Skip to main content
sharethis

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลส่งหนังสือเกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่อมาตรการทางกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน ถึงกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่ “ศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนากฎหมาย ระเบียบ หรือมาตรการเพื่อป้องกันคดี SLAPP” ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน 

20 มี.ค.2563 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) ได้ทำการนำส่งหนังสือเกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่อมาตรการทางกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน หรือ SLAPP  ถึงกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่ “ศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนากฎหมาย ระเบียบ หรือมาตรการเพื่อป้องกันคดี SLAPP” ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP)

ทั้งนี้ มาตรา 161/1 และ 165/2 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2562 และ 21 มี.ค.2562 ตามลำดับ ได้ถูกระบุใน NAP ว่าถูกร่างขึ้นเพื่อลดคดี SLAPP หรือการคุกคามผ่านกระบวนการยุติธรรมในรูปแบบต่างๆต่อบุคคลทั่วไป รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  NAP ยังระบุถึงอำนาจของพนักงานอัยการภายใต้มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติองค์การอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ว่าเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ใช้เพื่อป้องกันคดี SLAPP

สำหรับการใช้ SLAPP หรือกลไกอื่นใดที่คล้ายคลึงกันมักส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน โดยรวมถึงเสรีภาพในการแสดงความเห็น การชุมนุม การสมาคม และสิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง ซึ่งได้รับการประกันไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

ในจดหมายฉบับนี้ ICJ ได้แสดงความกังวลว่ามาตรการกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันจะยังคงไม่เพียงพอต่อการป้องกันการคุกคามผ่านกระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมทำการร่างกฎหมายฉบับใหม่หรือดำเนินการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญาเพื่อให้ศาลสามารถยกฟ้องคดีที่มีลักษณะเป็นการ SLAPP ได้โดยเร็ว

ทั้งนี้ มาตรา 165/2 ป.วิฯอาญา มีเนื้อหาดังนี้ “ในการไต่สวนมูลฟ้องจำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือ ข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่ง ว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของ จำเลยด้วยก็ได้กรณีเช่นว่านี้ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อ ประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่จำเป็นและสมควร โดยโจทก์และจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับ อนุญาตจากศาล”

และ มาตรา161/1 ป.วิฯอาญา มีเนื้อหาดังต่อไปนี้ “ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์หากความปรากฎต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาว่าโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่ง กว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก

การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงกรที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งหรือคำพิพากษาของ ศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย”

โดยข้อเสนอของ ICJ ต่อการป้องกันคุกคามผ่านกระบวนการยุติธรรมและคดีSLAPP ครอบคลุมยิ่งขึ้น ประกอบด้วย

1. สนับสนุนให้ศาลยุติธรรมประเมินความจำเป็นและใช้อำนาจตามมาตรา 162(2) แห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มากยิ่งขึ้น เพื่อดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ในกรณีที่ศาลเห็น ควร โดยระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง มาตรา 165/2 ควรถูกใช้บังคับเพื่อป้องกันคดีที่เป็นการคุกคามผ่าน กระบวนการยุติธรรมอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และพันธกรณีตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

2. กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในลักษณะเดียวกันนี้ควรใช้กับคดีแพ่งเพื่อเปิดช่องให้ศาลยกฟ้องคดีSLAPP เพื่อเป็น การลดผลกระทบต่อจำเลย สิทธิของคู่กรณีในลักษณะเดียวกันกับที่ระบุในมาตรา 165/2 ควรถูกรับรองเพื่อให้ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถเสนอหลักฐานต่อศาลเพื่อสนับสนุนข้อโต้แย้งของตนได้

3. ไม่ว่าในกรณีใด ศาลควรใช้ความพยายามอย่างสูงที่สุดในการที่จะไต่สวนมูลฟ้องและดำเนินการพิจารณาคดีโดย ไม่ล่าช้าเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีภายใต้ข้อ 14(3)(c) แห่ง ICCPR และเพื่อลดผลกระทบและภาระในการต่อสู้ คดีของเหยื่อของคดี SLAPP

4. มาตรา 161/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในปัจจุบันควรถูกใช้อย่างจำกัด โดยเป็นไปตามหลัก ความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วนอย่าเคร่งครัด โดยมีหลักประกันกระบวนการพิจารณาที่เป็นธรรมต่อคู่กรณี ทั้งสองฝ่าย มาตราดังกล่าวควรถูกใช้เพื่อยกฟ้องคดีที่มีลักษณะเป็นคดีไม่สำคัญหรือมีลักษณะเป็นการก่อกวน เท่านั้นซึ่งรวมถึงคดีที่มีการฟ้องในศาลที่ห่างไกลที่ก่อความลำบากให้แก่จำเลยในการต่อสู้คดี

5. เราเสนอให้มีการยกเลิกวรรคสองของมาตรา 161/1 เพื่อประกันสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและได้รับ จากพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

6. เพื่อประกันสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและได้รับจากพิจารณา คดีอย่างเป็นธรรม ICJ ขอเสนอให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการร่างกฎหมายหรือแก้ไขประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งและอาญาเพื่อ

6.1 เปิดช่องให้มีการยกฟ้องคดีSLAPP ในโอกาสแรกที่กระทำได้โดยเคารพสิทธิกระบวนการพิจารณา คดีที่เป็นธรรมต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่าย

6.2 เปิดช่องให้มีการไต่สวนมูลฟ้องโดยไม่ล่าช้าทั้งในคดีแพ่งและอาญา รวมถึงคดีอาญาที่มีพนักงาน อัยการเป็นโจทก์

6.3 ให้ใช้บังคับแก่กรณีต่างๆ รวมถึงคดีSLAPP เพื่อปกป้องบุคคลซึ่งใช้สิทธิหรือเสรีภาพขั้นพื้นฐานใน ลักษณะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพันธกรณีภายใต้ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

6.4 ประกันสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งของศาลอย่างชัดแจ้ง

6.5 จัดให้มีการเยียวยาให้แก่บุคคลที่ได้รับผลจากการดำเนินคดีSLAPP

ฯลฯ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net