Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ที่ผ่านมา เราทราบดีว่ามีข่าวปลอมแพร่หลายทำลายชื่อเสียงของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น ข่าวการเก็บภาษีสรรพสามิตผ้าอนามัย ทั้งที่สิ่งดังกล่าวจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสตรี ด้วยเหตุนี้ผ้าอนามัยจึงเป็นสินค้าควบคุม หาใช่สินค้าฟุ่มเฟยตามภาษีสรรพสามิตไม่ การเก็บภาษีสรรพาสามิตผ้าอนามัยจึงถือเป็นข่าวเท็จแทบทั้งสิ้น จากเหตุการณ์นี้จึงนำไปสู่ข้อถกเถียงว่า ผ้าอนามัยยังควรต้องเสียภาษีการบริโภคอื่นหรือไม่ (มูลค่าเพิ่ม) ดุจ ‘หนังสือ/ตำราง’ ที่ทางรัฐจะส่งเสริมวิถีการรักการอ่าน จึงสมควรยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ร้านขายตำรา/หนังสือ ตาม  หนังสือ หรือ ข้อหารือที่ 0702/พ./1234 ส่วนผ้าอนามัยส่วนตัวผมมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิง ย่อมดีกว่าการใช้สิ่งอื่น ๆ เช่น ผ้าหรือกาบมะพร้าว และเพื่อสุขอนามัยของสุภาพสตรี ด้วยเหตุไฉน รัฐจึงต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่?

เมื่อกลับมาพิจารณาถึงการทำงานของ Anti-Fake News Center หากมองในมุมของภาครัฐบาล จึงเป็นเหตุที่สมควรตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้นเพื่อผดุงไว้ซึ่งข้อความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวรัฐและประชน (ได้รับข้อมูลที่เป็นจริง) แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง ส่วนตัวมองว่าอะไร คือ ความจำเป็นในการตั้งศูนย์นี้ขึ้นมาเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจะเป็นผู้พิจารณาว่าข่าวใดจริงหรือไม่จริง มีอยู่แล้ว

ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เรามีกรมการค้าภายใน เพื่อควบคุมและคุ้มครองการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการภายในประเทศให้เป็นธรรม เราจึงไม่ควรตั้งหน่วยงานเพิ่ม อาทิ กรมการภายในเพื่อคุ้มครองสินค้าเป็นรายชนิด (เช่น ทุเรียน,มังคุด, ลิ้นจี่,ลำไย, มะม่วง ฯลฯ) เนื่องด้วย หน้าที่ของกรมการค้าภายในก็ครอบคลุมอำนาจ (สินค้าและบริการ)หมดสิ้นแล้ว หากตั้งหน่วยงานย่อยขึ้นมาจริง ผมเกรงว่ารัฐบาลจะใช้จ่ายงบประมาณโดยไม่จำเป็น และอีกประการ คือ อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเก่าและใหม่จะมีความทับซ้อนกัน เท่ากับว่าต้นทุนการบริหารไม่ก่อให้เกิดมรรคผลใดๆ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรา มาตรา 167 วรรค 1 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ว่า “ในการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องมีเอกสารประกอบซึ่งรวมถึงประมาณการรายรับ และวัตถุประสงค์ กิจกรรม แผนงาน โครงการในแต่ละรายการของการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน รวมทั้งต้องแสดงฐานะการเงินการคลังของประเทศเกี่ยวกับภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้จ่ายและการจัดหารายได้ ประโยชน์และการขาดรายได้จากการยกเว้นภาษีเฉพาะรายในรูปแบบต่าง ๆ ความจำเป็นในการตั้งงบประมาณผูกพันข้ามปี ภาระหนี้และการก่อหนี้ของรัฐและฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจ ในปีที่ขออนุมัติงบประมาณนั้นและปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาด้วย” 

กรณี ข่าวผ้าอนามัย ผมมองว่า กรมสรรพสามิตน่าจะถือเป็นเจ้าภาพใหญ่ได้ ซึ่งแทบไม่ต้องขอความร่วมมือจาก Anti-fake news Center เลยด้วยซ้ำ เพราะทางกรมสรรพสามิตมีเครื่องมือชั้นดีที่เรียกว่า “กฎหมาย” อยู่ในมือแล้ว เพียงแค่หารือนิติกรในหน่วยงานของตน ท่านน่าจะได้คำตอบและสามารถชี้แจงกับประชาชนได้ไม่ยาก โดยไม่ต้องขอความร่วมมือ หรือโยนงานกันไปมา นอกจากกรมสรรพสามิต รัฐยังมีอีกองค์กรหนึ่งที่พร้อมจะช่วยเหลือในกรณีดังกล่าว นั่นคือ กรมสรรพากร และหรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ที่น่าจะเป็นหน่วยงานกรองอีกชั้นหนึ่ง ก่อนท่านจะออกมาแถลงข่าวว่า ‘ท่านได้ปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพียงพอแล้วง’

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผมจึงขอตั้งคำถามถึงรัฐบาลว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวเท็จ ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใดจริง ๆ มันจะถือเป็นการใช้งบประมาณโดยสิ้นเปลืองเกินไปหรือไม่? ฝากไว้พิจารณาด้วยนะครับ
ท้ายนี้ ผมขอเรียนย้ำว่า ความเห็นในบทความฉบับนี้หาได้ผูกพันธ์องค์กรที่ผู้เขียนสังกัดไม่ ผู้เขียนขอน้อมรับข้อผิดพลาดไว้แต่ผู้เดียว

... ขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่ให้การติดตามผลงานของผู้เขียน แม้ผู้เขียนจะอยู่ในภาวะผู้ (เกือบ) พิการ แต่สมองของผู้เขียนยังน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางสังคม ได้ไม่มากก็น้อยครับ ...    
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net