รัฐธรรมนูญ และ การลงประชามติ บทเรียนจากประเทศต่างๆ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

การลงประชามติในในสถานการณ์ไม่ปรกติเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองและมีการควบคุมความสงบเรียบร้อยโดย คสช.ส่งผลเสียต่อการยอมรับและการใช้งานจริงของรัฐธรรมนูญ

ตัวอย่างรัฐธรรมนูญที่ “ไม่เวิร์ค”

รัฐธรรมนูญที่ไม่เปิดกว้างและจำกัดสิทธิของกลุ่มชนอันหลากหลายของชาติ เช่นรัฐธรรมนูญเนปาล (๒๐๑๕) ที่ไม่ยอมรับข้อเรียกร้องด้านสิทธิอันเท่าเทียมของชาวมาเดชีในเขตเทไรในภาคใต้ ซึ่งนับเป็นประชากรกว่า ร้อยละ ๕๐ ของประเทศ  

รัฐสภาเนปาลใช้เวลาหลายปีในการร่างรัฐธรรมนูญแต่ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องต่ออายุรัฐสภาไปเรื่อยๆ สังคมเริ่มเบื่อหน่ายและหมดความอดทน จนกระทั่งเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่พรรคการเืืมืองใหญ่จึงถือโอกาสจับมือกันผ่านร่างรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผลเพื่อรับมือเหตุการณ์ ประชาชนหลายกลุ่มรู้สึกโล่งอกที่จะได้มีรัฐธรรมนูญเสียที แต่ในความเป็นจริงข้อเรียกร้องพรรคของชนกลุ่มน้อยไม่ได้รับการรับบรรจุเข้าไปในรัฐธรรมนูญ จึงเกิดการประท้วงและมีปัญหาตามมาอีกมากเช่นการปิดชายแดนทางใ้ต้และไม่สามารถนำเข้าสินค้าจากอินเดีย

รัฐธรรมนูญของมาเลเซียที่ให้สิทธิชาวมาเลย์(ภูมิบุตรา)มากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น 

ในอดีต ประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและเอเชียมีการจัดให้มีการลงประชามติอยู่หลายครั้ง แต่เป็นเพียงการจัดฉาก และยิ่งทำให้คนในสังคมเห็นถึงความไม่โปร่งใสของระบบ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศ เลนินและสตาลินเคยกล่าวว่าการลงประชามติเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างเจตจำนงแห่งชาติ แต่สหภาพโซเวียตในยุคของทั้งสองไม่เคยมีการลงประชามติเลย  

ในอดีต บางประเทศ มีการจัดทำประชามติในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่ปกครองด้วยผู้นำที่เข้ามาด้วยวิธีการที่ไม่เป็นธรรม เช่นฮิตเลอร์ของเยอรมัน นายพลฟรังโกแห่งสเปน หรือ รัฐบาลทหารของกรีกในปี ๑๙๖๐ แต่กระบวนการลงประชามตินั้นไม่ตรงไปตรงมา เช่นมีการถามคำถามที่ไม่ชัดเจนและไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนสอบถามหรือหาความชัดเจน มีเพียงผู้นำเท่านั้นที่มีอำนาจในการชี้ขาดความหมายในข้อกังขาต่างๆ

รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรมคือความรุนแรงเชิงโครงสร้างซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความขัดแย้ง (negative peace ) แม้ว่ามีอาจจจะมีการยอมรับในเบื้องต้น แต่ต่อมาปัญหาที่ถูกกดไว้ก็จะปะทุขึ้นมาอีกและแก้ได้ยากขึ้น  

รัฐธรรมนูญ และ การลงประชามติที่ เวิร์ค

การลงประชามติ โปร่งใส เปิดกว้าง และเป็นธรรม ยกตัวอย่าง ออสเตรเลียมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและลงประชามติหลายครั้ง มีทั้งที่สำเร็จผ่านไปได้ด้วยดี และบางครั้งไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน การทำประชามติในปี ๑๙๗๗ ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จและมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากเพราะกระบวนการร่างและลงประชามติมี

• การมีส่วนร่วมและรู้สึกว่าเป็นเ้จ้าของจากประชาชน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยและชาวพื้นเมือง

• การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน 

• มีข้อเสนอที่เป็นธรรม และมีกระบวนการลงประชามติที่เป็นสมัยใหม่ โปร่งใส เป็นธรรม และ เอื้อประโยชน์ต่อทุกกลุ่ม 

เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมหรืออย่างน้อยมีการนำเอาความเห็นและข้อเรียกร้องจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนในการวางข้อกำหนดต่างๆ 

 สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ตามกาลสมัยที่เปลี่ยนผ่าน ตัวอย่างเช่นการแก้รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการปรับเพิ่มบทต่างๆ(amendments) หลายครั้ง แต่ตัวรัฐธรรมนูญยังเป็นฉบับเดิม บางประเทศเขียนไว้ให้รัฐธรรมนูญปรับแก้ได้บางส่วน มีเฉพาะบางมาตราที่ปรับแก้ไม่ได้เลย หรือ ปรับแก้ได้แต่ต้องทำเป็นประชามติเท่านั้น เช่น รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส เยอรมัน หรือ สิงคโปร์

รัฐธรรมนูญอาจจะไม่สมบูรณ์แบบในตัวเองในครั้งแรก แต่ด้วยการเปิดกว้าง และยอมให้มีการถกเถึยง ศึกษา วิพากษ์วิจารณ์ ตัวเอกสารก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง รัฐธรรมนูญที่เกิดจากกระบวนการและหลักการเช่นนี้ จะสามารถรับใช้สังคมด้วยการสร้างความเป็นธรรมและเจริญก้าวหน้าโดยยังผลซึ่งการลดความขัดแย้ง และสร้างวัฒนธรรมแห่งการยอมรับและอยู่ร่วมกันของคนหลายกลุ่มในสังคม

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท