2019 ชี้ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ แม้จะมีความก้าวหน้าในการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนามนุษย์ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทยลดลงจาก 16.9% เป็น 0.635 ระบุหากไม่เร่งแก้ไข จะยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม 

20 ธ.ค.2562 ที่กรุงเทพฯ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP) รายงานว่าทาง UNDP เปิดตัวรายงานการพัฒนามนุษย์ปี ค.ศ. 2019 (Human Development Report) ในธีม “มากกว่าเรื่องรายได้ มากกว่าเรื่องค่าเฉลี่ย มากกว่าแค่วันนี้: ความเหลื่อมล้ำในการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21” รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าแม้จะมีความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยาก และรักษาโรคต่างๆ ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก

ความเหลื่อมล้ำระลอกใหม่เกิดขึ้นในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การเข้าถึงเทคโนโลยี และผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หากไม่เร่งแก้ไข อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ แม้จะมีความก้าวหน้าในการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนามนุษย์

จากรายงานพบว่า ประเทศไทยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index - HDI) 0.765 ในปีพ.ศ. 2561 ซึ่งทำให้ประเทศถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลกในการจัดอันดับ HDI ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2561 ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 77 ในการจัดอันดับโลก (จาก 189 ประเทศ) สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของประเทศอย่างต่อเนื่องในเรื่องอายุขัยของประชากร การเข้าถึงการศึกษา และรายได้ประชากรต่อหัว

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงความเหลื่อมล้ำ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยลดลงจาก 16.9% เป็น 0.635 หากไม่เร่งแก้ไข จะยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการหยุดชะงักทางเทคโนโลยี ซึ่งกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวคือกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุด

รายงานได้วิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมกันในสามขั้นตอน: มากกว่าเรื่องรายได้ มากกว่าเรื่องค่าเฉลี่ย มากกว่าแค่วันนี้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ และรายงานได้นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาผ่านนโยบาย ดังนี้ 

มากกว่าเรื่องรายได้

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ปี 2019 และดัชนีที่เกี่ยวข้องกับดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่มุ่งเน้นอธิบายเรื่องความเหลื่อมล้ำระบุไว้ว่า ความไม่เท่าเทียมด้านการเข้าถึงการศึกษา บริการด้านสุขภาพ และมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ ร้อยละ 20 ของความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ได้สูญเสียไปทั่วโลก เหตุเพราะความไม่เท่าเทียมปีพ.ศ. 2561 รายงานได้เสนอการแก้ไขปัญหาผ่านนโยบายดังนี้

  • การส่งเสริมการพัฒนาในวัยเด็กและตลอดอายุขัยของประชากร: ความเหลื่อมล้ำเริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนคลอด และสามารถขยายไปถึงวัยผู้ใหญ่ ทั้งนี้เกิดจากความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และการศึกษา นโยบายในการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมจึงต้องเริ่มตั้งแต่หรือก่อนคลอด รวมถึงการส่งเสริมลงทุนในการเรียนรู้ของเด็กเล็ก การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และโภชนาการ 
  • การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน: การลงทุนดังกล่าวจะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิตของประชากร ตั้งแต่ประชากรที่อยู่ในวัยทำงานและหลังจากนั้น ประเทศที่มีแรงงานที่มีประสิทธิภาพมักเป็นประเทศที่มีมีดัชนีความเหลื่อมล้ำต่ำ ทั้งนี้ รายงานได้เสนอนโยบายที่สนับสนุนสหภาพแรงงาน การกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการส่งเสริมให้ผู้หญิงอยู่ในตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากอำนาจการตลาดของนายจ้างส่งผลให้รายได้ของแรงงานลดลง ดังนั้นนโยบายการต่อต้านการผูกขาด และนโยบายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับความไม่สมดุลของอำนาจการตลาด 
  • การใช้จ่ายสาธารณะและการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม: รายงานระบุว่าการเก็บภาษีควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบนโยบายรวมถึงการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขการศึกษาและทางเลือกอื่น ๆ นโยบายภายในประเทศถูกกำหนดโดยการอภิปรายภาษีนิติบุคคลระดับโลกโดยเน้นถึงความสำคัญของหลักการใหม่สำหรับการจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศ ทั้งนี้ควรมีการตรวจสอบและยับยั้งการหลีกเลี่ยงภาษี

มากกว่าเรื่องค่าเฉลี่ย

ค่าเฉลี่ยมักจะซ่อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมและชี้ถึงแนวทางการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาความยากจนในหลายมิติจะต้องคำนึงถึง “คนที่อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” เช่น คนพิการ ทั้งนี้ ควรมีการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

