Skip to main content
sharethis

กรุงเทพโพลชี้ ประชาชนส่วนใหญ่ 72.5% กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อสถานการณ์ภัยแล้ง 57.0% เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุดว่าการเปิดกองอำนวยการน้ำแห่งชาติจะช่วยแก้ภัยแล้งได้

18 ม.ค. 2563 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนกับวิกฤตภัยแล้ง 2020”  โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,182  คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 50.5 กังวลเรื่องการทำเกษตร/รายได้เกษตรกร/พืชผลเกษตรเสียหายมากที่สุด หากเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง รองลงมาคือ ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้คิดเป็นร้อยละ 49.1และข้าวของราคาแพงขึ้น /ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 48.6

เมื่อถามว่าวิตกกังวลมากน้อยเพียงใดกับสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 27.5 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สำหรับการเตรียมรับมือกับภัยแล้งพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 มีการเตรียมรับมือ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 67.8 ใช้น้ำอย่างประหยัดขึ้น รองลงมาร้อยละ 19.5 กักตุนน้ำดื่ม และร้อยละ 18.0 ซื้อถังเก็บน้ำ ขณะที่ร้อยละ 18.5 ไม่มีการเตรียมรับมือ เพราะน่าจะมีน้ำใช้เพียงพอ

เมื่อถามความเห็นต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและอาชีพของท่านมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 46.7 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการเปิดกองอำนวยการน้ำแห่งชาติของหน่วยงานรัฐ จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งและทำให้คนไทยมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.0 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 43.0 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net