  • ความเท่าเทียมระหว่างเพศ: หากสถานการณ์เรื่องความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศยังไม่ได้รับแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน  จะใช้เวลา 202 ปีในการแก้ไขปัญหานี้ ทั้งนี้ยังพบอคติต่อผู้หญิงในหลายภาคส่วน รายงานระบุไว้ว่าควรเร่งให้มีมาตรการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ภายในปีพ.ศ. 2573 แต่ดัชนีความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศปีพ.ศ. 2562 ของรายงานระบุว่าความคืบหน้าช้าลง

ดัชนีบรรทัดฐานทางสังคมตัวใหม่ในรายงานระบุว่า ยังพบอคติทางเพศในกว่าครึ่งของประเทศที่ถูกประเมินในรายงาน ประมาณร้อยละ 50 ของของผู้คนใน 77 ประเทศกล่าวว่าพวกเขาคิดว่าผู้ชายเป็นผู้นำทางการเมืองที่ดีกว่าผู้หญิงในขณะที่มากกว่าร้อยละ รู้สึกว่าผู้ชายทำให้ผู้บริหารธุรกิจดีขึ้น

ในประเทศไทย ความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศยังเป็นปัญหาเรื้อรัง ค่าเฉลี่ยการพัฒนามนุษย์ของผู้หญิงเท่ากับ 0.763 ส่วนของผู้ชายเท่ากับ 0.766 ทั้งนี้เกิดจากโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและรายได้ที่ต่ำของผู้หญิง นอกจากนี้ อัตราที่นั่งของผู้หญิงในรัฐสภาไทยมีเพียงร้อยละ 5.3 ซึ่งต่ำกว่าเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่มีที่นั่งผู้หญิงในรัฐสภาเฉลี่ยร้อยละ 20.3

ดังนั้นนโยบายมุ่งเน้นแก้ไขอคติพื้นฐานบรรทัดฐานทางสังคม และโครงสร้างอำนาจเป็นกุญแจสำคัญ ตัวอย่างเช่นนโยบายเพื่อสร้างความสมดุลในการกระจายการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเป็นสิ่งสำคัญ รายงานยังระบุอีกว่า เนื่องจากความแตกต่างด้านรายได้ระหว่างชายและหญิงเกิดขึ้นก่อนอายุ 40

มากกว่าแค่วันนี้

เมื่อมองไปไกลกว่าในวันนี้ รายงานอธิบายว่าความเหลื่อมล้ำอาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อความเป็นไปในศตวรรษที่ 22: 

  • วิกฤตสภาพภูมิอากาศ: จากการประท้วงทั่วโลก แสดงให้เห็นว่านโยบายที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ เช่น การวางราคาคาร์บอนอย่างถูกต้อง การเพิ่มการรับรู้เรื่องปัญหา และเข้าถึงคนยากจน เป็นต้น หากรายได้จากการกำหนดราคาคาร์บอนเป็น 'การนำกลับมาใช้ใหม่' เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสังคมที่กว้างขึ้น นโยบายดังกล่าวจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
  • การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี: เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น ด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนและและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีด้านการเงิน และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ จะช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในอดีต การปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่สร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ระหว่างประเทศอุตสาหกรรมและผู้ที่พึ่งพาสินค้าหลัก แต่ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ใช่เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ 'ความแตกต่างแบบสุดขั้ว' ซึ่งขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ รายงานการพัฒนามนุษย์แนะนำนโยบายการคุ้มครองทางสังคมที่จะรับประกันการชดเชยอย่างยุติธรรมสำหรับ 'บุคลากร' การลงทุนในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อช่วยให้พนักงานปรับตัว หรือเปลี่ยนอาชีพใหม่ และข้อตกลงสากลเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บภาษีดิจิทัล เพื่อให้สร้างเศรษฐกิจยุคดิจิตัลแบบใหม่ที่มั่นคงและปลอดภัย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ไม่ใช่ ความแตกต่างในการพัฒนามนุษย์

 รายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าทำไมความเหลื่อมล้ำจึงเป็นตัวทำลายสังคมของเราอย่างรุนแรง” Achim Steiner ผู้บริหารสูงสุดของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติกล่าว “ความเหลื่อมล้ำไม่ใช่แค่เรื่องการเปรียบเทียบรายได้ของคนคนหนึ่งกับเพื่อบ้านของเขา แต่ยังเป็นเรื่องของการกระจายความมั่งคั่งและอำนาจที่ไม่เท่ากัน: บรรทัดฐานทางสังคม และระบบอำนาจทางการเมืองทำให้ผู้คนต้องประท้วงบนถนนแบบที่เห็นกันทุกวันนี้ และจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียกร้องมากยิ่งขึ้นหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจ ขั้นตอนต่อไปคือการตัดสินใจของผู้นำ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท